26มิ.ย.65-ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี ได้โพสต์ข้อความล่าสุดผ่านเฟซบุ๊ค Center for Medical Genomics ว่า
คำถามที่สอบถามศูนย์จีโนมฯเกี่ยวกับการระบาดระลอกใหม่ของโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 และไวรัสฝีดาษลิง
คำถามที่สอบถามศูนย์จีโนมฯเกี่ยวกับการระบาดระลอกใหม่ของโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 และไวรัสฝีดาษลิง
Q5: กังวลมาก เชื้อ BA.4, BA.5 และ BA.2.12.1 จะเกิดระบาดใหญ่ในไทยหรือไม่ จะรุนแรงแค่ไหน และ ต้องเตรียมตัวอย่างไร
A5: จากข้อมูลที่มีอยู่จนถึงปัจจุบันน่าจะมีการทยอยระบาดของ BA.5 มาแทนที่ทุกสายพันธุ์ แต่ความรุนแรงอาจไม่ต่างจาก BA.2 การป้องกันและรักษาน่าจะใกล้เคียงกับ BA.2 ส่วนสายพันธุ์ที่ต้องเฝ้าติดตามในอนาคตมีสายพันธุ์เดียวคือ “BA.5”
ปรับปรุง 26/6/2565 เวลา 12:00
รายละเอียด
-ข้อมูลที่ได้จากการถอดรหัสพันธุกรรมไวรัสโคโรนา 2019
จากรหัสพันธุกรรมโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4, BA.5, BA.2.12.1 พบการกลายพันธุ์ต่างไปจากโอไมครอนสายพันธุ์ดั้งเดิม B.1.1.529, BA.1 และ BA.2 ปัจจุบันพบแนวโน้มของสายพันธุ์ BA.4/BA.5 กำลังระบาดเข้ามาแทนที่ โอมิครอนสายพันธุ์ดั้งเดิม (B.1.1.529) และสายพันธุ์ย่อย BA.1, BA.2, และ BA.2.12.1 ในหลายพื้นที่ของโลก
ในสหรัฐอเมริกา โอไมครอนสายพันธุ์ย่อยที่ระบาดส่วนใหญ่เป็น BA.2.12.1 แต่ปรากฏว่ากำลังถูกแทนที่ด้วยสายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 และจากการคำนวณโดยอาศัยการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมในแต่ละช่วงเวลาของ BA.4/BA.5 พบว่ามีอัตราการเจริญ (growth rate) หรือความฟิตในการแพร่ระบาดมากกว่า BA.2.12.1 โดยพบว่า BA.5 มีความฟิตมากที่สุด (ภาพ 1,2)
ในสหราชอาณาจักรอัตราการเจริญ (growth rate) ซึ่งคำนวณจากการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมในแต่ละช่วงเวลาพบว่า
BA.5 เจริญรวดเร็วกว่า BA.2 ประมาณ 35.14 %
BA.4 เจริญรวดเร็วกว่า BA.2 ประมาณ 19.17%
BA.2.12.1 เจริญรวดเร็วกว่า BA.2 ประมาณ 9.16%
ดังนั้นสถานการณ์ในสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาคล้ายกันคือ BA.5 มีการเจริญที่รวดเร็วที่สุด และน่าจะมาแทนที่ BA.4 และ BA.2.12.1 ในที่สุด (UK’s Technical briefing documents on novel SARS-CoV-2 variants #43. https://assets.publishing.service.gov.uk/…/Technical…)
สรุปได้ว่า “สายพันธุ์ที่ควรเฝ้าระวังมากที่สุดในปัจจุบันและอนาคตคือ BA.5”
หากพิจารณาดูจากรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมพบว่า BA.4/BA.5 บริเวณส่วนหนามมีการกลายพันธุ์ต่างไปจาก BA.2 เพียง 3 ตำแหน่ง คือ 69-70del, L452R, F486V โดย “L452R” กลายพันธุ์กลับไปเหมือนสายพันธุ์ “เดลตา” ส่วน “F486V” เป็นการกลายพันธุ์ใหม่คาดว่าช่วยไวรัสมีความฟิตมากขึ้นในการแพร่ระบาด นอกจากนั้นบนจีโนมของ BA.4/BA.5 ยังมีการกลายพันธุ์กลับไปเหมือนสายพันธุ์ดั้งเดิมที่เคยระบาดในอดีต ก่อนหน้าสายพันธุ์เดลตา เช่น อัลฟา เบตา และ แกมมา ที่ตำแหน่ง Q493 (ภาพ 3-5)
การกลายพันธุ์ของ BA.4/BA.5 มีการกลายพันธุ์ต่างไปจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ดั้งเดิม “อู่อั๋น” ประมาณ 85 ตำแหน่ง ในขณะที่ BA.2 การกลายพันธุ์ต่างไปจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ดั้งเดิม “อู่อั๋น” ประมาณ 75 ตำแหน่ง (ภาพ6)
การที่ BA.4/BA.5 มีกลายพันธุ์ที่ตำแหน่ง “L452R” เหมือนกับสายพันธุ์เดลตา ส่งผลให้จากการทดลองในห้องปฏิบัติการ พบว่าสามารถเพาะเลี้ยงไวรัส BA.4/BA.5 ในเซลล์ปอดมนุษย์ในหลอดทดลองได้ดี หนามของไวรัสได้มีการเปลี่ยนแปลงไปสามารถเป็นตัวเชื่อมให้ผนังของหลายเซลล์ในหลอดทดลองหลอมรวมเป็นเซลล์เดียว (cell fusion หรือ syncytia formation) อันอาจเป็นเหตุดึงดูดให้ระบบภูมิคุ้มกันของผู้ติดเชื้อเข้ามาทำลายเซลล์ปอดของผู้ติดเชื้อเกิดการอักเสบที่ปอด ส่วนในหนูทดลองพบการติดเชื้อ BA.4/BA.5 ในระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง เช่นที่เซลล์ปอดได้ดี (ภาพ4)
