'หมอธีระวัฒน์'ไขข้อข้องใจโควิด -19 เชื้อโอไมครอนและอาการ Long Covid

สถานการณ์ของโรคโควิด-19ในประเทศไทยยังไม่เป็นที่น่าไว้วางใจเมื่อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนเข้ามาแพร่ระบาดในปัจจุบันทำให้มีการติดเชื้อและมีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมากขึ้นถึงแม้อาการจะไม่หนักถึงขั้นเสียชีวิตก็ตามแต่ก็เป็นเรื่องที่น่าจับตามองและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด ศ.นพ.ธีระวัฒน์เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยได้ให้ความรู้และคำแนะนำเพื่อระมัดระวังการติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน ที่เราทุกคนต้องตระหนักและอยู่กับโรคนี้ให้ได้วัคซีนโควิด-19

ไม่ต้องฉีดเพิ่มก็ได้จริงหรือไม่

ไม่จริง การฉีดวัคซีนยังเป็นเรื่องสำคัญอยู่โดยเฉพาะเชื้อโอโมครอนที่ยังคงส่งผลกระทบต่อผู้ติดเชื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ผู้ที่มีโรคประจำตัวรวมถึงผู้สูงอายุ ซึ่งจะทำให้เชื้อลงปอดและปอดบวมได้ดังนั้นถ้าเราฉีดวัคซีนไปแล้ว ก็จะเพิ่มความมั่นใจได้ในระดับหนึ่งแต่ก็ไม่ใช่100% การฉีด 3 เข็ม และตบท้ายด้วยวัคซีนชนิด mRNA ได้ประโยชน์แน่นอนการฉีดวัคซีนเข็ม 4, 5, 6 ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์อู่ฮั่น สายพันธุ์อังกฤษ เดลต้า สำหรับสายพันธุ์โอไมครอน ภูมิคุ้มกันไม่ได้เยอะขึ้นจริง แต่ยังคงได้ประโยชน์อยู่

อาการ Long Covid มีจริงหรือไม่


มีจริง 100% Long Covid คือ อาการที่เกิดขึ้นภายหลังจากป่วยเป็นโควิด-19 แล้ว เป็นอาการที่ เคยมีแต่ไม่หายไปหรือเกิดอาการใหม่ขึ้นมาซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนในขณะที่ติดเชื้อโควิด-19 มีผลพิสูจน์ค่อนข้างชัดเจนว่าคนที่ติดเชื้อโควิด-19 รุนแรงจะเกิดอาการ Long Covid ได้แน่นอน แต่สิ่งที่กังวลมากคือคนที่มีอาการเล็กน้อย เมื่อติดตามต่อไปพบว่าเป็น Long Covid ได้เช่นกัน

อาการ Long Covid เกิดขึ้นได้ตั้งศีรษะจรดเท้า เริ่มตั้งแต่ผมร่วง ผิวหนังมีผื่นขึ้นเป็นๆ หายๆ ตาพร่ามัว มีอาการนอนไม่หลับ หลับๆ ตื่นๆมีอาการเฉื่อยชาเหมือนคนขี้เกียจ ประจำเดือนมาไม่ปกติ สมรรถภาพทางเพศลดลงในผู้ชาย มีข้อมูลพบว่ามีการกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ ส่งผลต่อสมอง เกิดการหลั่งสารที่ทำให้เกิดสมองเสื่อมสะสมได้ ซึ่งต้องจับตามองว่าสมองเสื่อมในคนที่มีอายุ 30 – 40 ปีจะหายในช่วง 3- 9 เดือน หรือทำให้เกิดสมองเสื่อมได้เร็วกว่าปกติหรือไม่


อาการ Long Covid มีกี่ประเภท มีอยู่ตลอดไปหรือหายไปได้

ช่วง 3 เดือนแรก พบว่าอุบัติการณ์ที่จะเกิดขึ้นค่อนข้างสูงมาก ไม่ต่ำกว่า30 – 50 % แต่หลังจาก 3 เดือนไปแล้วอาการ Long Covid ยังไม่หายและมีอาการมากขึ้นเป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจมากเพราะถ้าปล่อยให้อาการเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในระบบร่างกาย ระบบสมอง อาจแก้ไขเยียวยาไม่ได้ ผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนแล้ว 2- 3เดือน มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ยืนยันว่าสามารถติดเชื้อซ้ำได้อีกถึง 100% ไม่ว่าจะมีการฉีดวัคซีนไปแล้วกี่เข็มก็ตาม

ความแม่นยำในการตรวจหาเชื้อด้วย ATK กับ RT – PCRการตรวจเชื้อโควิด-19 ด้วย ATK มีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้บ้าง เนื่องจากว่าชุดตรวจ ATK ออกแบบมาเพื่อให้ใช้ได้กับทุกคนอย่างสะดวดรวดเร็ว ซึ่งมีประโยชน์มากขณะเดียวกันข้อจำกัดของ ATK สามารถจับตัวไวรัสได้ในปริมาณที่มากจริงๆ ดังนั้น ผู้ที่ตรวจ ATK แล้วขึ้นสองขีด มีผลเป็นบวก จะต้องแยกตัวทันที เพื่อเป็นการรับผิดชอบต่อครอบครัวและสังคม ต้องใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือและสังเกตอาการ ถ้าตรวจ ATK แล้วยังขึ้นขีดเดียว แต่มีอาการว่าน่าจะใช่ และอาการเริ่มหนักหนามากขึ้น เช่น มีอาการไข้ หนาวๆ ร้อนๆ ปวดเมื่อยเนื้อตัว วัดออกซิเจนได้ต่ำกว่า 96 % ให้รีบแยกตัวไว้ก่อนสังเกตอาการเป็นระยะอย่างเหมาะสม และรีบพบแพทย์

“เราต้องอยู่กับโควิด-19 ไปอีกนานพอสมควรวิธีการที่จะอยู่กับมันให้ได้จะต้องมีวินัยของตัวเอง อย่าผลักภาระให้กับสังคมแพทย์ หรือกระทรวงสาธารณสุข เพราะถ้าทุกคนร่วมมือร่วมใจกัน ไม่ปล่อยให้เชื้อแพร่ออกไปก็จะทำให้ประเทศชาติรอดพ้นจากวิกฤตนี้ไปได้”ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวในที่สุด.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดผลสอบ 'ฝีดาษลิง' ธรรมชาติรังสรรค์ หรือมนุษย์ประดิษฐ์!

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "การสอบสวนฝีดาษลิงธรรมชาติสร้างสรรค์หรือมนุษย์ประดิษฐ์"

'หมอธีระวัฒน์' แนะ 'เวียนหัว บ้านหมุน' ทำท่าอินเดีย อาจช่วยได้

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศาสตราจารย์เชี่ยวชาญทางอายุรกรรมและสมอง และที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์ตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เวียนหัว บ้านหมุน ทำท่าอินเดีย อาจช่วยได้

ไขข้อข้องใจ! ความดันสูงกับ 'ความดันกลางคืน' สำคัญอย่างไร

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศาสตราจารย์เชี่ยวชาญทางอายุรกรรมและสมอง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ความดันสูงและความดันตอนกลางคืนสำคัญอย่างไร

เปิดผลวิจัยอเมริกา 'ออกกำลังกาย' เวลาไหนดีกว่ากัน

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ประเด็นร้อน.. ออกกำลังเช้า หรือบ่าย-เย็น ดีกว่ากัน