6 มิ.ย. 2565 – รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 287,065 คน ตายเพิ่ม 435 คน รวมแล้วติดไป 535,331,719 คน เสียชีวิตรวม 6,320,294 คน
5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ เกาหลีเหนือ ไต้หวัน ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 7 ใน 10 อันดับแรก และ 14 ใน 20 อันดับแรกของโลก
จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 80.19 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 77.93
การติดเชื้อใหม่ในทวีปเอเชียนั้นคิดเป็นร้อยละ 63.96 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 49.65
…สถานการณ์ระบาดของไทย
จากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่า จำนวนติดเชื้อที่รายงานของไทยนั้นไม่สามารถนำมาใช้เปรียบเทียบกับประเทศอื่นได้ เพราะหลัง 1 มิ.ย. มีการประกาศปรับมารายงานเพียงจำนวนคนป่วย ไม่ใช่รายงานการติดเชื้อใหม่ทั้งหมดที่เกิดขึ้น
ในขณะที่จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 4 ของโลก และเป็นอันดับ 2 ของเอเชีย ถึงแม้กระทรวงสาธารณสุขไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค.เป็นต้นมา จนทำให้จำนวนที่รายงานนั้นลดลงไปมากก็ตาม
ทั้งนี้จำนวนเสียชีวิตของไทยเมื่อวานคิดเป็น 12.96% ของการเสียชีวิตทั้งหมดที่รายงานของทวีปเอเชีย (อย่างไรก็ตามหากปรับตามคาดประมาณสัดส่วนของคนที่มีโรคร่วมเหมือน UK จะพบว่าคิดเป็น 17.54%
…สถานะการฉีดวัคซีนของไทย
วัคซีนเข็ม 3 ซึ่งเป็นเข็มกระตุ้นนั้นมีความสำคัญมากในการป้องกันการติดเชื้อแบบมีอาการ ป้องกันป่วยรุนแรง และลดความเสี่ยงในการเสียชีวิต โดยข้อมูลที่มีทางการแพทย์นั้น mRNA vaccines ยังเป็นตัวเลือกที่มีข้อมูลเข้มแข็งที่สุด
รองลองมาหากจำเป็นหรือมีข้อจำกัดที่จะต้องรับวัคซีน viral vector ในเข็มหรือสองเข็มแรกไปแล้ว ก็ควรฉีดเข็มสามด้วย mRNA vaccine ก็จะทำให้เกิดการกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีขึ้น
ณ ปัจจุบัน ต้องเน้นย้ำว่า คนที่ได้รับการฉีดไปเพียงสองเข็มแรกนั้นไม่เพียงพอ เพราะระดับภูมิคุ้มกันจะลดลงอย่างรวดเร็ว (โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากได้รับวัคซีนเชื้อตายจะยิ่งลดลงเร็วกว่าวัคซีนชนิดอื่นๆ) และไม่สามารถป้องกัน Omicron และสายพันธุ์ลูกหลานได้
ถึงเมื่อวานนี้ มีคนไทยที่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น (เข็ม 3) ไป 41.1% ของประชากรทั้งสิ้น 69.5 ล้านคน
ในขณะที่วัยสูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ได้รับวัคซีนเข็ม 3 ไป 44.9%
ส่วนวัยเด็กเล็ก 5-11 ปีนั้น ได้รับวัคซีน 2 เข็มไปเพียง 34.8% (ทั้งๆ ที่ในอเมริกานั้นแนะนำให้ฉีดเข็ม 3 เพื่อกระตุ้นด้วย)
จะเห็นได้ว่าประชากรไทยเรายังสัดส่วนการได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นน้อยมาก ไม่ว่าจะเด็ก ผู้ใหญ่ หรือผู้สูงอายุ
…เกราะป้องกันโดยวัคซีนในระดับบุคคลนี้ยังไม่เข้มแข็งมากพอ
…สภาพแวดล้อมปัจจุบัน การใช้ชีวิตประจำวันในสังคมมีความเสี่ยงสูงขึ้นมาก ธรรมชาติของไวรัสไม่เลือกที่รักมักที่ชัง โรคติดต่อนั้นจะติดเชื้อแพร่เชื้อได้แน่นอนหากมีการพบปะติดต่อกันมากขึ้น ใกล้ชิดกันนานขึ้น แออัดยัดเยียด ระบายอากาศไม่ดี กิจกรรมเสี่ยงเพิ่มขึ้น สถานที่เสี่ยงเพิ่มขึ้น
“การใส่หน้ากากจึงเป็นหัวใจสำคัญยิ่ง”
ล่าสุด Walter Koroshetz ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติด้านโรคทางระบบประสาทและโรคหลอดเลือดสมอง ประเทศสหรัฐอเมริกา เพิ่งออกมาเน้นย้ำเตือนว่า การติดเชื้อไวรัสโรคโควิด-19 นั้นจะทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะ Long COVID หรือ Post COVID syndrome หลากหลายอาการตามมาได้ในระยะยาว และเป็นปัญหาใหญ่สำหรับประเทศที่ต้องแบกรับ
“Long COVID: A significant problem for the country going forward”
ประเทศไทยก็จำเป็นต้องตระหนักถึงเรื่อง Long COVID นี้ เพราะจะส่งผลกระทบทั้งต่อสุขภาพของผู้ป่วย คุณภาพชีวิต สมรรถนะการใช้ชีวิต ผลิตภาพในการทำงาน ระบบแรงงานและเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว
การป้องกันไม่ให้ติดเชื้อย่อมดีที่สุด.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอยง' เผยสถาการณ์โควิดเปลี่ยนไปมากคำแนะนำก็ต้องเปลี่ยนตาม
ศ.นพ.ยง ภู่รวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก
'คารม' บอกรัฐบาลเฝ้าระวังโรคไอกรนใกล้ชิดผู้ปกครองไม่ต้องห่วง
'คารม' เผยรัฐบาลร่วมบูรณาการเฝ้าระวังโรคไอกรนอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในโรงเรียน เน้นย้ำเฝ้าระวัง ติดตามอย่างเข้มงวด ป้องกันการแพร่ระบาด ขอผู้ปกครองอย่าเป็นกังวล
ไทยติดโควิดใหม่รอบสัปดาห์ 549 ราย ดับเพิ่ม 1 คน
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 27 ตุลาคม - 2 พฤศจิกายน 2567
โควิดกลับมาระบาดใหม่ ‘หมอมนูญ’ ขออย่าตื่นตระหนก รักษาตามอาการหายได้
เวลาผ่านไปโรคโควิดลดความรุนแรงลง โรคโควิดไม่น่ากลัวหมือนเมื่อ 3-4 ปีก่อน คนไทยไม่ต้องตื่นตระหนกตกใจกลัวโรคโควิดมากเกินไป