'ดร.อนันต์' เผยงานวิจัยการหนีภูมิคุ้มกันของไวรัสโอมิครอนน้องใหม่BA.4/5 กับ BA.2.12.1 มีเพียง 20 %ที่ แอนติบอดีช่วยป้องกันการติดเชื้อกับสายพันธุ์ที่ต่างจากอู่ฮั่น ระบุคงไม่ใช่ไพ่ใบสุดท้ายของไวรัสเพราะโรคประจำถิ่น คือ โรคที่ไม่หายไปไหน
4 พ.ค.2565 - ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โพสต์ข้อความผ่าน เฟซบุ๊ก ว่า
งานวิจัยชิ้นหนึ่งเผยแพร่มาจากทีมวิจัยกลุ่มใหญ่ในประเทศจีน ทำการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับการหนีภูมิคุ้มกันของไวรัสโอมิครอนน้องใหม่ BA.4/5 กับ BA.2.12.1 ที่กำลังเป็นสายพันธุ์หลักของสหรัฐอเมริกาในไม่ช้า เนื้อหาและข้อมูลของงานวิจัยมีเยอะมาก ขอเล่าในจุดที่คิดว่าน่าสนใจและอธิบายให้เป็นภาษาง่ายๆได้ก่อนนะครับ
ประเด็นแรกคือ เป็นที่สงสัยกันว่าเราฉีดวัคซีนที่พัฒนาจากสายพันธุ์ดั้งเดิมกันมาหลายเข็ม แล้วจู่ๆไปติดโอมิครอนตัวแรก คือ BA.1 ภูมิคุ้มกันหลังติดเชื้อเราควรมีภูมิต่อโอมิครอนประมาณเท่าไหร่ ความจำที่เราฉีดวัคซีนสายพันธุ์เก่ามาจะมีผลต่อภูมิที่จำเพาะต่อโอมิครอนมากน้อยแค่ไหน ทีมวิจัยตอบคำถามข้อนี้โดยการไปดู memory B cell ซึ่งเป็นเม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่สร้าง antibody ต่อโปรตีนสไปค์ ว่าในกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม คือ 1. คนที่ติด BA.1 หลังจากมีภูมิจากวัคซีนมาแล้ว 2. คนที่ฉีดวัคซีน Sinovac มาแต่ยังไม่เคยติดเชื้อ และ 3. คนที่ยังไม่เคยฉีดวัคซีนและไปติด BA.1 มา จะเห็นว่า 2 กลุ่มหลังเป็นกลุ่มควบคุมที่ memory B cell จะต้องสร้างแอนติบอดีที่แตกต่างกัน โดยกลุ่ม 2 ต้องสร้างแต่แอนติบอดีที่จำเพาะต่อสายพันธุ์วัคซีน และ กลุ่ม 3 คือ แอนติบอดีต่อโอมิครอน ในขณะที่กลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มที่น่าสนใจว่าจะเกิดอะไรขึ้น
สิ่งที่ทีมวิจัยพบคือ ปริมาณ memory B cell ในกลุ่มที่ 1 มีจำนวนมากกว่า 2 กลุ่มหลังอย่างชัดเจน และ อยู่ในปริมาณสูงแบบนั้นอย่างน้อย 2 เดือนหลังหายป่วย เมื่อไปดูว่า memory B cell เหล่านั้นจับกับสไปค์ของสายพันธุ์ไหน ผลการทดลองพบว่า ประมาณ 80% ไปสร้างแอนติบอดีต่อส่วนที่สไปค์ของวัคซีน กับ โอมิครอน มีเหมือนกัน ในขณะที่ 20% เท่านั้นไปจับแบบจำเพาะกับส่วนที่โอมิครอนกลายพันธุ์ออกไป หมายความว่าถ้าอยากได้แอนติบอดีที่จะช่วยป้องกันการติดเชื้อกับสายพันธุ์ที่ต่างจาก Wuhan เดิมออกไป จะมีแค่ 20% เท่านั้นที่พอลุ้นว่าจะจับได้ เพราะ 80% ที่ไวรัสกระตุ้นมาเป็นแอนติบอดีที่จำมาจากสิ่งที่วัคซีนสอนให้ร่างกายรู้จักแบบ ซ้ำๆ ยิ่งซ้ำบ่อยโอกาสจะถูกกระตุ้นด้วยสิ่งใหม่จะยากขึ้นไปเรื่อยๆ
ข้อมูลตรงนี้เลยไปสอดคล้องกับความสามารถที่ BA.1 กระตุ้นภูมิจากวัคซีนขึ้นมา 20% ก็ดูเหมือนจะเพียงพอต่อการยับยั้งการติดเชื้อซ้ำจาก BA.1 และ อาจจะ BA.2 ได้ แต่ถ้า BA.2 มี mutation เพิ่มเติมอีกหน่อยเช่น L452R ใน BA.4/5 หรือ L452Q ใน BA.2.12.1 จะเห็นว่า 20% ที่ BA.1 ให้มาจะเอาไม่ค่อยอยู่แล้ว ค่อนข้างชัดครับว่า การเปลี่ยนแปลงที่ 452 ใน BA.2 ในหลายๆที่พร้อมกันแบบนี้ เป็นกระบวนการที่ไวรัสหนีภูมิจากประชากรมนุษย์ และ แน่นอนอันนี้คงไม่ใช่ไพ่ใบสุดท้ายของไวรัส เพราะ โรคประจำถิ่น คือ โรคที่ไม่หายไปไหนครับ เพียงแต่เราต้องอยู่กับเค้าให้ได้
https://assets.researchsquare.com/.../v1_covered.pdf...
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'นักไวรัสวิทยา' สรุป 3 สายพันธุ์ 'โรคฝีดาษลิง' ความรุนแรงอาจขึ้นอยู่กับช่องทางการติดเชื้อ
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า
หนาว! ไทยมีสิทธิ์เป็นประเทศที่สองในโลกที่ฝีดาษวานรโผล่นอกแอฟริกา
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ
'ดร.อนันต์' เตือนสติไวรัสยังเป็นสิ่งน่ากังวล
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)
'ดร.อนันต์' เปิดผลวิจัยสาเหตุโลกไม่นิยมใช้ 'โมนูพิราเวียร์' สู้โควิด!
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ
ผงะ! ดร.อนันต์บอกชายเยอรมันฉีดวัคซีนโควิดมากสุด 217 เข็มใน 29 เดือน
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ
'ดร.อนันต์' เผยข่าวดีผู้แพ้ 'ถั่วลิสง-นม-ไข่'
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