'หมอธีระวัฒน์' แจงวิธีป้องกันและรักษา 'ลองโควิด'

1 ส.ค. 2565 – ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า “ลองโควิด” ..การป้องกันและรักษา

ลองโควิดเป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นหลังจากที่การติดเชื้อได้จบสิ้น (เชื้อไม่พบแล้ว)

1.อาการของลองโควิด ไม่ขึ้นอยู่กับความหนักเบาของอาการที่เป็นตอนแรก

2.เกิดได้ทุกอายุ ได้ทุกเพศ แต่แนวโน้มในต่างประเทศ อาจเจอในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อายุ 18 ถึง 30 ปี และทุกอายุที่สูบบุหรี่อ้วน และแน่นอนมีโรคประจำตัวต่างๆ

3.เกิดอาการได้ตั้งแต่หัวจดเท้า หลายระบบหรืออวัยวะพร้อมกัน และทางความรู้สึกทางเพศ ลด หรือหายไป ทั้งชาย หญิง และประจำเดือนผิดปกติ ร่วมเพศมีอาการเจ็บปวด

4.เป็นอาการเดิมขณะติดเชื้อที่สามารถทอดยาวนานกว่าสามเดือน หรือ อาการที่เกิดขึ้นเป็นอาการใหม่

5.กลุ่มอาการเป็นลักษณะที่เรารู้จักกันดีมานานแล้ว เกือบ 80 – 90 ปี ในรูปของ chronic fatique syndrome หรือ Myalgia encephalomyelitis ในไวรัสต่างๆ แต่โควิดเกิดได้รุนแรง และยาวนานกว่าไวรัสตัวอื่นๆ มาก

6.กลุ่มอาการทางสมองและจิตอารมณ์พบได้ 30% หรือมากกว่า และส่งผลทำให้เฉื่อยชา คิดช้า ความจำสั้น สมองเสื่อมและอารมณ์แปรปรวน โดยเฉพาะคนที่เป็นอยู่แล้วหรือกำลังจะเป็น โรคสมองเสื่อม เช่น อัลไซเมอร์ หรือพาร์กินสัน

7.หลักในการบำบัด ต้องทำการยับยั้งการอักเสบ โดยคำนึงถึงผลข้างเคียงของยาที่ใช้รักษาด้วย และยังต้องประกอบด้วยการหลีกเลี่ยงที่จะทำให้มีการกระตุ้นการอักเสบในร่างกายเพิ่มขึ้น ได้แก่ หลีกเลี่ยงอาหารร้อนแรงที่ทำให้เกิดการอักเสบ เช่น เนื้อแดง ระวังพืชผักผลไม้ที่ปนเปื้อนด้วยสารเคมีฆ่าหญ้าฆ่าแมลง รวมกระทั่งถึงมลพิษพีเอ็ม 2.5 เป็นต้น

8.จากปรากฏการณ์นี้อาจเป็นเครื่องเตือนใจว่าไม่ควรปล่อยตัวให้ติด เพราะอาจเคราะห์ร้ายระยะยาว และยิ่งติดซ้ำ ลองโควิดจะยิ่งรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

9.วิธีที่ “อาจ” ป้องกันการเกิดลองโควิด ได้คือการให้การรักษาเร็วที่สุดเมื่อรู้ว่าติด เพื่อให้ระยะของการติดเชื้อสั้นที่สุด

10.ตากแดด เดินหมื่น อบร้อน เข้าใกล้มังสวิรัติ ลดแป้ง

เพียงขยันเท่านั้น ไม่เสียสตางค์ ลดการอักเสบ อัตโนมัติ กินผักผลไม้กากไยให้มาก เท่านี้เอง

ถูกแดดเช้า หรือ บ่าย เย็น และอากาศร้อน อาบน้ำร้อน มีหลักฐานแล้ว ลด mitochondrial stress ลดอนุมูลอิสระ จนเพิ่ม innate immunity เดินวันละ 10,000 ก้าว

ถึงเวลาสร้างความแข็งแกร่ง ทุกระบบของภูมิคุ้มกัน ต่อสู้การติดเชื้อ เพราะวัคซีนตามไวรัสไม่ทัน และแม้พลาดท่า ติดแล้ว มีลองโควิด ก็เอาอยู่

งานวิจัยและพัฒนาเชิงรุกผลกระทบลองโควิด ของศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.).

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอยง' ชี้ 'โควิด' ระบาดหนัก แต่รุนแรงลดลง เข้าใกล้ไข้หวัดใหญ่

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19

เปิดผลวิจัยอเมริกา 'ออกกำลังกาย' เวลาไหนดีกว่ากัน

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ประเด็นร้อน.. ออกกำลังเช้า หรือบ่าย-เย็น ดีกว่ากัน

‘เศรษฐา’ ลาป่วยติดโควิด กลับมาปฎิบัติงานวันที่ 19 มิ.ย.นี้

นายกรัฐมนตรี ได้พบแพทย์ หลังจากมีอาการป่วย อ่อนเพลียเล็กน้อย ตั้งแต่วันศุกร์ ที่ 14 มิถุนายน ที่ผ่านมา ผลการตรวจพบว่าติดโควิด

ทุบสถิติปีนี้! ไทยติดโควิดใหม่รายสัปดาห์ทะลุ 2.7 พันคน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 2 - 8 มิถุนายน 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล