24 มิ.ย. 2565 – รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 667,668 คน ตายเพิ่ม 1,429 คน รวมแล้วติดไป 547,261,113 คน เสียชีวิตรวม 6,347,169 คน
5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ เยอรมัน ฝรั่งเศส บราซิล อิตาลี และสหรัฐอเมริกา เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 7 ใน 10 อันดับแรก และ 15 ใน 20 อันดับแรกของโลก
จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 70.57 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 52.06
…สถานการณ์ระบาดของไทย
จากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่า
จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 16 ของโลก และอันดับ 3 ของเอเชีย แม้ สธ. ไทย จะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค.จนทำให้จำนวนที่รายงานนั้นลดลงไปมากก็ตาม
…อัปเดต Long COVID ในเด็กและวัยรุ่น
ล่าสุด Lopez-Leon S และทีมจากประเทศสหรัฐอเมริกา ทำการทบทวนข้อมูลวิชาการอย่างเป็นระบบ เผยแพร่ในวารสารทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ Scientific Reports ในเครือ Nature เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา
ประมวลผลจากงานวิจัยทั่วโลก 21 ชิ้น โดยมาจากเด็กและวัยรุ่นที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 จำนวน 80,071 คน
พบว่า อัตราการเกิดภาวะ Long COVID มีสูงถึง 1 ใน 4 (25.24%)
โดยอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นมีหลากหลายระบบของร่างกาย รวมถึงภาวะผิดปกติทางอารมณ์
อาการที่พบบ่อยสุดคือ ความผิดปกติทางอารมณ์ 16.5% รองลงมาคือ อาการเหนื่อยล้า/อ่อนเพลีย 9.66% และปัญหาการนอนหลับ 8.42%
แม้งานวิจัยต่างๆ ที่ทำการทบทวนรวบรวมมาอย่างเป็นระบบนั้น จะมีรายละเอียดระเบียบวิธีวิจัยแตกต่างกันมาก แต่ผลการงานวิจัยนี้ได้ชี้ให้เห็นแนวโน้มว่า อาการผิดปกติระยะยาวหรือ Long COVID ในเด็กและวัยรุ่นนั้นมีโอกาสเกิดได้มากพอสมควร และมากกว่าที่หลายคนเคยประเมินกันไว้ก่อนหน้านี้ว่าโอกาสเกิดน้อยกว่าผู้ใหญ่
จึงเป็นข้อมูลวิชาการที่ทำให้เราตระหนักถึงความสำคัญ ที่ผู้ใหญ่ คุณพ่อคุณแม่ รวมถึงคุณครู จะต้องช่วยกันดูแล ให้คำแนะนำเด็กๆ และวัยรุ่น เพื่อป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อ
…อัปเดตสถานการณ์ระบาดในสหราชอาณาจักร
ข้อมูลปัจจุบันชี้ให้เห็นว่า กำลังเจอระบาดระลอกใหม่จากไวรัส Omicron สายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 อย่างชัดเจน
โดยส่งผลให้จำนวนติดเชื้อพุ่งสูงขึ้น และที่สำคัญคือจำนวนผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการดูแลรักษาในโรงพยาบาลสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา
…สถานการณ์ของไทยเรานั้น ล่าสุดยกเลิกมาตรการต่างๆ ไปมาก ทำให้มีความเสี่ยงระหว่างการใช้ชีวิตประจำวันสูงขึ้น
หากเหลียวมองรอบตัวจะพบว่ามีคนติดเชื้อเพิ่มอย่างต่อเนื่อง
ยิ่งเมื่อวานนี้มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยให้สวมหน้ากากอนามัยโดยสมัครใจทั่วประเทศภายใต้ conditions ต่างๆ
จึงขอเรียนเน้นย้ำให้ทุกคนใช้ชีวิตอย่างมีสติ มีความใส่ใจต่อสุขภาพและสวัสดิภาพของตนเองและครอบครัว
นาทีนี้…ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
โควิด…ไม่กระจอก และไม่ใช่หวัดธรรมดา ติดเชื้อแล้วไม่ใช่แค่ชิลๆ แต่ป่วยได้ ตายได้ และที่สำคัญที่สุดคือ มีความเสี่ยงต่อภาวะผิดปกติระยะยาวอย่าง Long COVID ได้
การใส่หน้ากากเสมอ ใช้ให้คุ้นชิน เป็นอวัยวะที่ 33 ของร่างกาย จะช่วยลดความเสี่ยงไปได้มาก
อ้างอิง Lopez-Leon S et al. Long-COVID in children and adolescents: a systematic review and meta-analyses. Scientific Reports. 23 June 2022.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โควิดพุ่ง! ติดเชื้อใหม่รอบสัปดาห์ 3,039 ราย ดับ 1 คน 'เชียงใหม่' ป่วยสูงสุด
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 22 - 28 ธันวาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่
'หมอยง' ชี้สถานการณ์โควิดเปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่ไวรัสยังอยู่ต่อไป
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า 5 ปี โควิด 19 กาลเวลาเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน
ไทยติดโควิดใหม่รอบสัปดาห์ 549 ราย ดับเพิ่ม 1 คน
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 27 ตุลาคม - 2 พฤศจิกายน 2567
โควิดกลับมาระบาดใหม่ ‘หมอมนูญ’ ขออย่าตื่นตระหนก รักษาตามอาการหายได้
เวลาผ่านไปโรคโควิดลดความรุนแรงลง โรคโควิดไม่น่ากลัวหมือนเมื่อ 3-4 ปีก่อน คนไทยไม่ต้องตื่นตระหนกตกใจกลัวโรคโควิดมากเกินไป