เปิดผลตรวจโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย พบ BA.4 และ BA.5 กว่า 51.7% ป่วยรุนแรงยังมีน้อย

4 ก.ค.2565 - ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสต์การแพทย์ แถลงอัพเดตสถานการณ์เฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด-19 ในประเทศไทย ว่า กรมวิทยาศาสตร์ฯ มีการถอดรหัสพันธุกรรมทุกสัปดาห์ด้วยวิธี SNP ที่เป็นการตรวจเบื้องต้น สัปดาห์นี้ ตั้งแต่วันที่ 25 มิ.ย. – วันที่ 1 ก.ค.2565 จำนวน 946 ตัวอย่าง เป็นการติดเชื้อโอมิครอน 100% ทั่วประเทศ ขณะที่ สายพันธุ์ย่อยโอมิครอน BA.1 มี ร้อยละ 1.1 BA.2 มี ร้อยละ 47.3 BA.4 และ BA.5 โดยการตรวจจะนับรวมกัน เพราะทั้งสองสายพันธุ์ไม่ค่อยมีส่วนที่ต่างกัน มีร้อยละ 51.7 ทั้งนี้ การตรวจในกลุ่มผู้เดินทางเข้าประเทศ พบว่ามี 46 ตัวอย่าง เป็น BA.1 ร้อยละ 21.7 และ BA.4 และ BA.5 ร้อยละ 78.3

“หากดูรายสัปดาห์ จะเห็นว่าเริ่มต้นที่ ร้อยละ 6 กว่าๆ เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน แล้วมาเป็น ร้อยละ 44.3 และมาเป็น ร้อยละ 51.7 เป็นแนวโน้มเพิ่มขึ้นชัดเจน โดยสัปดาห์นี้ความชันของกราฟค่อยๆ เพิ่ม ไม่ได้กระโดดเหมือนสัปดาห์ก่อน ฉะนั้น คาดการณ์ได้ว่า BA.4 และ BA.5 จะครองตลาดการติดเชื้อในประเทศไทย จากการสุ่มตรวจในประเทศขณะนี้ พบผู้ติดเชื้อ BA.4 และ BA.5 ทุกเขตสุขภาพ เว้นเขต 3, 8 และ 10 พบมากที่สุด คือ กรุงเทพมหานคร ซึ่งจะส่งผลต่อเปอร์เซ็นต์ภาพรวมประเทศด้วย” นพ.ศุภกิจ กล่าว

นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า เมื่อมาวิเคราะห์กลุ่มผู้ติดเชื้อโควิดโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย ตั้งแต่วันที่ 25 มิ.ย. – วันที่ 1 ก.ค. 2565 ค่อนข้างน่าสนใจ พบว่า กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ไม่ได้ติดเชื้อ BA.4 และ BA.5 มากกว่ากลุ่มอื่น ส่วนกลุ่มที่อาการรุนแรงใส่ท่อช่วยหายใจ ปอดอักเสบ ได้ตัวอย่างมาเพียง 11 ราย ซึ่งคิดเป็น BA.2 ร้อยละ 63.6 และเป็น BA.4 และ BA.5 อีก ร้อยละ 36.4 อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเรื่องผู้ป่วยยังรุนแรงยังเป็นจำนวนที่น้อยอยู่ แต่ปัจจุบันยังไม่ปรากฎว่า BA.4 และ BA.5 มีความรุนแรงมากกว่า BA.1 กับ BA.2 ทั้งนี้ กรมวิทยาศาสตร์ฯ ได้ขอความร่วมมือไปยังสถานพยาบาลที่มีผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ ปอดอักเสบ และเสียชีวิตส่งตัวอย่างมากตรวจเพิ่มขึ้นให้เป็นข้อมูลทางสถิติมากขึ้น

“มาตรการส่วนบุคคลยังมีความจำเป็น แม้จะไม่ได้บังคับสวมหน้ากากอนามัยแล้ว แต่ควรเป็นสุขนิสัยส่วนบุคคล และต้องมาฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเพื่อให้ภูมิคุ้มกันสูงมากพอ เรายังไม่มีวัคซีนรุ่นใหม่ ก็ยังใช้รุ่นเดิมได้ ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปภูมิคุ้มกัน ลดลง ก็จะสู้กับสายพันธุ์ใหม่ได้น้อยลง ฉะนั้น มีความจำเป็นต้องกระตุ้นวัคซีน เพื่อต่อสู้กับสายพันธุ์ใหม่ๆ ได้ คนที่ฉีด 2 เข็มไม่พอแล้ว หรือฉีดเข็มที่ 3 ไปนานแล้ว ก็ต้องมากระตุ้น” นพ.ศุภกิจ กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่า ผู้ป่วยอาการรุนแรง 11 ราย มีข้อมูลอย่างไรบ้าง มีเคสเสียชีวิตใน BA.4 และ BA.5 แล้วหรือไม่ นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า ผู้ป่วยรุนแรง 11 ราย เป็นคนจากต่างจังหวัด 9 ราย ในกรุงเทพฯ 2 ราย ซึ่งกำลังดูเรื่องประวัติวัคซีนโควิด-19 อยู่ อาการของผู้ป่วยรุนแรงจะต่างกันออกไปซึ่งเป็นรายละเอียด แต่ขณะนี้ยังไม่มีผู้เสียชีวิตในกลุ่ม BA.4 และ BA.5 เพราะข้อมูลเสียชีวิตในปัจจุบันยังเป็น BA.2 แต่ต้องเข้าใจว่า การเสียชีวิตจะทอดเวลาออกไปหลังจากที่มีการป่วยรุนแรง ฉะนั้น ตอนนี้ยังบอกข้อมูลไม่ได้ แต่ถ้าเก็บต่อไปก็จะเห็นชัดเจนขึ้น

“ตอนนี้พบ BA.4 และ BA.5 มากในกรุงเทพฯ แต่ตามธรรมชาติไวรัสจะขยับออกไป อย่างแรกๆ เจอในผู้เข้ามาประเทศ ที่มาเจอในกรุงเทพฯ จากนั้นก็จะระบาดไปต่างจังหวัด” นพ.ศุภกิจ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โควิดกลับมาระบาดใหม่ ‘หมอมนูญ’  ขออย่าตื่นตระหนก รักษาตามอาการหายได้

เวลาผ่านไปโรคโควิดลดความรุนแรงลง โรคโควิดไม่น่ากลัวหมือนเมื่อ 3-4 ปีก่อน คนไทยไม่ต้องตื่นตระหนกตกใจกลัวโรคโควิดมากเกินไป

สายการบิน 'ลุฟท์ฮันซา' ต้องจ่ายค่าปรับกรณีเลือกปฏิบัติต่อผู้โดยสารชาวยิว

สายการบินลุฟท์ฮันซาต้องจ่ายค่าปรับจำนวน 4 ล้านดอลลาร์ในสหรัฐอเมริกา เหตุเพราะในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดขอ

ไทยติดโควิดรอบสัปดาห์ 353 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 6 - 12 ตุลาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่