'แอสต้าเซนเนก้า' เตรียมส่งมอบยาแอนดิบอดีLAABจำนวน 257,500 โดส ให้ไทย

6 ก.ค.65-แอสตร้าเซนเนก้า และ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ร่วมลงนามในสัญญาการจัดซื้อยาแอนติบอดีออกฤทธิ์ยาวแบบผสม หรือ AZD7442 (LAAB ของแอสตร้าเซนเนก้า) จำนวน 257,500 โดส สำหรับใช้เพื่อป้องกันอาการป่วยจากโรคโควิด-19 ก่อนการสัมผัสเชื้อในผู้ที่มีปัญหาภูมิคุ้มกันบกพร่องโดยจะเริ่มทำการส่งมอบภายในไตรมาสที่สามของปีนี้

ทั้งนี้ ผู้ที่มี “ภูมิคุ้มกันบกพร่อง” คือ ผู้ที่อาจมีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้ไม่เพียงพอ เนื่องจากภาวะทางการแพทย์ หรือการได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ซึ่งหากติดเชื้อจะเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงและมีอาการเจ็บป่วยรุนแรงจากโรคโควิด-19

AZD7442 (LAAB ของแอสตร้าเซนเนก้า) ได้รับการขึ้นทะเบียนตำรับยาแบบมีเงื่อนไขในประเทศไทย โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สำหรับใช้เพื่อการป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 ในกลุ่มผู้ใหญ่และวัยรุ่นที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป และมีน้ำหนักตัวมากกว่า 40 กิโลกรัม ทั้งผู้ที่เคยได้รับวัคซีนและไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน

นายเจมส์ ทีก ประธาน บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ขณะที่ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านจากการระบาดใหญ่ (Pandemic) ของโรคโควิด-19 สู่โรคประจำถิ่น (Endemic) แอสตร้าเซนเนก้ายังคงให้ความสำคัญ และมุ่งดูแลปกป้องทุกคนให้ปลอดภัยจากโรคนี้ โดยวัคซีนป้องกันโควิด-19 ยังคงเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรงจากโรค และมียาแอนติบอดีออกฤทธิ์ยาวแบบผสมนี้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการปกป้องประชากรกลุ่มเปราะบางและมีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคโควิด-19 เนื่องจากประชากรกลุ่มนี้มีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อวัคซีนป้องกันโควิด-19 ไม่เพียงพอ

จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ด1 แอนติบอดีดังกล่าวสามารถลบล้างฤทธิ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ย่อยโอมิครอน BA.4 และ BA.5 ซึ่งกำลังแพร่ระบาดในประเทศไทย และสายพันธุ์อื่นๆ ที่มี ณ ปัจจุบัน นอกจากนั้นผลการศึกษาระยะที่ 3 พรูฟเวนท์ (PROVENT) ในการป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อไวรัสก่อโรคที่ถูกตีพิมพ์ในวารสาร New England Journal of Medicine ยังระบุว่า AZD7442 (LAAB ของแอสตร้าเซนเนก้า) สามารถลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 แบบมีอาการได้ 77% จากการวิเคราะห์เบื้องต้น และ 83% จากการวิเคราะห์มัธยฐานที่ระยะเวลา 6 เดือน2

AZD7442 (LAAB ของแอสตร้าเซนเนก้า) ได้รับการขึ้นทะเบียนตำรับยาในสหภาพยุโรป เพื่อใช้สำหรับการป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 นอกจากนี้ยังได้รับการขึ้นทะเบียนให้นำมาใช้ในภาวะฉุกเฉิน ในประเทศสหรัฐอเมริกาและได้ถูกส่งมอบให้กับประเทศอื่นๆ อีกหลายประเทศทั่วโลก

AZD7442 หรือ LAAB ของแอสตร้าเซนเนก้า มาจากบีเซลล์ที่ได้รับการบริจาคจากผู้ที่เคยป่วยจากเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งถูกค้นพบโดยศูนย์การแพทย์ของมหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิวท์ และได้อนุญาตให้แอสตร้าเซนเนก้านำมาพัฒนาต่อเมื่อเดือนมิถุนายนปี 2563 โมโนโคลนอลแอนติบอดีของมนุษย์ 2 ตัวนี้จะมีความจำเพาะที่ต่างกัน เพื่อจับกับโปรตีนหนามของเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือ SARS-CoV-2 ในคนละจุด4 และถูกพัฒนาต่อโดยแอสตร้าเซนเนก้า เพื่อขยายระยะเวลาครึ่งชีวิต(half-life) เพื่อเพิ่มความยืนยาวของแอนติบอดี และปรับให้มีการจับกันของ Fc Receptor และ Complement ชนิด C1q ที่ลดลง4 โดยการขยาย half-life นั้น สามารถเพิ่มความยืนยาวของแอนติบอดี้ได้มากกว่าสามเท่าเมื่อเทียบกับแอนติบอดี้ทั่วไป5-7 จากข้อมูลของการทดลองในระยะที่ 3 แสดงให้เห็นว่าระดับของแอนติบอดีที่สามารถยับยั้งการเพิ่มจํานวนของไวรัส (neutralizing antibody) คงอยู่ได้เป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน6 และการปรับให้มีการจับของ Fc Receptor ที่ลดลงนั้นสามารถลดความเสี่ยงต่อภาวะ antibody-dependent enhancement (ADE) ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ที่แอนติบอดี้ของเชื้อไวรัสเข้าไปกระตุ้นแทนที่จะยับยั้งการติดเชื้อ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอยง' ชี้ 'โควิด' ระบาดหนัก แต่รุนแรงลดลง เข้าใกล้ไข้หวัดใหญ่

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19

‘เศรษฐา’ ลาป่วยติดโควิด กลับมาปฎิบัติงานวันที่ 19 มิ.ย.นี้

นายกรัฐมนตรี ได้พบแพทย์ หลังจากมีอาการป่วย อ่อนเพลียเล็กน้อย ตั้งแต่วันศุกร์ ที่ 14 มิถุนายน ที่ผ่านมา ผลการตรวจพบว่าติดโควิด

ทุบสถิติปีนี้! ไทยติดโควิดใหม่รายสัปดาห์ทะลุ 2.7 พันคน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 2 - 8 มิถุนายน 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล