31 ก.ค. 2565 – สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,159 คน ระหว่างวันที่ 21-28 กรกฎาคม 2565 พบว่า โควิด-19 ทำให้คนไทยหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพของตนเองมากขึ้น ร้อยละ 72.74 ส่วนใหญ่ดูแลสุขภาพตนเองด้วยการดื่มน้ำมาก ๆ ร้อยละ 72.32 กินอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ ร้อยละ 69.81 ทั้งนี้คิดว่าการมีสุขภาพดีควรเริ่มต้นด้วยการนอนหลับให้เพียงพอ ร้อยละ 75.91 ในขณะที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์กลุ่มตัวอย่างคิดว่าการดูแลสุขภาพเพื่อการชะลอวัย (Anti-Aging) มีความจำเป็น ร้อยละ 96.38 ส่วนในเรื่องค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพของตนเองมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยเดือนละ 2,129.07 บาท สิ่งที่อยากรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพอันดับ 1 คือ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ ร้อยละ 52.99 รองลงมาคือ การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ร้อยละ 51.43
มูลค่าของเศรษฐกิจสุขภาพ (Wellness Economy) เติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงโควิด-19 คนไทยเองมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเฉลี่ยเดือนละสองพันกว่าบาท ซึ่งเป็นส่วนที่จำเป็นต้องจ่ายและยังเห็นว่าเรื่องการดูแลสุขภาพเพื่อเข้าสู่สังคมสูงวัยเป็นสิ่งจำเป็น ภาครัฐจึงควรเร่งผลักดันนโยบายที่ส่งเสริมทั้งภาคเศรษฐกิจสุขภาพและการดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชนไปพร้อม ๆ กัน
รศ.ดร.ชนะศึก นิชานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต การสนทนากลุ่ม เรื่อง Care Economy : สุขภาพดีเพื่อชีวิตที่ยืนยาว เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2565 ผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่ม ประกอบด้วย นักวิชาการทางการแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ ดารานักแสดงและผู้ที่ให้ความใส่ใจด้านสุขภาพ จำนวน 7 ท่าน พบว่า ประเด็นแรกสุขภาพที่ดี ประกอบไปด้วย 4 มิติ ได้แก่ การพักผ่อนให้เพียงพอ การรับประทานอาหารที่ดี มีประโยชน์ การดูแลสภาพจิตใจของตนเองให้ผ่อนคลาย ไม่เครียด และการดูแลร่างกายให้ดีด้วยการออกกำลังกาย ประเด็นที่สองการชะลอวัยหรือการชะลอความเสื่อมของร่างกายควรเริ่มต้นให้เร็วและทำอย่างต่อเนื่องด้วยการปรับพฤติกรรมของตนเอง นอกจากนี้ด้วยองค์ความรู้ทางการแพทย์ในปัจจุบันของศาสตร์ชะลอวัยทำให้มีการพูดถึงการย้อนวัย (Rejuvenate) ด้วยการทำให้เซลล์ต่างๆในร่างกายแข็งแรง ซ่อมแซมและสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาทดแทนซึ่งทำให้มากกว่าคำว่าชะลอวัย และประเด็นสุดท้ายเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันได้มีการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์ที่ดูแลเฉพาะบุคคล (Precision Medicine) สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาต่างๆลงลึกในระดับพันธุกรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาที่ตรงจุดและตอบโจทย์ได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เอกชนแนะ สร้าง Ecosystem ด้านสุขภาพ เพื่อเป็นศูนย์กลาง Medical Hub ของอาเซียน
ประเทศไทยมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) ผ่านการพัฒนา Ecosystem ด้านสุขภาพที่ครบวงจร ซึ่งไม่เพียงส่งเสริมเศรษฐกิจ แต่ยังยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ
คนไทยผวา 'ทรัมป์' คัมแบ็ก สินค้าจีนสุมประเทศ
สวนดุสิตโพล เปิดผลสำรวจ ชี้คนไทยรู้สึกเฉยๆ ทรัมป์ กลับคืนตำแหน่ง ปธน.สหรัฐฯ แต่ห่วงเรื่องผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจผวาสินค้าจีนทะลักเข้าประเทศ