จับตาตัวเลขโควิดหลังสงกรานต์ 2 สัปดาห์ จ่อชง ศบค. คลายเพิ่ม

18 เม.ย. 2565 – ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ถึงการเตรียมรับมือสถานการณ์โควิด-19 หลังหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ว่า ตอนนี้เน้นเรื่องเวชภัณฑ์ สถานพยาบาลให้มีความพร้อมอย่างเต็มที่ เราจะให้การดูแลผู้ป่วยที่จะเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาล โดยต้องเป็นผู้ป่วยที่มีอาการและเป็นผู้ป่วย 608 และผู้สูงอายุเป็นพิเศษ สำหรับผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการก็รักษาตามแบบฉบับที่ได้ดูแลกันมาโดยตลอด ทั้ง HI เข้ารับรักษาที่โรงพยาบาล หากไม่มีอาการใดก็ไม่จำเป็นที่จะต้องกินยาฆ่าไวรัส โควิด-19

ผู้สื่อข่าวถามว่า ยืนยันหรือไม่ว่ายาฟาวิพิราเวียร์ยังมีปริมาณเพียงพอ นายอนุทิน กล่าวว่า มีเพียงพอ ตนพูดเสมอว่าเวชภัณฑ์ไม่ใช่สิ่งที่น่าเป็นห่วง รักษาตามอาการ พยายามรักษาไปตามความรุนแรงของโรค ต้องปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ซึ่งทางบุคลากรทางการแพทย์และแพทย์มีความพร้อม คณะที่ปรึกษาโควิด-19 ของกระทรวงสาธารณสุข ยังได้ให้ความเห็นว่าควรจะเสนอผ่อนคลายมาตรการ ไม่ทำอะไรที่เข้มเกินไป มากเกินไป แต่ต้องผ่านคณะกรรมการทางวิชาการก่อน ยืนยันว่าแพทย์มีความพร้อม

เมื่อถามถึงกรณีการจัดงานเทศกาลสงกรานต์ที่ถนนข้าวสาร นายอนุทิน กล่าวว่า รัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุขได้เตือนไปหมดแล้ว และแต่ละจังหวัดก็ต้องมีความรับผิดชอบโดยผู้ว่าราชการจังหวัดในเรื่องการปฏิบัติตนว่าจะทำหรือไม่ทำ ซึ่งทางคณะแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุขได้ออกมาตรการทั้งกรมควบคุมโรค กรมอนามัย

นายอนุทิน กล่าวว่า สำหรับมาตรการที่กระทรวงสาธารณสุขเตรียมเสนอที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ชุดใหญ่ในวันศุกร์ที่ 22 เมษายนนี้นั้น คือต้องผ่อนคลาย เพื่อให้ทุกบริบทเดินไปได้ ทั้งเศรษฐกิจ การทำมาหากินและความสะดวกของประชาชน โดยต้องไม่กระทบต่อความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการติดเชื้อ

ส่วนกรณีกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเตรียมเสนอคนเดินทางเข้าประเทศไม่ต้องตรวจ RT-PCR แต่เปลี่ยนเป็น ATK นั้นนายอนุทิน กล่าวว่า นั่นเป็นสิ่งที่จะต้องทำในวันหนึ่ง เรามีความเกรงว่าประชาชนจะตื่นตระหนก จึงอยากให้ผ่านช่วงเทศกาลสงกรานต์ไปก่อน เมื่อผ่านไปแล้วสถานการณ์ไม่มีอะไรที่เกินขีดความสามารถ หรือเกินความคาดหวังคาดคิดของเรา เราต้องหามาตรการผ่อนคลายให้ได้มากยิ่งขึ้น อยากให้ทุกอย่างกลับมาคืนสู่ปกติให้เร็วที่สุด

เมื่อถามถึงแผนที่จะให้โรคโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น ในวันที่ 1 กรกฎาคม ซึ่งเมื่อดูจากตัวเลขปัจจุบันแล้วส่งผลกระทบต่อแผนดังกล่าวหรือไม่ รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า ตัวเลขปัจจุบันเราดูแล้วไม่มีอะไรแตกต่างกันไป ที่ผ่านมา 3-4 เดือน อัตราส่วนต่างๆ เป็นไปตามหลักสากล และยังไม่มีใครประกาศว่าวันที่ 1 กรกฎาคมจะเป็นโรคประจำถิ่น เราวางแผนไว้ว่าทำได้เร็วก็จะทำให้เร็วตามความจำเป็น ของพวกนี้กะเกณฑ์ไม่ได้ แต่ขอไปอย่างหนึ่งว่าขอให้เรามีความพร้อมในทุกๆ ด้าน นี่คือสิ่งที่สำคัญที่สุด เมื่อมีความพร้อมก็จะประกาศให้เป็นหลัก ส่วนแต่ละจังหวัดก็ต้องมีการกำหนดเกณฑ์ขึ้นมาว่าติดเชื้ออย่างไร ตายอย่างไร เวชภัณฑ์เป็นอย่างไร รับการฉีดวัคซีนแล้วกี่เปอร์เซ็นต์ โดยเราจะพยายามอย่างดีที่สุด

ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมาบุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุขไม่ได้กลับบ้าน กลับไม่ได้ เพราะต้องคอยดูแล ซึ่งอธิบดีกรมควบคุมโรครายงานว่า เรื่องของอุบัติเหตุก็ดีกว่าปีก่อน ไม่มีอะไรที่เกินขีดความสามารถของการให้บริการรักษาพยาบาล ต้องขอขอบคุณประชาชนที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ส่วนเรื่องการติดเชื้อโควิด-19 นั้นเป็นธรรมดา เนื่องจากการสัญจรไปมา คนหมู่มาก มีความใกล้ชิดกันมาก ก็เสี่ยงที่จะติดเชื้อได้เพิ่มมากขึ้น แต่หากฉีดวัคซีนแล้วเมื่อเป็นโอมิครอนก็ไม่น่าจะมีผลกระทบเกินความสามารถการสาธารณสุขไทย อย่างไรก็ตามต้องดูหลังจากนี้ 2 สัปดาห์จึงจะวางใจได้.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'อนุทิน' แจงเหตุส่ง 'ว่าที่ปลัดมท.' ไปเชียงราย ตั้ง 'โชตินรินทร์' รักษาการผู้ว่าฯ

'อนุทิน' แจงเหตุ ส่ง 'อรรษิษฐ์' ว่าที่ปลัดมท.คนใหม่ ลงพื้นที่เชียงราย กำกับดูแลเรื่องเยียวยาน้ำท่วม พร้อมตั้ง 'โชตินรินทร์' รักษาการพ่อเมืองเชียงราย ปชช.เดือดร้อนปล่อยขาดช่วงไม่ได้

โอนเงินล็อตแรก! เยียวยาน้ำท่วมเชียงราย 3.6 พันครัวเรือน

ประเดิมโอนเงินเยียวยาผู้ประสบภัยเชียงราย 3,623 ครัวเรือน 'อนุทิน' กำชับ มท. ยึดข้อสั่งการนายกฯ อำนวยความสะดวกให้เงินถึงมือเร็วที่สุด

เคาะ 6 ข้อเสนอ แผน 'สุขภาพจิตชุมชน' พร้อมดันสู่วาระชาติ

นายชาญชัย ทองสัมฤทธิ์ ผู้อำนวยสถาบันพัฒนาศักยภาพเพื่อความเท่าเทียมทางสังคม มูลนิธิบุญยง-อรรณพ นิโครธานนท์ ตัวแทนแกนนำขับเคลื่อนโครงการพัฒนาความร่วมมือ

‘หมอธีระวัฒน์’ ยกรายงานญี่ปุ่น ประเมินผลวัคซีนโควิดกับการเกิดมะเร็ง

วัคซีนนั้นทำให้ระบบการตรวจตราเฝ้าระวังและป้องกันการเกิดมะเร็งนั้นถดถอยลงโดยเฉพาะในระบบ ที่เรียกว่า innate immunity และความบกพร่องห่วงโซ่ ในระบบภูมิคุ้มกัน

ศูนย์จีโนมฯ จับตาโอมิครอน KP.2.3/XEC ลูกผสมพันธุ์ใหม่ แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โอมิครอน KP.2.3/XEC : ลูกผสมสายพันธุ์ใหม่แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า

'ปานเทพ' ให้ความเห็น 6 ข้อต่อร่าง พ.ร.บ.กัญชา จี้รัฐบาลกำหนดเป็นนโยบายเร่งด่วน

นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์เฟซบุ๊ก เรื่อง บันทึกความเห็นต่อ ร่าง พ.ร.บ.กัญชา กัญชง ของกระทรวงสาธารณสุข มีเนื้่อหาดังนี้