สายพันธุ์ใหม่ใช้เวลาสั้นลง! แค่ 4 เดือน ระบาดแทนโควิดเดิม

25 ก.ค. 2565 – นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ หัวหน้าห้องไอซียูเฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ ผู้ป่วยหนัก และโรคผู้สูงอายุ ประจำโรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โรคไวรัสโควิด-19 จะอยู่กับเราตลอดไป แต่ที่น่ากังวลคือ เชื้อไวรัสนี้มีการกลายพันธุ์ เกิดสายพันธุ์ใหม่ตลอดเวลา สายพันธุ์ใหม่แพร่ได้เร็วกว่าสายพันธุ์เดิม และหลบหลีกภูมิคุ้มกันไม่ว่าจากการฉีดวัคซีนหรือการติดเชื้อธรรมชาติได้ดีกว่าสายพันธุ์เดิม ปัจจุบันสายพันธุ์ใหม่ใช้เวลาสั้นกว่าเดิม เพียง 3-4 เดือน ก็เข้ามาแทนที่สายพันธุ์เดิม และทำให้เกิดการระบาดใหญ่ระลอกใหม่ทั่วโลก

ดูย้อนหลังไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลตาพบครั้งแรกในประเทศอินเดียปลายปี พ.ศ. 2563 ต่อมาแพร่กระจายเร็ว ทำให้เกิดการระบาดใหญ่ทั่วโลก

ใช้เวลาเกือบ 1 ปี ที่ไวรัสสายพันธุ์โอมิครอน BA.1 พบครั้งแรกในประเทศแอฟริกาใต้ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 แพร่ได้เร็วกว่าเดิม เข้ามาแทนที่สายพันธุ์เดลตา ทำให้เกิดการระบาดใหญ่ในทุกประเทศ

หลังจากนั้นใช้เวลาเพียง 4 เดือน ในเดือนกุมภาพันธ์พ.ศ. 2565 พบโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.5 ในประเทศแอฟริกาใต้ แพร่เร็วกว่าสายพันธุ์ย่อย BA.1, BA.2, BA.4 ขณะนี้กำลังแทนที่ทุกสายพันธุ์ และทำให้เกิดการระบาดใหญ่ในทุกประเทศอีกครั้ง

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 พบโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2.75 ครั้งแรกในประเทศอินเดีย ขณะนี้กำลังแพร่ระบาดในประเทศอินเดีย และกระจายไป 15 ประเทศ เรายังไม่ทราบว่าเชื้อสายพันธุ์ย่อย BA.2.75 จะแพร่เร็วกว่าสายพันธุ์ย่อย BA.5 หรือไม่ ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด

ที่น่าเป็นห่วงคือ เชื้อไวรัสโควิดกลายพันธุ์ที่มีถิ่นกำเนิดใน 2 ประเทศคือ แอฟริกาใต้และอินเดีย มีโอกาสที่จะแพร่กระจายไปทั่วโลกซ้ำแล้วซ้ำอีก.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอยง' ชี้สถานการณ์โควิดเปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่ไวรัสยังอยู่ต่อไป

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า 5 ปี โควิด 19 กาลเวลาเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน