11 ก.ค.2565 - นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงข่าวเฝ้าระวังโอมิครอนสายพันธุ์ BA.4และBA.5 ว่า จากการเฝ้าระวังโอมิครอนสายพันธุ์ต่างๆ ช่วงวันที่ 2-8 ก.ค. 2565 ตรวจกลุ่มตัวอย่าง 570 ราย พบเป็น BA.1 จำนวน 5 ราย ตามด้วย BA.2 จำนวน 283 ราย และสายพันธุ์ย่อย BA.4 และBA.5 รวมกัน 280 ราย ซึ่งมีไม่ชัดเจนอยู่ 2 ราย โดยหากแยกกลุ่มที่เดินทางมาจากต่างประเทศพบว่า ส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์ BA.4 และ BA.5 ถึง 78.4% ส่วนการติดเชื้อในประเทศแบ่งออกเป็นพื้นที่กรุงเทพมหานคร และภูมิภาค ข้อมูลจนถึงเดือนพ.ค. 2565 พบว่า ใน 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา กรุงเทพฯ เป็นพื้นที่ที่พบ BA.4 และ BA.5 มากสุดขณะเดียวกัน กรุงเทพฯ เริ่มพบสายพันธุ์ BA.4 และBA.5 เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จาก 12.7% ขึ้นเป็น 72.3% ส่วนภูมิภาค 34.7% ดังนั้น สายพันธุ์ BA.4 และBA.5 จะเริ่มแซงสายพันธุ์ BA.2 และ BA.1 แต่ไม่ได้แซงเร็วมากนัก สำหรับสัดส่วนสายพันธุ์ BA.4 และ BA.5 พบทั้ง 13 เขตสุขภาพ ยกเว้นเขต 3 พบจำนวนน้อย เนื่องจากส่งตัวอย่างแค่หลับสิบ จึงจำเป็นต้องมีการส่งตัวอย่างเพิ่ม ส่วนเขตสุขภาพที่พบมากสุด คือ เขต 13 พื้นที่กรุงเทพฯ
นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า ส่วนเรื่องความรุนแรงของ BA.4 และBA.5 ได้มีการสุ่มตรวจสายพันธุ์ในกลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็นคนมีอาการรุนแรง และอาการไม่รุนแรง โดยพื้นที่กรุงเทพมหานคร พบว่า คนที่อาการไม่รุนแรงพบใน BA.4 BA.5 อยู่ประมาณ 72% ส่วนคนที่อาการรุนแรง ปอดอักเสบจนต้องเข้าโรงพยาบาล หรือ ใส่ท่อช่วยหายใจ รวมทั้งรุนแรงจนเสียชีวิต มีข้อมูล 13 ราย พบเป็น BA.4 และBA.5 อยู่ 77% ส่วนพื้นที่ภูมิภาค คนที่อาการไม่รุนแรงมี 309 ราย พบ BA.4 และ BA.5 อยู่ 33% ส่วนคนที่อาการรุนแรง 45 รายพบสัดส่วน BA.4 และ BA.5 อยู่ที่ 46.67% สรุปได้ว่า ข้อมูลดังกล่าวพบว่า BA.4 และ BA.5 สัดส่วนอาการรุนแรงมากกว่าอาการไม่รุนแรง โดยยังสรุปความรุนแรงชัดเจนไม่ได้ เนื่องจากตัวเลขยังน้อยอยู่ จึงขอความร่วมมือรพ.สังกัดมหาวิทยาลัย สังกัดกทม. ขอให้มีการเก็บตัวอย่างคนปอดอักเสบจนนอนโรงพยาบาล หรือใส่ท่อช่วยหายใจ รวมทั้งผู้เสียชีวิต ขอให้ส่งตรวจเพิ่มขึ้น เพื่อให้ข้อมูลชัดเจนมากขึ้น
นพ.ศุภกิจ กล่าวเพิ่มเติมว่า องค์การอนามัยโลกได้ติดตามข้อมูลเป็นสัปดาห์ๆ พบว่า BA.5 เพิ่มขึ้นจากที่เคยตรวจ 37% ใน 83 ประเทศ เป็น 52% ส่วน BA.4 จาก 11% เป็น12% หมายความว่า BA.4 และ BA.5 อาจแพร่เร็วไม่เท่ากัน แต่ BA.5 แพร่เร็วขึ้นแน่นอน แต่ BA.4 ยังทรงๆ ส่วน BA.1 และ BA.2 ลดลง ส่วนเรื่องความรุนแรง องค์การอนามัยโลกไม่ได้ให้น้ำหนักมาก บอกเพียงว่า ความรุนแรงไม่ได้แตกต่างมากนัก แต่ พบว่า แพร่เร็วกว่าแน่ ส่วนมีผลต่อการหลบภูมิคุ้มกันหรือไม่ พบว่าลดลง
นพ.ศุภกิจ กล่าวอีกว่า สำหรับงานวิจัยญี่ปุ่น ซึ่งเป็นข้อมูลห้องทดลองพบว่า การกลายพันธุ์มีผลต่อการเพิ่มจำนวนไวรัส และดื้อต่อภูมิคุ้มกันที่เกิดจาก BA.1 และ BA. 2 คือ ใครที่ติดเชื้อมาก่อน ติดซ้ำ BA.4และBA.5 ได้ ในเซลล์ปอดมนุษย์พบว่า แพร่ได้เร็วกว่า BA.2 และในหนูแฮมสเตอร์พบว่า กลุ่มติดเชื้อ BA.4 และBA.5 มีอาการหนักกว่า BA.2 อันนี้คือข้อมูลเอกสารวิจัยรอตีพิมพ์ของญี่ปุ่น ดังนั้น จากข้อมูลทั้งหมดมีแนวโน้ม BA.4และBA.5 มากขึ้น และมีมากในกรุงเทพมหานคร ส่วนความรุนแรงมีแนวโน้มว่า พบมากใน BA.4และBA.5 แต่ตัวเลขยังน้อยอยู่
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอยง' ชี้สถานการณ์โควิดเปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่ไวรัสยังอยู่ต่อไป
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า 5 ปี โควิด 19 กาลเวลาเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน
'สมศักดิ์' ดึง สสส. ช่วย 'นับคาร์บ' ชวนคนไทยลดโรค NCDs ต้นเหตุคร่าชีวิตคนไทยชั่วโมงละ 45 คน ผจก.สสส.เดินหน้าพัฒนาฐานข้อมูลเชื่อมท้องถิ่นลดเสี่ยง
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะรองประธานกรรมการกองทุน สสส. คนที่ 1 กล่าวในการเป็นประธานประชุมกรรมการกองทุนฯ ครั้งที่ 8/2567 ว่า จากข้อมูลพบว่ามีผู้เสียชีวิตจาก NCDs 400,000 คนต่อปี คิดเป็นชั่วโมงละ 45 คน