ศบค.ปรับการแถลงตัวเลขผู้ป่วยโควิด!

ไทยติดเชื้อ 2.5 พันราย ดับ 34 ราย ศบค.เลิกนับผู้ป่วยไม่มีอาการ ลดวันแถลงเหลือเดือนละ 2 ครั้ง แนะตรวจเอทีเคเฉพาะมีอาการ-สงสัยติดเชื้อ เตือนระวังตัวเลขขยับขึ้น หลังให้สถานบริการเปิด

02 มิ.ย.2565 - พญ.สุมนี วัชรสินธุ์ ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค ในฐานะผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค.แถลงสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศไทย พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 2,560 ราย เป็นการติดเชื้อในประเทศ 2,252 ราย มาจากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการ 2,552 ราย มาจากเรือนจำ 6 ราย เป็นผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ 2 ราย หายป่วยเพิ่มขึ้น 5,605 ราย อยู่ระหว่างรักษา 36,190 ราย อาการหนัก 846 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 417 ราย เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 34 ราย เป็นชาย 23 ราย หญิง 11 ราย เป็นผู้เสียชีวิตที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 28 ราย มีโรคเรื้อรัง 6 ราย มียอดผู้ติดเชื้อสะสมยืนยันตั้งแต่ปี 2563 จำนวน 4,457,580 ราย มียอดหายป่วยสะสมตั้งแต่ปี 2563 จำนวน 4,391,307 ราย ยอดผู้เสียชีวิตสะสมตั้งแต่ปี 2563 จำนวน 30,081 ราย ขณะที่สถานการณ์โลก มียอดผู้ติดเชื้อสะสม 533,538,507 ราย เสียชีวิตสะสม 6,315,721 ราย

พญ.สุมนี กล่าวว่า แม้สถานการณ์จะดีขึ้น แต่กลุ่มเป้าหมายหลักที่มีความเสี่ยงควรได้รับวัคซีนเข้มกระตุ้น และกลุ่มเด็กเล็ก โดยการให้บริการวัคซีนในกลุ่มเป้าหมายหลัก ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้น ฉีดเข็มกระตุ้นแล้ว 44.7% ส่วนเด็กเล็กที่มีอายุ 5-11 ปี ฉีดเข็มที่หนึ่ง 59% เข็มที่สอง 33.7%

“ศบค.ขอแจ้งว่า จากปกติที่จะรายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อทั้งที่มีอาการและไม่มีอาการ แต่หลังจากนี้จะมีการปรับการรายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อโดยจะรายงานเฉพาะผู้ที่มีอาการและเข้ารับการรักษาจากสถานพยาบาลเท่านั้น นอกจากนี้ จะมีการปรับการแถลงข่าวของ ศบค. โดยปรับลดวันแถลง เหลือเดือนละ 2 ครั้ง เป็นทุกวันพฤหัสบดี สัปดาห์เว้นสัปดาห์ และหากสัปดาห์ไหนมีการประชุม ศบค. จะแถลงในวันดังกล่าว”พญ.สุมนีกล่าว

พญ.สุมนี กล่าวว่า ปัจจุบันสถานการณ์โควิด-19ในประเทศไทยดีขึ้น ผู้ป่วยอาการหนักและเสียชีวิตมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ แต่เมื่อมีการผ่อนคลายกิจกรรม กิจการต่างๆ อาจจะพบตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น จึงขอให้ดูแลตัวเองแบบครอบจักรวาล ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขจะเตรียมความพร้อมตามหลัก 3 พอคือ เตียงเพียงพอ ยาและวัคซีนเพียงพอ และบุคลากรทางการแพทย์เพียงพอ ส่วนสถานประกอบ โรงเรียน สถานที่ทำงาน กิจการห้างร้านให้อยู่ภายใต้มาตรการโควิดฟรีเซ็ตติ้ง และไม่จำเป็นต้องตรวจเอทีเคทุกสัปดาห์ จะตรวจเฉพาะเมื่อมีอาการหรือสงสัยว่าติดเชื้อ ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้อยู่กับโควิด-19 อย่างรู้ทัน กลับมาทำมาหากิน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ตามแนวทางประชาชนปลอดภัย เศรษฐกิจเข้มแข็ง ประเทศแข็งแรง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดข้อมูล ‘ไวรัสโควิด’ สร้างได้ในห้องทดลอง มีจดสิทธิบัตรตั้งแต่ปี 2018

การสร้างไวรัสใหม่ชนิดนี้จะสามารถครอบคลุมไวรัสที่จะแพร่และเกิดโรคระบาดในมนุษย์ได้ทั้งสิ้น และสามารถที่จะสร้างวัคซีนให้มนุษย์ก่อนได้

ไทยติดโควิดรอบสัปดาห์ 353 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 6 - 12 ตุลาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่