เด็กถึงแม้ว่าจะติดเชื้อโควิด มีความรุนแรงน้อยกว่าผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุ แต่ความสำคัญมีมากกว่า เพราะถ้าเกิดในเด็กปกติ ไม่เป็นที่ยอมรับ ทำใจไม่ได้ อย่างแน่นอน เราให้สำคัญกับชีวิตของเด็ก ดังนั้น ทุกคนจะต้องช่วยกัน ปกป้องชีวิตอันน่ารักของเด็กโดยเฉพาะเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี
26 เม.ย.2565- ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ประเด็น โควิด 19 ในเด็ก ความสำคัญของโรค กับการป้องกัน
ความรุนแรงของโรค covid-19 ในเด็ก ในเด็กความรุนแรงของโรคจะน้อยกว่าผู้ที่มีอายุมากโดยเฉพาะผู้สูงอายุ เช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่ ความรุนแรงในเด็ก มักจะเป็นเด็กเล็ก โดยเฉพาะ อายุน้อยกว่า 5 ปี
หลังจากการระบาดสายพันธุ์โอมิครอน ตั้งแต่ต้นมกราคมเป็นต้นมา ข้อมูลเบื้องต้นของกระทรวงสาธารณสุข มีเด็กเสียชีวิต 51 ราย พบว่า 39 ราย อายุน้อยกว่า 5 ปี ส่วนอายุ 5 ปีขึ้นไป มีเพียง 12 ราย ในจำนวนนี้เด็กปกติที่ไม่มีโรคประจำตัว และเสียชีวิตส่วนใหญ่ จะเป็นเด็กเล็ก (ถึงแม้จะน้อยกว่าเด็กที่มีโรคประจำตัว ที่รายงานเบื้องต้น ในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 5 ปี 29 ราย มีโรคประจำตัว 19 ราย เป็นเด็กที่แข็งแรงดี 10 ราย) ในเด็กโตที่เสียชีวิตส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดจะมีโรคประจำตัว
เมื่อดูอัตราการป่วยตาย จะพบว่าในเด็กอายุเกิน 5 ปี อัตราการป่วยตายจะอยู่ที่ 1 ในหมื่นที่ป่วย เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กเล็ก 0-4 ปี อัตราการป่วยตาย ในเด็กปกติที่ไม่มีโรคประจำตัวจะอยู่ที่ 3 ในหมื่นราย และเด็กที่มีโรคประจำตัวจะอยู่ที่ 5 ในหมื่นรายที่เป็น covid-19
ถึงแม้ดูตัวเลขที่ป่วยและเสียชีวิตในเด็ก จะมีจำนวนน้อย แต่ถ้าเป็นเด็กปกติแล้วเสียชีวิต โดยทั่วไป จะไม่เป็นที่ยอมรับ ยกตัวอย่างเช่นไข้เลือดออก อัตราการป่วยตาย ก็ไม่ได้มาก เหมือน covid-19 ในเด็ก แต่เด็กที่เสียชีวิตจะเป็นเด็กที่แข็งแรงดีมาก่อน เกิดขึ้นค่อนข้างเร็ว โดยทั่วไปจึงไม่เป็นที่ยอมรับ และทำใจไม่ได้
covid-19 ในเด็กถ้ามองดูจากสถิติ จะเห็นความสำคัญของเด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ปี เป็นอย่างมาก มีเด็กปกติแข็งแรงดี ต้องเสียชีวิตจากโควิด 19 จึงจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
เด็กกลุ่มดังกล่าวในประเทศไทย ปัจจุบันไม่มีวัคซีนที่ให้ในเด็กกลุ่มนี้ เพื่อลดความรุนแรงของโรคลง
วัคซีนในหลายประเทศ มีการฉีดให้ตั้งแต่อายุ 3 ปีขึ้นไป เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในประเทศจีน ที่เป็นที่ยอมรับ จะเป็นวัคซีนเชื้อตาย มีความปลอดภัย และมีการเผยแพร่ในวารสาร Lancet
การตัดสินใจจะเอาวัคซีนมาใช้ในเด็ก 3-5 ปี ในประเทศไทยยังขึ้นอยู่กับหลายหน่วยงาน
เด็กถึงแม้ว่าจะติดเชื้อโควิด มีความรุนแรงน้อยกว่าผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุ แต่ความสำคัญมีมากกว่า เพราะถ้าเกิดในเด็กปกติ ไม่เป็นที่ยอมรับ ทำใจไม่ได้ อย่างแน่นอน เราให้สำคัญกับชีวิตของเด็ก ดังนั้น ทุกคนจะต้องช่วยกัน ปกป้องชีวิตอันน่ารักของเด็กโดยเฉพาะเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โควิดพุ่ง! ติดเชื้อใหม่รอบสัปดาห์ 3,039 ราย ดับ 1 คน 'เชียงใหม่' ป่วยสูงสุด
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 22 - 28 ธันวาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่
'หมอยง' ชี้สถานการณ์โควิดเปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่ไวรัสยังอยู่ต่อไป
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า 5 ปี โควิด 19 กาลเวลาเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน
ย้อนดู 5 ปี 'โควิด 19' ความสับสนของข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬา โพสต์เฟซบุ๊กว่า
‘หมอยง’ สะท้อนความรู้สึกโควิด-19 ปีที่ 2 'ยุ่งเหยิง-ดราม่าวัคซีน-เซียนคีย์บอร์ด'
หลังการระบาดใหญ่ทั่วโลก ในปีแรก ทุกคนมุ่งหวัง ที่จะยุติการระบาดด้วยวัคซีน จึงมีการผลิตคิดค้นวัคซีนกันมากมาย มากกว่า 10 platform
'หมอยง' เผยสถาการณ์โควิดเปลี่ยนไปมากคำแนะนำก็ต้องเปลี่ยนตาม
ศ.นพ.ยง ภู่รวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก