22 เม.ย. 2565 – รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ทะลุ 507 ล้านไปแล้ว เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 779,573 คน ตายเพิ่ม 3,207 คน รวมแล้วติดไปรวม 507,605,202 คน เสียชีวิตรวม 6,235,307 คน
5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ เยอรมัน ฝรั่งเศส เกาหลีใต้ อิตาลี และออสเตรเลีย เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 7 ใน 10 อันดับแรก และ 14 ใน 20 อันดับแรกของโลก
จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 79.99 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 78.2 การติดเชื้อใหม่ในทวีปเอเชียนั้นคิดเป็นร้อยละ 24.23 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 17.3
…สถานการณ์ระบาดของไทย เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่ รวม ATK สูงเป็นอันดับ 8 ของโลก และอันดับ 3 ของเอเชีย ในขณะที่จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 9 ของโลก ทั้งนี้จำนวนคนเสียชีวิตของไทยเมื่อวานนั้นคิดเป็น 23.24% ของการเสียชีวิตทั้งหมดที่รายงานของทวีปเอเชีย
…อัปเดตแนวทางการรักษาโรคโควิด-19 ของ WHO ล่าสุด 22 เมษายน 2565 มีการอัพเดตแนวทางการรักษาโควิด-19 เป็นการทบทวนครั้งที่ 10 โดยอิงหลักฐานวิชาการแพทย์จากงานวิจัยต่างๆ ที่ได้รับการยอมรับ
สาระสำคัญคือ การแนะนำอย่างมั่นใจ (strong recommendation) ให้ใช้ Paxlovid (Nirmatrelvir/ritonavir) ในผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีความเสี่ยงสูงต่อการป่วยจนต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล ยาอื่นๆ ที่มีคำแนะนำในระดับอ่อนลงมาคือ Molnupiravir, Remdesivir ฯลฯ ดังรูป
จึงเป็นข้อมูลระดับสากลที่ประเทศไทยควรนำมาใช้จัดบริการดูแลรักษาประชาชน ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาหรืออื่นๆ ที่ไม่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ผ่านขั้นตอนการศึกษาวิจัยตามมาตรฐานสากล หรือยังไม่เป็นที่ยอมรับในวงการแพทย์
…สามแรง…ที่อาจมาพร้อมกันหากป้องกันไม่ดีพอ
แรงแรก…จากการระบาดต่อเนื่องจากเดิมทั้งในกลุ่มเสี่ยง คนที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน รวมถึงที่ฉีดแล้วแต่ไม่ป้องกันตัว หนุนเสริมการระบาดมากขึ้นหลังช่วงเทศกาลที่ผ่านมา น่าจะเริ่มส่งผลให้เห็นได้ราวปลายเดือนนี้แต่จะต่อเนื่องไปในพฤษภาคม
แรงที่สอง…จากการติดเชื้อซ้ำในหมู่คนที่เคยติดมาก่อน ทั้งที่ได้หรือไม่ได้วัคซีน แต่ไม่ได้ป้องกันตัว
และแรงที่สาม…จากสายพันธุ์ย่อยใหม่ๆ ที่อาจเข้ามา เช่น BA.4 และ BA.5 ซึ่งมีคุณสมบัติหลบหลีกภูมิคุ้มกันได้เพิ่มขึ้นกว่า BA.2 เดิม และอีกสายพันธุ์ที่น่าจับตาคือ BA.2.12.1
สุดท้ายแล้วที่จะเป็นปัญหาระยะยาวคือ สึนามิจาก Long COVID
ดังนั้นนโยบายและมาตรการระดับชาติจึงไม่ควรผลีผลาม ประชาชนในสังคมก็ควรตระหนักถึงสถานการณ์จริงว่าไม่ปลอดภัย ควรป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอ ไม่ติดเชื้อย่อมดีที่สุด…
อ้างอิง A living WHO guideline on drugs for covid-19. BMJ. 22 April 2022.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอยง' ชี้สถานการณ์โควิดเปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่ไวรัสยังอยู่ต่อไป
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า 5 ปี โควิด 19 กาลเวลาเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน
ไทยติดโควิดใหม่รอบสัปดาห์ 549 ราย ดับเพิ่ม 1 คน
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 27 ตุลาคม - 2 พฤศจิกายน 2567
โควิดกลับมาระบาดใหม่ ‘หมอมนูญ’ ขออย่าตื่นตระหนก รักษาตามอาการหายได้
เวลาผ่านไปโรคโควิดลดความรุนแรงลง โรคโควิดไม่น่ากลัวหมือนเมื่อ 3-4 ปีก่อน คนไทยไม่ต้องตื่นตระหนกตกใจกลัวโรคโควิดมากเกินไป
'อดีตปธ.กมธ.คมนาคม' บี้ถอดบทเรียนบัสมรณะ เร่งสร้างจิตสำนึกคนขับ-เข้มใช้กม.
'อดีตปธ.กมธ.คมนาคม' ชี้รายงานWHO ไทยครองอันดับ 1 อาเซียน เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน และอันดับ 9 ของโลก สาเหตุหลักคนขับรถประมาท แนะรัฐบาลถอดบทเรียนโศกนาฏกรรมบัสมรณะ