'นพ.ธีระ' ยกผลวิจัยเตือน บอกโอมิครอนมีโอกาสติดรอบสองแรงกว่าเดิม 7 เท่าโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง! เมืองผู้ดีวิจัยพบปัญหา Long COVID จริง
29 มิ.ย.2565 - นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิด-19 ประจำวันที่ 29 มิ.ย.ว่า ทะลุ 550 ล้านไปแล้ว เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 630,578 คน ตายเพิ่ม 1,125 คน รวมแล้วติดไป 550,477,419 คน เสียชีวิตรวม 6,353,314 คน
5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ฝรั่งเศส อิตาลี บราซิล ไต้หวัน และสหรัฐอเมริกา เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 7 ใน 10 อันดับแรก และ 15 ใน 20 อันดับแรกของโลก
จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 74.31 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 49.68
...สถานการณ์ระบาดของไทย จากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่า จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 15 ของโลก และอันดับ 3 ของเอเชีย แม้สธ.ไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค.จนทำให้จำนวนที่รายงานนั้นลดลงไปมากก็ตาม
...อัพเดตเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโควิด-19
1. Omicron ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อซ้ำมากกว่าระลอกก่อนถึง 7 เท่า ข้อมูลล่าสุดจาก Office for National Statistics ของสหราชอาณาจักร ที่เผยแพร่เมื่อ 22 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา เปรียบเทียบความเสี่ยงในการเกิดติดเชื้อซ้ำ ระหว่างระลอก Omicron กับระลอกก่อนหน้า
พบว่า ระลอก Omicron ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อซ้ำมากกว่าระลอกก่อน 7 เท่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มคนที่ไม่ฉีดวัคซีน, กลุ่มคนที่เคยมีประวัติติดเชื้อมาก่อนแต่มีอาการน้อย หรือไม่มีอาการ, และกลุ่มคนที่อายุไม่มาก
อย่างไรก็ตาม ต้องเน้นย้ำว่า ไม่ว่าจะวัยใด เพศใด กลุ่มอาการใด ฉีดหรือไม่ฉีดวัคซีนมาก่อนก็ตาม ล้วนมีโอกาสติดเชื้อซ้ำได้มากในยุค Omicron หากไม่ป้องกันตัวให้ดี การติดเชื้อซ้ำ มีงานวิจัยชี้ให้เห็นแล้วว่าจะเสี่ยงต่อการป่วยรุนแรงมากขึ้น และเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากขึ้นหลายเท่า นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อเกิดภาวะผิดปกติระยะยาวอย่าง Long COVID อีกด้วย
2. Long COVID ในสหราชอาณาจักร Thompson EJ และคณะ จากสหราชอาณาจักร ได้ตีพิมพ์ผลการวิจัยในวารสารทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ระดับสากล Nature Communications เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา โดยศึกษาจาก 10 การศึกษาที่มีการติดตามผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 พบว่ามีอัตราการเกิดภาวะ Long COVID นานตั้งแต่ 12 สัปดาห์ขึ้นไปถึง 7.8-17%
ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าปัญหา Long COVID นั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง และเป็นเรื่องท้าทายสำหรับทุกประเทศในการเตรียมรับมือ ทั้งเรื่องระบบการดูแลรักษา ติดตามประเมินผล ฟื้นฟูสภาพ บริการสนับสนุนด้านสังคม การใช้ชีวิต และการทำงาน รวมถึงภาระค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นระยะยาวต่อตัวผู้ป่วย ครอบครัว และสังคม
การป้องกันไม่ให้ติดเชื้อย่อมดีที่สุด ใส่หน้ากากนะครับ สำคัญมาก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
Siamsquare จัดเวที countdown ใหญ่ ให้วงเยาวชนไทยได้เป็นดาว!! ตอกย้ำการเป็นพื้นที่แห่งโอกาสของดาวดวงใหม่ของคนไทยทุกดวง
ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมส่งท้ายปี 2024 กับเยาวชนและคนไทย พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน รองอธิการบดี ด้านการจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (PMCU) , อาจารย์ ดร.จรัสพัฒน์ พฤกษารัตนวุฒิ ผู้ช่วยอธิการบดี ด้านการจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เปิดพิกัดเที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืนในจุฬาฯ
ปีนี้งาน Night Museum at Chula เที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดภายใต้แนวคิด “เสน่ห์ Science” ชูเสน่ห์ของวิทยาศาสตร์ที่อยู่ในธรรมชาติรอบตัวเรา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันและเป็นแรงขับเคลื่อนทุกย่างก้าวของคนในปัจจุบัน
จุฬาฯ เดินหน้ายุทธศาสตร์ใหม่ สร้าง Siam Square ให้เป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน รวมพลคนพิการโชว์พลังครั้งใหญ่ที่สุด!
อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำทีม PMCU (สำนักทรัพย์สินจุฬาฯ) และ มูลนิธิ Five for All เปิดงาน Siam Square Walking Street For All ครั้งแรก! บนพื้นที่ใจกลางสยามสแควร์ ให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน ทุกกลุ่ม