"สธ." เผยผู้ติดเชื้อลดลง ยังไม่ถึงหลักแสน แต่ผู้ป่วยอาการหนักเพิ่มขึ้น วอนเข้ารับเข็มกระตุ้น ชี้ถ้าสถานการณ์ยังคงเดิม คาดปรับโรคประจำถิ่น 1 ก.ค.
18 เม.ย.2565 - ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค แถลงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ว่าขณะนี้ทั่วโลกผู้ติดเชื้อลดลง เช่นเดียวกับประเทศไทยซึ่งสถานการณ์ติดเชื้อลดลง แต่จำนวนผู้เสียชีวิตยังเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับผู้ป่วยปอดอักเสบ 2,123 คน เพิ่ม 44 คน โคม่าต้องใส่ท่อช่วยหายใจ 939 คน เพิ่มขึ้น 28 คน แต่หากเปรียบเทียบกับระลอกเดลต้า (อินเดีย) เราเคยมีผู้ป่วยต้องใส่ท่อช่วยหายใจมากถึง 1,400 คน ปอดอักเสบมากถึง 5,000 คน สถานการณ์ยังน้อยกว่าระลอกเดลต้า
นพ.จักรรัฐ กล่าวว่า สำหรับผู้ป่วยอาการหนักยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากจำนวนผู้ติดเชื้อที่พุ่งสูงก่อนสงกรานต์ อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามหลังเทศกาลสงกรานต์ 2-4 สัปดาห์ ว่าการจัดกิจกรรมรวมกลุ่มต่างๆ จะทำให้มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นหรือไม่ รวมถึงติดตามรายงานการติดเชื้อเป็นคลัสเตอร์ ซึ่งเริ่มมีรายงานแต่ยังพบคลัสเตอร์ขนาดเล็ก ส่วนใหญ่ติดเชื้อในครอบครัว ติดเชื้อจากที่ทำงาน ดังนั้นจากฉากทัศน์ที่ระบุว่า วันที่ 19 เม.ย.65 อาจมีติดเชื้อสูงสุดถึงหลักแสนคน แต่จนถึงขณะนี้ PCR+ATK ยังไม่ถึงหลักแสน ที่สำคัญก่อนสงกรานต์ผู้ติดเชื้อก็เริ่มลดลง อย่างไรก็ตามกระทรวงสาธารณสุขยังคงเตือนภัยระดับ 4 ทุกจังหวัด
สำหรับผู้เสียชีวิต 124 คน พบว่ามีอาการปอดอักเสบรุนแรง 119 คน โดยพบว่าผู้เสียชีวิตมีโรคประจำตัวเรื้อรัง 117 คน ได้รับยาฟาวิพิราเวียร์ 80 คน ยาเรมเดซิเวียร์ 26 คน เมื่อตรวจสอบประวัติการฉีดวัคซีน พบว่า ไม่ได้ฉีดวัคซีน 68 คน ฉีดไม่ครบ 8 คน ฉีด 2 เข็ม นานเกิน 3 เดือน 33 คน ฉีด 2 เข็ม ไม่เกิน 3 เดือน 7 คน และฉีดวัคซีน 3 เข็ม 8 คน ดังนั้นกลุ่มที่ยังไม่ฉีดวัคซีนหรือฉีดไม่ครบ จึงมีความเสี่ยงเสียชีวิตสูง เนื่องจากวัคซีนเข็ม 3 ลดการเสียชีวิตได้ 31 เท่า โดยเฉพาะผู้ที่อายุเกิน 70 ปีขึ้นไป ซึ่งในสัปดาห์ที่ 15 ของปีนี้ เสียชีวิตแล้ว 501 คน ส่วนเด็กวัยเรียน 5-11 ขวบ ฉีดวัคซีนไปแล้วครึ่งหนึ่ง ขอให้ทุกกลุ่มวัยเข้ารับวัคซีน รวมถึงวัคซีนเข็มกระตุ้น แม้ว่าการติดเชื้ออาจมีอาการน้อย แต่อาจเกิดภาวะลองโควิดได้
นพ.จักรรัฐ กล่าวถึงหลังสงกรานต์ 2-4 สัปดาห์ จึงขอความร่วมมือปฏิบัติตามมาตรการหลักก่อนเข้าทำงาน ได้แก่ สังเกตอาการตนเอง 5-7 วัน หากสงสัยให้ตรวจ ATK หลีกเสี่ยงพบปะคนจำนวนมาก ไม่กินข้าวร่วมกัน หากจำเป็นให้สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา และ WFH ตามความเหมาะสม
นพ.จักรรัฐ กล่าวอีกว่า ส่วนการเข้าสู่โรคประจำถิ่นเกณฑ์สำคัญคืออัตราการครองเตียง ระบบสาธารณสุขรองรับได้อย่างไร สำหรับโอมิครอนผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ไม่มีอาการ หรืออาการค่อนข้างน้อย ถ้าไม่มีสายพันธุ์ใหม่เข้ามา คนวัยทำงาน หรือคนวัยเรียน ติดเชื้ออาการไม่มาก จำนวนผู้ติดเชื้อจึงมีผลน้อยต่อการปรับเป็นโรคประจำถิ่น ถ้าเป็นไปตามการคาดการณ์ เราจะเข้าสู่โรคประจำถิ่นได้ตามที่คาดหมายเดิม คือวันที่ 1 ก.ค.65
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โควิดพุ่ง! ติดเชื้อใหม่รอบสัปดาห์ 3,039 ราย ดับ 1 คน 'เชียงใหม่' ป่วยสูงสุด
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 22 - 28 ธันวาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่
ไข้หวัดนกโผล่ อเมริกันติดเชื้อ ป่วยขั้นรุนแรง
กรมควบคุมโรคเผย ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐรายงานผู้ติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนก สายพันธุ์ H5N1 ที่รัฐลุยเซียนา
กรมควบคุมโรค เผย ชาวอเมริกันติดไวรัสไข้หวัดนกจากฝูงนกหลังบ้านเป็นรายแรก หนัก!นอนICU
กรมควบคุมโรค เผยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐฯ หรือ Centers for Disease Control and Prevention (CDC) รายงาน ผู้ติดเชื้อไวรั
'หมอธีระวัฒน์' ยกตัวอย่างคนป่วยวัคซีนโควิด รายแล้วรายเล่า ถ้านิ่งเฉยไม่ควรเป็นแพทย์หรือมนุษย์
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า ตัวอย่างของคนป่วย รายแล้วรายเล่า ไม่จบไม่สิ้นนำมาแสดงบางราย ทั้งนี้เป็นที่หมอดูเองและร่วมดูทั้งสิ้น
'หมอยง' ชี้สถานการณ์โควิดเปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่ไวรัสยังอยู่ต่อไป
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า 5 ปี โควิด 19 กาลเวลาเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน