16 มิ.ย.2565 - ผศ.นพ.โอภาส พุทธเจริญ หัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลินิก รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก Opass Putcharoen กล่าวถึงโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 ว่า ขณะนี้กำลังเพิ่มขึ้นปนกับสายพันธุ์อื่นที่ระบาดก่อนหน้านี้ จำนวนคนไข้จากสายพันธุ์นี้ที่จริงอาจจะมากกว่าที่รายงาน เพราะส่วนใหญ่ไม่ได้ตรวจสายพันธุ์ ทำแต่ ATK (จริงๆก็ไม่จำเป็นต้องตรวจหาสายพันธุ์ทุกราย เพราะการรักษาก็ยังเหมือนเดิม เอาไว้เป็นข้อมูลทางระบาดวิทยา)
อาการที่พบมากขึ้นช่วงนี้คือ อาการท้องเสีย ปวดเมื่อยตัว หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าท้องเสียจากสาเหตุอื่น แต่จริงๆเป็นจากโควิด
โรงพยาบาลจะเริ่มแน่นขึ้นจากจำนวนเคสที่เพิ่มขึ้น เป็นไปตามการคาดการณ์ว่าจะมีพีคขึ้น แต่จำนวนคนไข้หนักยังไม่เพิ่มขึ้นเร็ว ดูแนวโน้มอีกสองสามอาทิตย์ การถอดหน้ากากอาจจะถอดได้ถ้าอยู่ที่ที่ถ่ายเทอากาศดี ในอาคารที่แออัด หน้ากากอาจจะยังจำเป็นอยู่
เมื่อเร็วๆนี้ ผศ.นพ.โอภาส ได้ระบุว่า โควิดรอบเก็บตกคนที่ยังไม่ติด ช่วงนี้ก็อาจจะติดกันมากขึ้น เนื่องจากโอกาสการติดเชื้อเพิ่มขึ้นจากการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ แต่ถ้าได้วัคซีนครบอาการจะไม่รุนแรง Home isolation ได้สบาย ถ้าระยะเวลากักโรคในคนที่ติดเชื้อลดลง เหลือ 5 วัน อาจจะกำลังดี เพื่อให้ไม่ขาดคนทำงาน เศรษฐกิจเดินได้ไม่สะดุดมาก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โควิดพุ่ง! ติดเชื้อใหม่รอบสัปดาห์ 3,039 ราย ดับ 1 คน 'เชียงใหม่' ป่วยสูงสุด
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 22 - 28 ธันวาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่
'หมอยง' ชี้สถานการณ์โควิดเปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่ไวรัสยังอยู่ต่อไป
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า 5 ปี โควิด 19 กาลเวลาเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน
ไทยติดโควิดใหม่รอบสัปดาห์ 549 ราย ดับเพิ่ม 1 คน
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 27 ตุลาคม - 2 พฤศจิกายน 2567