หมอธีระ ชี้ 'โอมิครอน' ไม่กระจอกทำคนไทยเสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 3 ของโลก

19 เมษายน 2565 – รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ทะลุ 505 ล้านคนไปแล้ว

เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 309,097 คน ตายเพิ่ม 1,220 คน รวมแล้วติดไปรวม 505,019,710 คน เสียชีวิตรวม 6,224,361 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 15 ใน 20 อันดับแรกของโลก

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 74.59 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 81.63

การติดเชื้อใหม่ในทวีปเอเชียนั้นคิดเป็นร้อยละ 47.52 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 40.16

…สถานการณ์ระบาดของไทย

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่ รวม ATK สูงเป็นอันดับ 4 ของโลก และอันดับ 3 ของเอเชีย

ในขณะที่จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 3 ของโลก

ทั้งนี้จำนวนคนเสียชีวิตของไทยเมื่อวานนั้นคิดเป็น 25.3% ของการเสียชีวิตทั้งหมดที่รายงานของทวีปเอเชีย

…การเสียชีวิตของคนไทย

จะพบว่าในช่วงนี้จำนวนการเสียชีวิตรายวันจากโควิด-19 ของไทยติดอันดับต้นๆ ของโลกมาตลอด

การติดตามสถานการณ์นั้น ตัวเลขรายงานทางการจากโควิด-19 เป็นเพียงข้อมูลประกอบส่วนหนึ่งในการประเมินสถานการณ์
แต่ยังควรดูข้อมูลอื่นประกอบด้วยเพราะทั่วโลกพบว่ามักมีปัญหาเรื่องจำนวนที่รายงานทางการในระบบนั้นต่ำกว่าสถานการณ์จริงด้วยข้อจำกัดต่างๆ

ลองเปรียบเทียบดู อัตราการเสียชีวิตส่วนเกินของแต่ละปีจากทุกสาเหตุในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 ที่ผ่านมาจะพบว่า ตั้งแต่ระลอกที่สอง (สายพันธุ์ D614G ช่วงปลายปี 2563 ถึงไตรมาสแรกของ 2564) ระลอกที่สาม (สายพันธุ์อัลฟ่าและเดลต้า ตั้งแต่เมษายนจนถึงราวพฤศจิกายน 2564) และระลอกที่สี่ (สายพันธุ์ Omicron BA.1, BA.2 ตั้งแต่ต้นปี 2565 จนถึงปัจจุบัน) ไทยเรามีอัตราการเสียชีวิตส่วนเกินเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าการระบาด (excess mortality rate) ในระดับสูงกว่าหลายต่อหลายประเทศทั่วโลก

ทั้งนี้หากดูจำนวนการเสียชีวิตส่วนเกิน (excess mortality) เฉพาะของประเทศไทย เปรียบเทียบในแต่ละเดือนของแต่ละปี ก็ยังพบว่าสถานการณ์ดูจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ปี 2021 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน โดยในไตรมาสแรกของปี 2022 นี้ ทุกเดือนที่ผ่านมามีจำนวนการเสียชีวิตส่วนเกินสูงกว่าทุกปีที่ผ่านมา

ข้อมูลข้างต้นย้ำเตือนให้เราเห็นว่า Omicron นั้นไม่ใช่หวัดธรรมดา และไม่กระจอก แม้จะมีความรุนแรงของโรคน้อยกว่าสายพันธุ์เดลต้าในระลอกสามของปีที่แล้ว แต่การแพร่ระบาดของ Omicron ที่รวดเร็วกว่าเดลต้าอย่างมากนั้นทำให้สุดท้ายแล้วมีจำนวนคนติดเชื้อมากกว่าเดลต้า และทำให้ป่วยและเสียชีวิตจำนวนมากได้เช่นกัน ดังที่เราเห็นในปัจจุบัน

“จะผลักเป็นโรคประจำถิ่นโดยเร็ว จะผลักให้ใช้ชีวิตตามปกติในอดีต หรือจะตีฆ้องร้องป่าว ประชาสัมพันธ์ให้คนมองไวรัสนี้ว่ากระจอก”…เหล่านี้ หากหลงเชื่่อ ก็เหมือนเดินไปตกเหวตายครับ

เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ…ทำในสิ่งที่ควรทำ และใช้ความรู้ที่ถูกต้องนำทางการตัดสินใจ

โควิด…ติด…ไม่ใช่แค่คุณ

โควิด…ไม่ได้จบแค่หายกับตาย แต่ Long COVID จะเป็นปัญหาระยะยาวทั้งสำหรับตัวผู้ป่วย ครอบครัว และประเทศ

ไม่ติดเชื้อย่อมดีที่สุด

ใส่หน้ากากเสมอนะครับ นี่คือหัวใจสำคัญที่สุด เลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง กิจกรรมเสี่ยง และสถานที่เสี่ยง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'อุ้ม พรรษวุฒิ' ลูกชาย 'สมบัติ เมทะนี' เสียชีวิต

หลังต่อสู้กับโรคมะเร็งมานาน อดีตนักร้องนักแสดง ที่เคยมีผลงานภาพยนตร์ กาเหว่าที่บางเพลง และเคยออกอัลบั้มเพลงกับค่ายสโตน อุ้ม-พรรษวุฒิ เมทะนี น้องชายของนักแสดง อั๋น-สิรคุปต์ เมทะนี ทายาทของพระเอกตลอดกาล แอ๊ด-สมบัติ เมทะนี ได้จากไปอย่างสงบด้วยโรคมะเร็ง

แฟนคลับเศร้า 'แม่บ้านมีหนวด' เสียชีวิต ในวัย 34 ปี

อินฟลูเอนเซอร์ชื่อดัง แม่บ้านมีหนวด หรือ บิว-อิษณัฐ ชลมูณี ได้เสียชีวิตแล้ว ด้วยวัย 34 ปี โดยผู้ใช้เฟซบุ๊ก อนุชิต คำน้อย หรือนักเขียนเจ้าของนามปากกา คิ้วต่ำ ได้เป็นคนที่ออกมาโพสต์แจ้งข่าวเศร้าในครั้งนี้

สิ้นศิลปินอาวุโส 'บรรเจิดศรี ยมาภัย' จากไปในวัย 100 ปี

วงการบันเทิงเศร้าสูญเสียนักแสดงอาวุโส บรรเจิดศรี ยมาภัย ผู้ที่คร่ำหวอดในวงการบันเทิงมานานกว่า 50 ปี มีผลงานละครดังมากมาย อาทิ นางทาส, ดาวพระศุกร์, เกิดแต่ตม, สายโลหิต, บุพเพสันนิวาส ฯลฯ ได้เสียชีวิตอย่างสงบ เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2567 เวลา 21:11 น. สิริอายุ 100 ปี