'หมอธีระวัฒน์' แจงอาการเหนื่อยล้าเพลียง่าย หลังติดโควิด

22 ก.ค. 2565 – ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ความเหนื่อยล้าเพลียง่าย “หลัง” จากเป็นโควิด

1.ขณะที่เป็นโควิด อาการไม่จำเป็นต้องรุนแรงเสมอไป

2.อาการเกิดขึ้นได้แม้ว่าเอกซเรย์ปอดและการทำงานของปอด รวมทั้งหัวใจยังปกติ

3.เกิดจากได้จากกลไกเดียวหรือหลายอย่างร่วมกัน เช่น

-การนอนผิดปกติ นอนไม่หลับ หรือ หลับๆ ตื่นๆ หรือดูเหมือนหลับนาน 8 – 9 ชั่วโมง แท้จริงหลับได้ไม่ลึก (deep sleep) ซึ่งปกติมนุษย์ควรจะนอนหลับลึกได้คืนละ 75 นาที ไม่เช่นนั้นกลางวันจะเพลีย ล้าตลอด

-เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อลดลง จากรายงานการศึกษาพบว่าจะมีเลือดข้นกว่าธรรมดา และสันนิษฐานว่าเส้นเลือดฝอยเล็กๆ ที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้ออาจจะนำเลือดไปได้ไม่เพียงพอ รวมทั้งทำให้เห็นว่ามีกล้ามเนื้อลีบลงทั่วไป

-ในร่างกายยังมีการอักเสบอยู่ และการอักเสบดังกล่าวยังไปกระทบสมอง จุดชนวนให้มีการอักเสบครั้งที่สองและทำให้อายุของเซลล์สมองสั้นลง และมีการสะสมโปรตีนผิดปกติในสมองมากขึ้น และมีมากได้จนหลงลืม เลื่อนลอย อารมณ์เปลี่ยน

-เป็นความแปรปรวนในกลุ่มเซลล์สมองจำเพาะ จากการอักเสบข้างตัน และยังคงดำเนินต่อเนื่อง และมีผลในการหลั่งฮอร์โมนและการควบคุมระบบประสาทอัตโนมัติแปรปรวนจากกลุ่มเซลล์ในก้านสมอง

สามารถแก้ได้ อย่าท้อถอย ตากแดด เดินหมื่นก้าว อบร้อน เข้าใกล้มังสวิรัติ คุมโรคประจำตัวให้ดี ช่วยได้จริงๆ ไม่เสียสตางค์ นะครับ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไทยติดโควิดใหม่รอบสัปดาห์ 435 ราย ดับเพิ่ม 1 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 11 - 17 สิงหาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 435 ราย

'หมอธีระวัฒน์' แนะ 'เวียนหัว บ้านหมุน' ทำท่าอินเดีย อาจช่วยได้

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศาสตราจารย์เชี่ยวชาญทางอายุรกรรมและสมอง และที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์ตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เวียนหัว บ้านหมุน ทำท่าอินเดีย อาจช่วยได้

ไทยติดโควิดใหม่รอบสัปดาห์ 519 ราย ดับเพิ่ม 4 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 4 - 10 สิงหาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล

ไขข้อข้องใจ! ความดันสูงกับ 'ความดันกลางคืน' สำคัญอย่างไร

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศาสตราจารย์เชี่ยวชาญทางอายุรกรรมและสมอง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ความดันสูงและความดันตอนกลางคืนสำคัญอย่างไร