-ข้อมูลทางคลินิกจากผู้ติดเชื้อที่แตกต่างจากข้อมูลที่ได้จากห้องทดลอง
ขณะนี้มีการแพร่ระบาดของ BA.4/BA.5 หลายประเทศในยุโรป จากการติดตามการดำเนินของโรคโควิด-19 ในประเทศแอฟริกาใต้ และโปรตุเกส ซึ่งเป็นประเทศแรกๆที่มีการระบาดของ BA.4/BA.5 พบว่าจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่ต้องเข้ารักษาตัวใน รพ. เพิ่มสูงขึ้นบ้างแต่ไม่สูงเท่ากับการติดเชื้อโอไมครอน BA.2 ในอดีต ส่วนจำนวนผู้เสียชีวิตคงที่ไม่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ประเทศไทยจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่และผู้เสียชีวิตลดลงอย่างต่อเนื่อง (7-8)
ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านมีความเห็นสอดคล้องกันว่า BA.4/BA.5 สามารถระบาดได้รวดเร็วกว่า BA.2 แต่ความรุนแรงและอาการทางคลินิกน่าจะไม่แตกต่างจาก BA.2 อย่างไรก็ดีคงต้องรอข้อมูลทางคลินิกจากหลายประเทศในยุโรป อังกฤษ และสหรัฐอเมริกาที่ BA.4/BA.5 กำลังระบาดมาสรุปร่วมด้วย
-ข้อมูลรหัสพันธุกรรมจากฐานข้อมูลโควิดโลก “GISAID”
มีการระบาดของ BA.4, BA.5, BA.2.12.1 ในประเทศไทยซึ่งสามารถสืบค้นได้บนฐานข้อมูลรหัสพันธุกรรมโควิดโลก “GISAID” โดยข้อมูลส่วนใหญ่มาจากทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้อัปโหลดขึ้นไปแบ่งปันข้อมูลกับนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก
ตรวจพบ BA.4 ร้อยละ 2
ตรวจพบ BA.5 ร้อยละ 2
ตรวจพบ BA.2.12.1 ร้อยละ 1
หรือ 32, 49, และ 25 ราย ตามลำดับ (ภาพ9-10)
-ข้อมูลรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของไวรัสโคโรนาที่ถอดรหัสโดยศูนย์จีโนมฯ
ตัวอย่างไวรัสโคโรนา 2019 ที่ทางศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ. รามาธิบดี ได้สุ่มถอดรหัสพันธุกรรม มาจากสิ่งส่งตรวจที่ PCR เป็นผลบวก ระหว่าง เดือน ม.ค.-พ.ค. 2565 จำนวนประมาณ 300 ราย ในพื้นที่ กทม. ปทุมธานี สมุทรสาคร และกรมราชทัณฑ์ พบว่าเป็นสายพันธุ์เดลตา และโอไมครอน BA.1 และ BA.2 เป็นส่วนใหญ่ ยังไม่พบ BA.4. BA.5, และ BA.2.12.1 (กำลังรอผลการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมอีก 100 รายประจำเดือนมิถุนายน) อันแสดงว่า กรุงเทพ และจังหวัดเสี่ยงในภาคกลางยังไม่พบการแพร่ระบาด หรือระบาดน้อยจนสุ่มตรวจไม่พบ BA.4, BA.5 และ BA.2.12.1 ในระดับท้องถิ่นระหว่างเดือน ม.ค.-พ.ค. 2565 ที่ผ่านมา (ภาพ11)
สรุปได้ว่า “จากข้อมูลที่มีในปัจจุบันเบื้องต้นบ่งชี้ว่าไม่น่าจะมีการระบาดใหญ่ในไทย ความรุนแรงของการติดเชื้อไม่น่าจะต่างจาก BA.2 การป้องกันและรักษาไม่ต่างจาก BA.2 ที่ต้องระวังมีสายพันธุ์เดียวคือ “BA.5” ที่กำลังระบาดเข้ามาแทนที่ทุกสายพันธุ์
คำถาม-ตอบที่ 1-4 ติดตามได้จาก https://bit.ly/QandA_1to4
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์จีโนมฯถอดบทเรียนปี 2567 ระบุโรคอุบัติใหม่ระบาดเกิดแน่แต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ ศูนย์สนับสนุนพันธกิจ
สัญญาณอันตราย!สหรัฐพบไวรัสไข้หวัดนกในหมูเสี่ยงระบาดครั้งใหม่
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ ศูนย์สนับสนุนพันธกิจ
มาอีกแล้ว! ไวรัสตัวใหม่ 'มาร์บูร์ก' น้องๆอีโบลา
เพจศูนย์จีโนมทางการแพทย์ ศูนย์สนับสนุนพันธกิจ
ศูนย์จีโนมฯ จับตาโอมิครอน KP.2.3/XEC ลูกผสมพันธุ์ใหม่ แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โอมิครอน KP.2.3/XEC : ลูกผสมสายพันธุ์ใหม่แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า
คู่มือฉบับเร่งด่วนที่เจ้าของควรรู้ 'ไข้หวัดนก' ในแมว-สุนัข
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "31 รัฐในสหรัฐ เผชิญไข้หวัดนกในแมวและสุนัข
จับตา! 'ไข้หวัดนก' ระบาดใหม่ 2 ราย ในกัมพูชา พบเด็กอุ้มซากไก่
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า กัมพูชาพบผู้ป่วยไข้หวัดนก H5N1 รายใหม่ 2 ราย ในจังหวัดตาแก้ว