29 พ.ค.2565-รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า ภาพ 3 และ 4 ตั้งบนสมมติฐานจำนวน ATK เมื่อวานที่ไม่ได้รายงาน มีค่าประมาณค่าเฉลี่ยของวันก่อนหน้าและวันนี้ อย่างไรก็ตาม เราทราบกันโดยทั่วไปว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่รายงานเข้าระบบเพราะช่วงที่ผ่านมาระบบบริการเกิดภาวะคอขวดไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้ทันเวลาและเพียงพอ จึงทำให้คนต้องหันไปหาทางจัดการกันเอง
ทั้งนี้ ความรู้ทางการแพทย์ปัจจุบันชี้ชัดว่า การติดเชื้อไม่ได้จบแค่หาย แต่ป่วยได้ ตายได้ และที่ทั่วโลกกังวลกันคือภาวะ Long COVID ประเทศใดที่มีหน่วยงานที่บริหารจัดการ ดูแลนโยบายด้านสาธารณสุขที่ดี ย่อมตั้งอยู่บนความไม่ประมาท กระตุ้นให้ประชาชนรับรู้ถึงความเสี่ยงอย่างถูกต้องตามสถานการณ์จริง และป้องกันตนเองอย่างสม่ำเสมอในการดำรงชีวิตประจำวันการดำรงชีวิตวิถีปัจจุบันนั้นต้องมีสติ ใช้ปัญญา และรู้ว่าการป้องกันตัวเองนั้นสำคัญมาก ใส่หน้ากากอย่างสม่ำเสมอนะครับ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอยง' เผยสถาการณ์โควิดเปลี่ยนไปมากคำแนะนำก็ต้องเปลี่ยนตาม
ศ.นพ.ยง ภู่รวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก
เปิดข้อมูล ‘ไวรัสโควิด’ สร้างได้ในห้องทดลอง มีจดสิทธิบัตรตั้งแต่ปี 2018
การสร้างไวรัสใหม่ชนิดนี้จะสามารถครอบคลุมไวรัสที่จะแพร่และเกิดโรคระบาดในมนุษย์ได้ทั้งสิ้น และสามารถที่จะสร้างวัคซีนให้มนุษย์ก่อนได้
ประสบการณ์เฉียดตายของดารารุ่นใหญ่ ‘อัล ปาชิโน’
โควิด-19 เกือบคร่าชีวิตของเขา - อัล ปาชิโน นักแสดงชาวอเมริกัน ล้มป่วยหนักเมื่อปี 2020 หนักมากจนเขาแทบเอาชีวิตไม่รอด
อาจารย์หมอจุฬาฯ แนะวิธีดูแลอาการ 'รองช้ำ' เบื้องต้นด้วยตัวเอง
รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง 'รองช้ำ หรือ Plantar fasciitis"
โควิด-19 รายสัปดาห์ ป่วยนอนโรงพยาบาลทะลุหลักพัน เสียชีวิต 3 ราย
ศูนย์ข้อมูล COVID-19 รายงานเกาะติดยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 14 - 20 กรกฎาคม 2567
โควิดรายสัปดาห์ ป่วยนอนโรงพยาบาล ทะลุหลักพัน เสียชีวิต 5 ราย
ศูนย์ข้อมูล COVID-19 รายงานเกาะติดยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 7 - 13 กรกฎาคม 2567