หมอธีระยกผลวิจัย Long COVID ในเด็กของเดนมาร์กเตือนสติผู้ปกครอง ชี้เด็กที่ติดโควิด-19 จะมีปัญหาอาการผิดปกติของระบบต่างๆ อย่างน้อย 1 อาการ เน้นย้ำอย่าลืมใส่หน้าหาก
23 มิ.ย.2565 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิด-19 ประจำวันที่ 3 มิถุนายน 2565 ว่า เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 663,225 คน ตายเพิ่ม 1,270 คน รวมแล้วติดไป 546,425,284 คน เสียชีวิตรวม 6,344,957 คน
5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ เยอรมัน ฝรั่งเศส บราซิล อิตาลี และไต้หวัน เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 7 ใน 10 อันดับแรก และ 14 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 72.11 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 55.03
...สถานการณ์ระบาดของไทย จากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่า จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 14 ของโลก และอันดับ 2 ของเอเชีย แม้สธ.ไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค.จนทำให้จำนวนที่รายงานนั้นลดลงไปมากก็ตาม
...Long COVID ในเด็ก
ล่าสุดมีงานวิจัยเกี่ยวกับ Long COVID ในเด็ก โดยเป็นการศึกษาขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่มีมาจนถึงปัจจุบันจากประเทศเดนมาร์ก เผยแพร่ใน The Lancet Child&Adolescent Health เมื่อวานนี้ 22 มิถุนายน 2565 ทำการสำรวจทั่วประเทศเดนมาร์ก ครอบคลุมประชากรเด็กอายุ 0-14 ปี ที่เคยติดเชื้อไวรัสโรคโควิด-19 จำนวน 10,997 คน เปรียบเทียบกับเด็กที่ไม่เคยติดเชื้อมาก่อน จำนวน 33,016 คน ทั้งนี้ได้ทำการประเมินคุณภาพชีวิต และอาการผิดปกติต่างๆ ของ Long COVID โดยสอบถามผ่านแม่ของเด็กแต่ละคนสาระสำคัญที่พบคือ
กลุ่มเด็กที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 จะพบว่ามีปัญหาอาการผิดปกติของระบบต่างๆ ในร่างกาย หรือ Long COVID อย่างน้อย 1 อาการ นานกว่า 2 เดือน มากกว่ากลุ่มที่ไม่ติดเชื้ออย่างมีนัยสำคัญ โดยในช่วงอายุ 0-3 ปี ติดเชื้อจะพบปัญหามากกว่าไม่ติดเชื้อถึง 1.78 เท่า ช่วงอายุ 4-11 ปี 1.23 เท่า และช่วงอายุ 12-14 ปี 1.21 เท่า
ผลจากการศึกษานี้ ตอกย้ำให้เราเห็นว่า แม้จะเป็นเด็ก ก็ประสบปัญหา Long COVID มีอาการผิดปกติต่อเนื่องหลังจากการติดเชื้อได้ และจำเป็นต้องได้รับการเอาใจใส่ดูแลจากคุณพ่อคุณแม่ คอยสังเกตอาการต่างๆ หลังจากรักษาตัวหายจากการติดเชื้อในช่วงแรกไปแล้ว โดยมีได้หลากหลายอาการ เช่น ไอ ใจสั่น หายใจลำบาก เหนื่อยล้า/อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดท้อง รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ในลักษณะต่างๆ
นอกจากนี้ยังเคยมีการวิจัยก่อนหน้านี้ จนเป็นที่มาของคำเตือนจาก US CDC ว่าการติดเชื้อโรคโควิด-19 จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานในเด็กอายุน้อยกว่า 18 ปีได้อีกด้วย
ดังนั้น หากสังเกตพบว่ามีอาการผิดปกติ ควรนำเด็กๆ ไปปรึกษาแพทย์ เพื่อที่จะได้ตรวจวินิจฉัย และรักษาได้อย่างทันท่วงที...เน้นย้ำให้เราทุกคนตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันตนเอง และครอบครัวอย่างสม่ำเสมอ การใส่หน้ากาก เป็นหัวใจสำคัญ
อ้างอิง
Berg SK et al. Long COVID symptoms in SARS-CoV-2-positive children aged 0–14 years and matched controls in Denmark (LongCOVIDKidsDK): a national, cross-sectional study. The Lancet Child&Adolescent Health. 22 June 2022.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอยง' เปิดข้อมูลไข้หวัด hMPV ระบาดในไทย เทียบกับปีก่อน
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า
จุฬาฯ เปลี่ยน 'สยาม' ให้เป็น 'สนาม' เด็กเล่น จัดงานวันเด็กสยาม 'CHULALAND แดนเด็กเล่น' พัฒนาศักยภาพเยาวชนไทยผ่านกิจกรรมสนุกมากมาย
นางสาวศุภมาศ อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธานเปิดงาน CHULA LAND แดนเด็กเล่น ซึ่งจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 11 มกราคม 2568 ตั้งแต่เวลา 09.00-21.00 น. ที่สยามสแควร์
Siamsquare จัดเวที countdown ใหญ่ ให้วงเยาวชนไทยได้เป็นดาว!! ตอกย้ำการเป็นพื้นที่แห่งโอกาสของดาวดวงใหม่ของคนไทยทุกดวง
ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมส่งท้ายปี 2024 กับเยาวชนและคนไทย พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน รองอธิการบดี ด้านการจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (PMCU) , อาจารย์ ดร.จรัสพัฒน์ พฤกษารัตนวุฒิ ผู้ช่วยอธิการบดี ด้านการจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย