21เม.ย.65 – ศูนย์จีโนมมิกส์ทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics ว่า จากงานวิจัยล่าสุดบ่งชี้ว่าการฉีดวัคซีน mRNA ครบโดส 2 เข็ม ตามด้วยเข็มกระตุ้นเป็นเข็มที่ 3 จะช่วยให้เมื่อเกิดการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์ใหม่ที่ระบาดในอนาคต เม็ดเลือดขาวประเภท “บีเซลล์ความจำ” ซึ่งเดิมสร้างเฉพาะแอนติบอดีที่มีความจำเพาะต่อ(วัคซีน) ส่วนหนามที่ฉีดเข้าไปกระตุ้นภูมิเท่านั้น จะสามารถเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วและ “ปรับตัวเอง (refocus & remodel) ”ให้สามารถสร้างแอนติบอดีที่หลากหลาย (various epitopes) เข้าจับและทำลายไวรัสโคโรนา 2019 ที่เข้ามารุกรานได้ทุกสายพันธุ์ที่เคยระบาดมาในอดีตจนถึงสายพันธุ์ที่กำลังระบาดในปัจจุบัน (cross variant neutralization) ไม่จำเพาะต่อโอไมครอนเท่านั้น และอาจมีความเป็นไปได้ที่แอนติบอดีในร่างกายผู้นั้นอาจจะยับยั้งสายพันธุ์ที่จะระบาดในอนาคตได้ด้วย (https://www.facebook.com/CMGrama/posts/pfbid02Vw46eDAdNPUQngReHxGVWdwNbx7xsSXszg82d83EqE3q5FMZq4KkZJpdWwn9p7aDl
งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งที่ยืนยันว่าผู้ที่ไม่เคยรับวัคซีนใดๆมาก่อนแต่ติดเชื้อโอไมครอน หลังจากหายแล้วร่างกายจะพัฒนาสร้างแอนติบอดีที่มีความจำเพาะต่อโอไมครอนเท่านั้น ไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์อื่นได้ มีความสุ่มเสี่ยงที่จะติดเชื้อซ้ำด้วยไวรัสโคโรนาสายพันธุ์อื่น
สรุปว่าการฉีดวัคซีนครบโดสบวกวัคซีนเข็มกระตุ้นมีความจำเป็นมาก เพราะจะไปกระตุ้นบีเซลล์ได้รู้จักไวรัสโคโรนา 2019 ไว้ก่อนเมื่อมีการติดเชื้อซ้ำ จะป่วยน้อย ตายน้อย ลดการเป็นลองโควิด และหลังจากหายจากโรคโควิด-19 บีเซลล์ในร่างกายจะ“ปรับตัวเอง (refocus & remodel) ” ให้สามารถสร้างแอนติบอดีต่อทุกสายพันธุ์ที่เคยระบาดมาในอดีตจนถึงสายพันธุ์ที่กำลังระบาดในปัจจุบัน (cross variant neutralization) กล่าวคือสามารถป้องกันการติดเชื้อจากสายพันธุ์ อู่ฮั่น อัลฟา เบตา เดลตา โอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.1 โอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 รวมไปถึงไวรัส SARS-CoV-1 และอาจมีความเป็นไปได้ที่จะยับยั้งสายพันธุ์ที่จะเกิดระบาดขึ้นในอนาคต (รอการทดสอบ)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์จีโนมฯถอดบทเรียนปี 2567 ระบุโรคอุบัติใหม่ระบาดเกิดแน่แต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ ศูนย์สนับสนุนพันธกิจ
รัฐบาลเตือนเช็กอาการ 6 โรคหลังไปเที่ยวปีใหม่
รองโฆษกรัฐบาลขอ ปชช.เดินทางท่องเที่ยว ปลอดภัย ไร้โรค ไร้ภัย แนะหมั่นสังเกตอาการ หลังเดินทางกลับ หากมีอาการผิดปกติ รีบพบแพทย์
โควิดรายสัปดาห์ ป่วยนอนโรงพยาบาล 557 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต
ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 1 - 7 ธันวาคม 2567 ผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์)
'หมอยง' ช้ำถูกวิกิพีเดียใส่ข้อมูลเท็จซ้ำเข้าไปแก้ไขไม่ได้
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา
‘หมอยง’ สะท้อนความรู้สึกโควิด-19 ปีที่ 2 'ยุ่งเหยิง-ดราม่าวัคซีน-เซียนคีย์บอร์ด'
หลังการระบาดใหญ่ทั่วโลก ในปีแรก ทุกคนมุ่งหวัง ที่จะยุติการระบาดด้วยวัคซีน จึงมีการผลิตคิดค้นวัคซีนกันมากมาย มากกว่า 10 platform
'หมอยง' หวนระลึกโควิด19 ปีที่สองของการระบาด!
ศ.นพ.ยง ภู่รวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์