18 ก.ค. 2565 – รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 482,377 คน ตายเพิ่ม 502 คน รวมแล้วติดไป 567,561,312 คน เสียชีวิตรวม 6,387,421 คน
5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส อิตาลี เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 7 ใน 10 อันดับแรก และ 14 ใน 20 อันดับแรกของโลก
จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 79.04 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 63.34
…สถานการณ์ระบาดของไทย
จากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่า จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 9 ของโลก และอันดับ 3 ของเอเชีย แม้ สธ. ไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค.จนทำให้จำนวนที่รายงานนั้นลดลงไปมากก็ตาม
…อัปเดต Long COVID ในผู้ป่วยมะเร็ง
Dagher H และทีมงานจาก MD Anderson Cancer Center มหาวิทยาลัยเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา เผยแพร่ผลการวิจัยใน medRxiv เมื่อ 15 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา
โดยศึกษาในผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็ง แล้วติดเชื้อไวรัสโรคโควิด-19 จำนวนถึง 312 คน ตั้งแต่ช่วงมีนาคมถึงกันยายน 2563 และติดตามผลไปจนถึงพฤษภาคม 2564
พบว่ามีถึง 188 คน หรือ 60.25% ที่ประสบปัญหา Long COVID ในระยะภายหลังจากการติดเชื้อ
ทั้งนี้หากดูระยะเวลาที่มีอาการผิดปกติของ Long COVID ในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งที่ติดตามในการศึกษานี้ พบว่าครึ่งหนึ่งจะประสบปัญหาอยู่ราว 7 เดือน อีกครึ่งหนึ่งยาวนานกว่านั้น และลากยาวไปถึงระยะเวลา 14 เดือนจนสิ้นสุดการศึกษา
อาการผิดปกติที่พบบ่อยในผู้ป่วยมะเร็ง ได้แก่ อ่อนเพลีย/เหนื่อยล้า 82%, ปัญหาการนอนหลับ 78%, ปวดกล้ามเนื้อ 67%, อาการผิดปกติของทางเดินอาหาร 61%, และอื่นๆ เช่น ปวดหัว และการรับรสหรือดมกลิ่นผิดปกติ ไอ เป็นต้น
ผู้ป่วยเพศหญิงประสบปัญหา Long COVID มากกว่าเพศชายถึง 2 เท่า (67% และ 37% ตามลำดับ)
ผลการวิจัยนี้ ตอกย้ำให้เราเห็นถึงความสำคัญในการป้องกันไม่ให้ติดเชื้อโรคโควิด-19
เพราะเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย และทุกสถานะ ไม่ว่าจะติดเชื้อแบบไม่มีอาการ อาการน้อย หรืออาการมาก
ติด…ไม่ใช่แค่ตัวเรา แต่อาจกระจายไปสู่สมาชิกในครอบครัว
ยิ่งหากคนที่ติดเชื้อ มีโรคประจำตัวเรื้อรัง ก็จะเสี่ยงต่อการป่วยหนัก เสียชีวิต และภาวะ Long COVID ที่มากขึ้นได้
ปัญหา Long COVID นั้นคือเรื่องที่ทั่วโลกหนักใจ เพราะบั่นทอนคุณภาพชีวิต สมรรถนะในการดำเนินชีวิตประจำวันและการทำงาน รวมถึงเป็นภาระค่าใช้จ่ายทั้งต่อผู้ป่วย ครอบครัว และสังคมระยะยาว
ป่วย หรือตาย มักสิ้นสุดในระยะเวลาไม่นาน แต่เชื่อว่าไม่มีใครที่อยากทรมานกับภาวะป่วยเรื้อรังที่บั่นทอนสมรรถนะในการดำรงชีวิตระยะยาว
Long COVID ยังไม่มีวิธีรักษาหรือป้องกันอย่างจำเพาะเจาะจง
การฉีดวัคซีนนั้นช่วยลดโอกาสเกิด Long COVID ได้ราว 15%
การป้องกันที่ดีที่สุดคือ การป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อ
ด้วยสถานการณ์ระบาดของไทยในปัจจุบัน การใส่หน้ากากอย่างถูกต้องเป็นหัวใจสำคัญมาก เวลาออกตะลอนนอกบ้านครับ จะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อแพร่เชื้อไปได้มาก
เน้นย้ำอีกครั้งว่า Omicron BA.5 นั้น หากใครติดเชื้อ ควรแยกตัวจากคนอื่น อย่างน้อย 10 วันนะครับ เรื่องนี้จำเป็นอย่างยิ่ง.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ผลวิจัยชี้ชัด การได้อยู่ในที่โล่งกว้างช่วยให้สุขภาพจิตดีขึ้น
เพจเฟซบุ๊ก คลินิกสุขภาพจิตนายแพทย์เจษฎา ของ นพ.เจษฎา ทองเถาว์ แพทย์เฉพาะทางสาขาจิตเวชศาสตร์ จิตแพทย์ประจำ รพ.พระศรีมหาโพธิ์ จ.อุบลราชธานี ได้เผยแพร่ข้อมูล งานวิจัยที่ระบุว่าการได้อยู่ในที่โล่งกว้างช่วยให้สุขภาพจิตดีขึ้น โดยระบุว่า
โควิดพุ่ง! ติดเชื้อใหม่รอบสัปดาห์ 3,039 ราย ดับ 1 คน 'เชียงใหม่' ป่วยสูงสุด
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 22 - 28 ธันวาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่
70 ยัน 90 ปี เพียงเดินเพิ่ม 500 ก้าว ลดเสี่ยงโรคเส้นเลือดหัวใจ-สมองตีบ
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศาสตราจารย์เชี่ยวชาญทางอายุรกรรมและสมอง และที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า 70 ยัน 90 ขวบ เพียงเดินเพิ่มแค่ 500 ก้าว
'หมอยง' ชี้สถานการณ์โควิดเปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่ไวรัสยังอยู่ต่อไป
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า 5 ปี โควิด 19 กาลเวลาเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน