“หมอธีระ” เผยมุมมองนักวิชาการ ชี้ 1 ปีต่อจากนี้จะเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สมดุลแต่ละประเทศ และเป็นจุดท้าท้ายว่าจะเป็นแดนดงโรคหรือไม่หรือไม่ รวมถึงไทยด้วย
27 ต.ค.2564 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงเรื่องโควิด-19 ว่าเมื่อวานทั่วโลกติดเชื้อเพิ่ม 412,162 คน ตายเพิ่ม 7,234 คน รวมแล้วติดไปรวม 245,244,629 คน เสียชีวิตรวม 4,977,950 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ อเมริกา สหราชอาณาจักร รัสเซีย ตุรกี และเยอรมนี
จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ซึ่งรวมกันคิดเป็นร้อยละ 94.18 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 92.28
...สำหรับสถานการณ์ไทยเรา เมื่อวานติดเชื้อเพิ่ม 7,706 คน สูงเป็นอันดับ 12 ของโลก หากรวม ATK อีก 2,304 คน จะขึ้นเป็นอันดับ 10 ของโลก และไม่ว่าจะเป็นแค่ยอดที่รายงานทางการ หรือจะรวม ATK ก็ยังคงเป็นอันดับ 1 ของอาเซียนอย่างต่อเนื่อง
...วัคซีน Pfizer/Biontech ในเด็กอายุ 5-11 ปี ล่าสุด VRBPAC ซึ่งเป็นคณะที่ปรึกษาวิชาการของ US FDA ได้มีมติสนับสนุนให้สามารถใช้วัคซีน Pfizer/Biontech แบบ low dose ในเด็กช่วงอายุ 5-11 ปี ดังรายละเอียดข้อมูลวิชาการที่เล่าให้ฟังไปแล้วเมื่อวานนี้ อย่างไรก็ตาม คำแนะนำของ VRBPAC จะได้รับการนำส่งไปให้ US FDA พิจารณาเพื่อตัดสินใจในอีกไม่กี่วันนี้
...หนึ่งปีถัดจากนี้ มีมุมมองเชิงวิชาการจากหลายที่ที่มีความเห็นคล้ายคลึงกันว่าจะเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ภาวะสมดุลของแต่ละประเทศ สมดุลดังกล่าวไม่ได้เหมือนกันในแต่ละที่ ขยายความให้เข้าใจว่า ภายใต้สภาวะปัจจุบันที่มีวัคซีนที่มากขึ้น ความรู้มากขึ้น การจัดการโรคจะเป็นไปได้ดีขึ้น การระบาดจะมีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตาม การวางแผนนโยบายและมาตรการของแต่ละประเทศที่มีความแตกต่างกันมากนั้นส่งผลให้ผลลัพธ์ในการควบคุมการระบาดออกมาแตกต่างกัน ทำให้เห็นชัดเจนขึ้นว่าจะมีกลุ่มประเทศส่วนใหญ่ที่คุมได้ดี จำนวนการติดเชื้อไม่มากในแต่ละวัน มักระดับหลักหน่วยไปถึงหลักพัน และมีกลุ่มประเทศที่มีจำนวนการติดเชื้อระดับสูง ระดับหลักหลักหมื่นถึงแสน
ซึ่งจำนวนติดเชื้อพื้นฐานนี้เองที่จะเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อลักษณะสมดุลของแต่ละประเทศที่จะเกิดขึ้น ว่าจะเป็นแดนดงโรค คือเป็นพื้นที่ที่รับรู้กันทั่วไปว่าหากเดินทางเข้าไปแล้วจะมีโอกาสติดโรคมาก ในลักษณะทั้งประเทศ หรือเฉพาะบางพื้นที่ในประเทศ และครอบคลุมพื้นที่มากเพียงใด
ทั้งนี้ปัจจัยที่มีอิทธิพลในการกำหนดผลลัพธ์ว่าอยู่ในวิสัยที่จัดการได้ เพิ่มความมั่นใจในการใช้ชีวิต สวัสดิภาพและความปลอดภัยในชีวิต คือเรื่องวัคซีน หากมีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงและเป็นที่ยอมรับ ย่อมทำให้กระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ภาวะสมดุลนั้นราบรื่น และช่วงเวลาในการเปลี่ยนผ่านไม่นาน ถือว่าท้าทายทีเดียวสำหรับทุกประเทศ รวมถึงประเทศไทย เป็นกำลังใจให้ทุกคน ด้วยรักและห่วงใย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เปิดพิกัดเที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืนในจุฬาฯ
ปีนี้งาน Night Museum at Chula เที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดภายใต้แนวคิด “เสน่ห์ Science” ชูเสน่ห์ของวิทยาศาสตร์ที่อยู่ในธรรมชาติรอบตัวเรา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันและเป็นแรงขับเคลื่อนทุกย่างก้าวของคนในปัจจุบัน
โควิดรายสัปดาห์ ป่วยนอนโรงพยาบาล 557 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต
ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 1 - 7 ธันวาคม 2567 ผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์)
'หมอยง' ช้ำถูกวิกิพีเดียใส่ข้อมูลเท็จซ้ำเข้าไปแก้ไขไม่ได้
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา