5 ก.ค.65- นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สถานการณ์โรคโควิด 19 ของประเทศไทย เข้าสู่ระยะหลังการระบาดใหญ่ (Post-Pandemic) ตามแผนที่วางไว้ ซึ่งจากนี้เราต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับโควิด (Living with COVID) เหมือนอย่างโรคอื่นๆ ซึ่งหมายความว่า ยังสามารถพบการติดเชื้อได้แต่ความรุนแรงของโรคลดลง การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจะไม่มากเกินระบบสาธารณสุขที่มีจะรองรับได้ โดยจากการผ่อนคลายมาตรการ เปิดกิจการและกิจกรรมต่างๆ มากขึ้น เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้ชีวิตใกล้เคียงปกติและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงมีการเปิดประเทศ ทำให้มีผู้เดินทางเข้าประเทศมากขึ้น อาจพบการติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็นระลอกเล็กๆ (Small Wave) ซึ่งเป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ แต่จะไม่ใช่การระบาดใหญ่ โดยกระทรวงสาธารณสุขมีการเตรียมความพร้อมรองรับตามแนวทาง 3 พอ คือ หมอพอ เตียงพอ ยาและเวชภัณฑ์พอ
“ขณะนี้สถานการณ์เริ่มมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นระลอกเล็กๆ จึงมีการเตรียมความพร้อมระบบสาธารณสุขไว้รองรับ โดยกำชับและแจ้งไปยังหน่วยงานสาธารณสุขทั่วประเทศ ให้บุคลากรทางการแพทย์ระมัดระวังป้องกันตนเองในการให้บริการ เตรียมความพร้อมยา เวชภัณฑ์ สำรองเตียง ความพร้อมระบบส่งต่อ และเร่งเดินหน้าการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น รวมทั้งขอความร่วมมือประชาชนในการคงมาตรการป้องกันโรคส่วนบุคคล จะช่วยลดการติดเชื้อและหยุดระลอกเล็กๆ เหล่านี้ลงได้” นพ.เกียรติภูมิกล่าว
นพ.เกียรติภูมิกล่าวต่อว่า ขณะนี้ยังคงแจ้งเตือนภัยโควิด 19 ในระดับ 2 ยังไม่จำเป็นต้องยกระดับการแจ้งเตือน โดยในการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาด เน้นตามมาตรการ 2U ได้แก่ Universal Prevention คือ มาตรการป้องกันโรค ทั้งเว้นระยะห่าง ล้างมือ สวมหน้ากาก แม้จะมีการออกประกาศให้สวมหน้ากากโดยสมัครใจ แต่แนะนำให้ยังต้องสวมในกลุ่มผู้ติดเชื้อ ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง กลุ่มที่เสี่ยงติดเชื้อแล้วมีอาการรุนแรง รวมถึงยังต้องสวมเมื่อไม่สามารถเว้นระยะห่างจากผู้อื่นได้ การเข้าร่วมกิจกรรมที่มีคนจำนวนมาก การอยู่ในสถานที่เสี่ยงหรือสถานที่แออัด และ Universal Vaccination คือ มาตรการฉีดวัคซีนให้ครอบคลุม โดยเฉพาะเข็มกระตุ้น เพื่อให้มีภูมิคุ้มกันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อ ช่วยป้องกันอาการรุนแรงและเสียชีวิต ทำให้ลดการเข้ารักษาเป็นผู้ป่วยหนักในโรงพยาบาล และระบบสาธารณสุขสามารถรองรับได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ก้อง ปิยะ-หมอก้อง' นำทีมดาราจิตกุศล-แพทย์-พยาบาล บริการสาธารณสุขผู้ห่างไกล
โครงการ "ตั้งใจทำ" นำโดย ก้อง-ปิยะ เศวตพิกุล, พันโท สรวิชญ์ สุบุญ (หมอก้อง), ชาตรี อุดมวิทย์ ที่ปรึกษาฝ่ายบริหารกลุ่มบริษัท พอนด์เคมิคอล จำกัด(Masa Lab) ร่วมด้วยทีม แพทย์-พยาบาล-เภสัชกร บุคลากรทางการแพทย์ ดารานักแสดงจิตกุศล
หมอยง ชี้โควิด-19 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เร่งศึกษาสายพันธุ์ใหม่ มีอาการป่วยเพียงเล็กน้อย
สายพันธุ์ที่ต้องเฝ้าระวังและติดง่ายกว่า สายพันธุ์ JN.1 คือสายพันธุ์ HK.2 กำลังจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สายพันธุ์นี้ก็เป็นลูกของ JN.1 ที่กลายพันธุ์ออกมา
เฉียดตาย! ผู้ป่วยหอบหืดอาการกำเริบหนัก ไปรพ.กลางดึก สุดอึ้งไม่เจอใครเลย ห้องฉุกเฉินปิด
ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ Joy Sinsanguan โพสต์ข้อความร้องทุกข์หลังจากพาพี่ชายป่วยหอบหืด อาการค่อนข้างหนักไปรักษาฉุกเฉินที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดกระบี่ในช่วงเวลาตี 2 แต่ไม่พบเจ้าหน้าที่ โทรไปตามเบอร์ก็ไม่มีใครรับสาย ทำให้ต้องพาพี่ชายไปโรงพยาบาลอีกแห่งในจังหวัดพังงา จนพ้นภาวะวิกฤติได้
'ด้อมแดง' โชว์ตรรกะอวย 'หมอชลน่าน' เพิ่งนั่ง รมว.สธ. ก็ได้กลิ่นความเจริญแล้ว
นพ.อิราวัต อารีกิจ หรือ หมออั้ม กองเชียร์พรรคเพื่อไทย อดีตแนวร่วมม็อบสามนิ้ว โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “อั้ม อิราวัต” วันนี้ได้มีโอกาส คุยกับพี่หมอชลน่าน บอกได้เลย ว่าดีใจกับประชาชนไทย
สังคมไทยหลังเลือกตั้ง ความหวังลดความเหลื่อมล้ำระบบสาธารณสุข
สงกรานต์และวันปีใหม่ไทยผ่านมาอีกครั้ง พร้อมกับความหวังใหม่ ๆ ที่มากับการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในเดือนพฤษภาคมนี้ ดิฉันได้ยินนโยบายมากมายของพรรคการเมืองต่าง ๆ ที่ออกมาช่วงหลายเดือนนี้ ซึ่งท้ายที่สุดแล้วดิฉันคิดว่าสิ่งที่ประชาชนต้องการอาจไม่ได้มีความซับซ้อนอะไรมากไปกว่า ความต้องการที่ว่ายามเมื่อเขาเดือดร้อน ภาครัฐเป็นที่พึ่งให้เขาได้แค่ไหน สวัสดิการของรัฐได้ช่วยให้เขาพ้นวิกฤตของชีวิตได้เพียงใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเขาเป็นประชาชนส่วนน้อยที่เสียภาษีเต็มเม็ดเต็มหน่วยให้กับประเทศนี้
หัวใจที่เข้มแข็งของบุคลากรทางการแพทย์ พาประเทศข้ามผ่านวิกฤตการณ์โควิด
นายกฯ กล่าวเนื่องใน “วันแพทย์” ปี 65 ชื่นชมหัวใจที่เข้มแข็งของบุคลากรทางการแพทย์ทุกคน ที่อุทิศตนปฏิบัติภารกิจในการรับมือกับโรคโควิด-19 ด้วยความเสียสละ ทุ่มเท ร่วมกันก้าวข้ามผ่านวิกฤตการณ์ จนประเทศไทยได้รับคำชื่นชมจากนานาประเทศ