ไม่รอด! ไทยพบผู้ติดเชื้อโอไมครอนภารตะแล้ว

เอาแล้ว! พี่ไทยเจอโอไมครอนอินเดีย สายพันธุ์ย่อย BA.2.75 แล้วหนึ่งรายที่จังหวัดตรัง ผงะ! กลายพันธุ์ไปถึง 100 ตำแหน่ง

20 ก.ค.2565 - เพจ Center for Medical Genomics หรือศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์รูปพร้อมเนื้อหาว่า พบโอไมครอน สายพันธุ์ย่อย BA.2.75 แล้ว 1 รายในประเทศไทยที่จังหวัดตรัง ปรับปรุง 20/7/2565 เวลา 7:07

-เก็บตัวอย่างโดยศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12/1 ตรัง เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2565

-กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมและ upload ขึ้นบนฐานข้อมูลโควิดโลก “GISAID” เป็นที่เรียบร้อยเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2565 (ภาพ1)

-มีการกลายพันธุ์ต่างไปจากไวรัสดั้งเดิม “อู่ฮั่น” ประมาณ 90 ตำแหน่ง (ภาพ2)

-พบ BA.2.75 อุบัติขึ้นครั้งแรกในอินเดีย ขณะนี้มีการแพร่ระบาดไปทั่วโลก นักวิทยาศาสตร์สามารถเก็บตัวอย่างถอดรหัสพันธุกรรมได้ 338 ราย

-ถามว่า BA.2.75 หลบภูมิเก่ง ดื้อวัคซีน ดื้อยา หรือไม่?

BA.2.75 กลายพันธุ์ไปถึง 100 ตำแหน่ง คาดว่าจะหลบภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์ก่อนได้ดี และดื้อต่อวัคซีนที่เตรียมจากไวรัสอู่ฮั่นดั้งเดิม และควรเลือกใช้ยาแอนติบิดีสังเคราะห์ (monoclonal antibody) ให้สอดคล้องกับโอไมครอนสายพันธุ์ย่อยที่ผู้ป่วยติดเชื้ออยู่

ที่น่าสังเกตคือการระบาดของ BA.2.75 ในประเทศอินเดีย, ประเทศต้นกำเนิดเมื่อต้นเดือนมิถุนายน 2565 มีการระบาดไม่ยาวนาน ขณะนี้ใกล้จะสงบลงแล้ว (ภาพ 3) อาจสืบเนื่องมาจากในอินเดียมีการระบาดใหญ่ของ BA.2 มาก่อน ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นอาจทำให้การระบาดของ BA.2.75 ซึ่งกลายพันธุ์มาจาก BA.2 ไม่ขยายวงกว้าง (ภาพ3) ประเทศไทยเองก็มีการระบาดใหฐ่ของ BA.2 มาก่อนเช่นเดียวกัน (ภาพ4)

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดข้อมูล ‘ไวรัสโควิด’ สร้างได้ในห้องทดลอง มีจดสิทธิบัตรตั้งแต่ปี 2018

การสร้างไวรัสใหม่ชนิดนี้จะสามารถครอบคลุมไวรัสที่จะแพร่และเกิดโรคระบาดในมนุษย์ได้ทั้งสิ้น และสามารถที่จะสร้างวัคซีนให้มนุษย์ก่อนได้

ศูนย์จีโนมฯ จับตาโอมิครอน KP.2.3/XEC ลูกผสมพันธุ์ใหม่ แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โอมิครอน KP.2.3/XEC : ลูกผสมสายพันธุ์ใหม่แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า