'หมอยง' เผยผลศึกษาเด็ก 5-6 ขวบ พบติดโควิดมากกว่าที่คิด

9 พ.ค. 2565 – ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19 การติดเชื้อในเด็ก ก่อนได้รับวัคซีน (5-6 ขวบ) มากกว่าที่เราคิด

การติดเชื้อมีทั้งมีอาการและไม่มีอาการ การสำรวจการติดเชื้อในประชากร มีเป็นจำนวนเท่าไหร่แล้ว ในอเมริกา จะตรวจ anti-nucleocapsid ของไวรัส พบว่ามีการติดเชื้อไปแล้วกว่าครึ่งหนึ่งของประชากร

สำหรับประเทศไทย การตรวจดังกล่าวไม่สามารถทำได้ ประเทศที่ฉีดวัคซีนเชื้อตาย ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นจะมีภูมิทั้งตัวไวรัส ไม่ใช่เฉพาะแค่ สไปรท์เท่านั้น จะตรวจพบ anti-nuclecapsid ด้วย จึงแยกไม่ได้ว่าภูมิที่ตรวจพบนี้ เกิดจากการติดเชื้อ หรือเกิดจากการได้รับวัคซีนเชื้อตาย

ดังนั้นทางศูนย์ ที่ผมทำการศึกษาอยู่ อยากทราบว่ามีการติดเชื้อไปแล้วเท่าไหร่ จึงสามารถทำได้เฉพาะในเด็ก โดยเฉพาะในเด็กที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีน การสำรวจจึงใช้ประชากรเด็กที่อายุ 5 – 6 ปี ก่อนการฉีดวัคซีนตามกำหนดของประเทศไทย เพื่อให้ทราบอัตราการติดเชื้อไปแล้วว่าเป็นเท่าไหร่

จากการศึกษา เด็กปกติในโครงการของศูนย์ ที่ติดตามภูมิต้านทานของวัคซีนไอกรน ในจำนวนนี้มีการติดเชื้อแบบมีอาการ และไม่มีอาการ จะเห็นว่า ภาพรวมการติดเชื้อในเด็ก 5 – 6 ขวบ ในช่วงที่มีการระบาดของเดลตา จะพบว่าเด็ก 5 – 6 ขวบ ติดเชื้อไปแล้ว ประมาณ 8 % พอมาช่วง omicron พบการติดเชื้อในเด็กไปแล้วถึง 17 % กว่าครึ่งหนึ่งเป็นการติดเชื้อเป็นแบบไม่มีอาการ ตรวจเลือดพบร่องรอยการติดเชื้อ คือตรวจพบ anti-nucleocapsid เด็กกลุ่มนี้ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน ดังแสดงในรูปที่ 1

เมื่อมาดูประชากรอีกกลุ่ม เป็นอาสาสมัครมาฉีดวัคซีน ในกลุ่มต่างๆ ในโครงการศึกษาภูมิต้านทานของวัคซีนในเด็ก เด็กกลุ่มนี้จะไม่มีประวัติ หรือมีอาการการติดเชื้อ covid 19 มาก่อน แต่เมื่อมาตรวจเลือดก่อนฉีดวัคซีนจะตรวจพบการติดเชื้อมาแล้ว โดยตรวจพบภูมิต้านทาน anti-nucleocapsid และภูมิต้านทานต่อสไปรท์โปรตีนแล้ว แสดงถึงการติดเชื้อมาแล้ว ดังในรูปที่ 2 ตรวจพบการติดเชื้อแบบไม่มีอาการ ถึงร้อยละ 8

แสดงว่าในระยะเวลาที่ผ่านมาในเด็กเล็ก ติดเชื้อไปแล้ว มีแนวโน้มที่จะมากขึ้นมาโดยตลอด และเป็นการติดเชื้อแบบไม่มีอาการ เด็กก็จะสามารถสร้างภูมิต้านทานได้

ในเด็กโตและผู้ใหญ่ ประชากรไทยน่าจะมีการติดเชื้อไปแล้วเป็นจำนวนมาก จำนวนมากจะเป็นการติดเชื้อแบบไม่มีอาการ หรือมีอาการน้อย ร่างกายก็จะสร้างภูมิต้านทานขึ้น เป็นอีกแรงหนึ่งในการช่วยการสร้างภูมิ เป็นวัคซีนธรรมชาติที่เกิดขึ้น และในอนาคตผู้ที่เคยติดเชื้อไปแล้ว ถึงแม้จะติดโรค ความรุนแรงของโรคก็จะลดลง

การสำรวจการติดเชื้อไปแล้ว มีประโยชน์อย่างยิ่งที่จะนำมาใช้ในการวางแผน ควบคุมโรค covid 19 โดยใช้องค์ความรู้มาประกอบ ศูนย์ที่ผมทำอยู่ กำลังมีโครงการที่จะดำเนินการในแนวกว้าง แต่จะทำได้ยากจากการตรวจเลือดในผู้ใหญ่ เพราะบ้านเรามีการฉีดวัคซีนเชื้อตายเป็นจำนวนมาก จะต้องใช้ประวัติการป่วย การสัมผัสโรค ประวัติวัคซีนและการตรวจเลือด.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘หมอมนูญ’ เผยข้อมูลระบาดวิทยา พบ ‘โควิด-ไข้หวัดใหญ่’ ยังแพร่เชื้อต่อเนื่อง

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และไข้หวัดใหญ่ยังมีต่อเนื่อง ไวรัสไข้หวัดใหญ่กำลังพุ่งสูงขึ้นตามฤดูกาล เข้าฤดูฝนแล้ว เชื้อไวรัสทางเดินหายใจทุกชนิดจะกลับมาระบาดหนักอีก

'หมอยง' ชี้ 'โควิด' ระบาดหนัก แต่รุนแรงลดลง เข้าใกล้ไข้หวัดใหญ่

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19