'หมอธีระ' อัพเดตการระบาดสายพันธุ์ BA.4 - BA.5

30 พ.ค. 2565 – รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 314,655 คน ตายเพิ่ม 442 คน รวมแล้วติดไป 531,543,390 คน เสียชีวิตรวม 6,310,708 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ เกาหลีเหนือ ไต้หวัน ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และฝรั่งเศส เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 7 ใน 10 อันดับแรก และ 15 ใน 20 อันดับแรกของโลก

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 84.69 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 87.1

การติดเชื้อใหม่ในทวีปเอเชียนั้นคิดเป็นร้อยละ 69.55 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 55.2

…สถานการณ์ระบาดของไทย

จากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่า จำนวนติดเชื้อเมื่อวาน รวม ATK ของไทย สูงเป็นอันดับ 8 ของโลก

ในขณะที่จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 6 ของโลก และเป็นอันดับ 3 ของเอเชีย ถึงแม้สธ.ไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค.เป็นต้นมาจนทำให้จำนวนที่รายงานนั้นลดลงไปก็ตาม

ทั้งนี้จำนวนเสียชีวิตของไทยเมื่อวานคิดเป็น 9.83% ของการเสียชีวิตทั้งหมดที่รายงานของทวีปเอเชีย

…อัพเดตสายพันธุ์ BA.2.12.1 BA.4 และ BA.5 ในอเมริกา

วันก่อน Bedford T, FHCRC ประเทศสหรัฐอเมริกาชี้ให้เห็นว่า สายพันธุ์ BA.4 และ BA.5 มีโอกาสที่จะทำให้ระบาดปะทุขึ้นมาได้จากสมรรถนะการหลบหลีกภูมิคุ้มกัน (breakthrough infection) และการทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำแม้เคยติดเชื้อสายพันธุ์ก่อนหน้ามาก่อน (reinfection)

…ผลกระทบระยะยาวต่อสังคม

การระบาดที่กระจายไปทั่วและไม่สามารถจัดการควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพในช่วงที่ผ่านมานั้น จะส่งผลระยะยาวที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือ การติดเชื้อไปอย่างต่อเนื่อง โดยวัคซีนนั้นจะช่วยป้องกันการป่วยหนักและลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตได้ แต่ไม่ได้การันตีผล 100% มากน้อยขึ้นอยุ๋กับชนิดของวัคซีนที่ได้รับ

นอกจากนี้ Long COVID หรือภาวะผิดปกติระยะยาวก็มีโอกาสเกิดขึ้น โดยยังไม่มีวิธีรักษาและวิธีป้องกันอย่างจำเพาะเจาะจง ยกเว้นการป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อ

หากติดตามความเป็นไปตลอดสองปีกว่าที่ผ่านมา เปรียบเหมือน interplay ระหว่างสถานการณ์ระบาด ความรู้ นโยบาย และการเมือง ซึ่งสุดท้ายแล้วการตัดสินใจเดินเส้นทางต่างๆ นั้น บางเส้นทางก็จะเป็นทางที่มีแต่ทางไป ไม่มีทางหวนกลับ

การเตรียมรับมือผลกระทบระยะยาวต่อสังคมเป็นเรื่องสำคัญของทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม เพื่อให้สามารถประคับประคองให้อยู่รอดปลอดภัย ผ่านพ้นวิกฤติไปตามสมควร

ณ จุดปัจจุบัน หลายประเทศตกอยู่ในลักษณะ A train with no return จึงจำเป็นต้องมองในลักษณะแพ็คเกจนโยบาย Save who can be saved เพื่อปกป้อง ป้องกันคนจำนวนมากที่ยังรอดปลอดภัยจากความเสี่ยงที่มีในสังคม และนโยบายช่วยเหลือ สนับสนุนแก่คนจำนวนไม่น้อยที่มีโอกาสเกิดผลกระทบในระยะยาว

ไม่ใช่แค่เรื่องโรคระบาดโควิด-19 เท่านั้น เรื่องปลคล็อกกัญชาก็เช่นกันที่มีบทเรียนต่างประเทศชี้ให้เห็น negative externalities ในระยะยาว ทั้งเรื่องอุบัติเหตุจราจร รวมถึงปัญหาด้านสังคมอื่นๆ

…สำหรับไทยเรา ย้ำอีกครั้งว่า การใส่หน้ากากเสมอเวลาออกไปใช้ชีวิตประจำวันนอกบ้านเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอยง' ชี้ 'โควิด' ระบาดหนัก แต่รุนแรงลดลง เข้าใกล้ไข้หวัดใหญ่

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19

‘เศรษฐา’ ลาป่วยติดโควิด กลับมาปฎิบัติงานวันที่ 19 มิ.ย.นี้

นายกรัฐมนตรี ได้พบแพทย์ หลังจากมีอาการป่วย อ่อนเพลียเล็กน้อย ตั้งแต่วันศุกร์ ที่ 14 มิถุนายน ที่ผ่านมา ผลการตรวจพบว่าติดโควิด

ทุบสถิติปีนี้! ไทยติดโควิดใหม่รายสัปดาห์ทะลุ 2.7 พันคน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 2 - 8 มิถุนายน 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล