'หมอธีระ' ห่วงโอมิครอน BA.4-BA.5 หลบภูมิคุ้มกันวัคซีนมากกว่าพันธุ์เดิม

10 มิ.ย. 2565 – รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 522,747 คน ตายเพิ่ม 1,220 คน รวมแล้วติดไป 538,563,604 คน เสียชีวิตรวม 6,327,685 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ เยอรมัน ไต้หวัน เกาหลีเหนือ สหรัฐอเมริกา และบราซิล

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 6 ใน 10 อันดับแรก และ 14 ใน 20 อันดับแรกของโลก

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 69.15 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 63.03

การติดเชื้อใหม่ในทวีปเอเชียนั้นคิดเป็นร้อยละ 35.01 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 23.68

…สถานการณ์ระบาดของไทย

จากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่า จำนวนติดเชื้อที่รายงานของไทยนั้นไม่สามารถนำมาใช้เปรียบเทียบกับประเทศอื่นได้ เพราะหลัง 1 มิ.ย. มีการประกาศปรับมารายงานเพียงจำนวนคนป่วย ไม่ใช่รายงานการติดเชื้อใหม่ทั้งหมดที่เกิดขึ้น

ในขณะที่จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 15 ของโลก และเป็นอันดับ 2 ของเอเชีย ถึงแม้สธ.ไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค.เป็นต้นมาจนทำให้จำนวนที่รายงานนั้นลดลงไปมากก็ตาม

ทั้งนี้จำนวนเสียชีวิตของไทยเมื่อวานคิดเป็น 7.95% ของการเสียชีวิตทั้งหมดที่รายงานของทวีปเอเชีย (อย่างไรก็ตามหากปรับตามคาดประมาณสัดส่วนของคนที่มีโรคร่วมเหมือน UK จะพบว่าคิดเป็น 11.03%

…อัปเดต Omicron BA.4 และ BA.5

ทีมงานจากมหาวิทยาลัย Oxford ประเทศอังกฤษ ได้เผยแพร่ผลการศึกษาเกี่ยวกับลักษณะของไวรัสโรคโควิด-19 สายพันธุ์ Omicron BA.4 และ BA.5 ในวารสารวิทยาศาสตร์การแพทย์ Cell เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา

สาระสำคัญคือ การชี้ให้เห็นว่า BA.4 และ BA.5 นั้นมีการกลายพันธุ์ที่เปลือกนอกหลายตำแหน่งที่ต่างจากสายพันธุ์ก่อนหน้านี้ทั้งหมด และยังต่างจาก BA.1 และ BA.2 ที่เป็น Omicron พี่ๆ ที่ออกมาระบาดก่อนอีกด้วย

โดยส่งผลให้ BA.4 และ BA.5 หลบหลีกภูมิคุ้มกันได้มากกว่าเดิม ทั้งภูมิที่เกิดขึ้นจากการฉีดวัคซีน และภูมิที่เกิดหลังจากติดเชื้อสายพันธุ์ก่อนหน้า

นอกจากนี้ยังดื้อต่อยาแอนติบอดี้ที่ใช้รักษามากขึ้นด้วย

…สภาพแวดล้อมในสังคมปัจจุบันมีความเสี่ยงมากขึ้นอย่างมาก การใส่หน้ากากเพื่อป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งที่ควรทำ

โควิด…ไม่จบแค่ติดชิลๆ แล้วหาย แต่ป่วยได้ ตายได้ และจะทรมานระยะยาว หากเกิดปัญหา Long COVID.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอยง' ชี้ 'โควิด' ระบาดหนัก แต่รุนแรงลดลง เข้าใกล้ไข้หวัดใหญ่

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19

‘เศรษฐา’ ลาป่วยติดโควิด กลับมาปฎิบัติงานวันที่ 19 มิ.ย.นี้

นายกรัฐมนตรี ได้พบแพทย์ หลังจากมีอาการป่วย อ่อนเพลียเล็กน้อย ตั้งแต่วันศุกร์ ที่ 14 มิถุนายน ที่ผ่านมา ผลการตรวจพบว่าติดโควิด

ทุบสถิติปีนี้! ไทยติดโควิดใหม่รายสัปดาห์ทะลุ 2.7 พันคน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 2 - 8 มิถุนายน 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล