17 เม.ย.2565-ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana ระบุว่า งานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ออกมาจากทีมวิจัยจากประเทศจีนระบุว่าไวรัส SARS-CoV-2 สามารถติดเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T cell ได้ และ เซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสจะถูกเหนี่ยวนำให้ทำลายตัวเอง และ ตายไปในที่สุด ซึ่งอาจเป็นกลไกที่อธิบายว่าเหตุใดในผู้ป่วยโควิดอาการหนักหลายรายมีปริมาณของเม็ดเลือดขาวที่ลดลง (Lymphopenia) งานวิจัยนี้ได้แสดงผลการทดลองที่ค่อนข้างชัดว่า ไวรัสสามารถติดเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T cell ได้ โดยเฉพาะเม็ดเลือดขาวที่อยู่สภาวะที่ถูกกระตุ้นพร้อมแบ่งตัว (activated T cell) โดยกลไกการเข้าสู่เซลล์จะแตกต่างจากเซลล์ปกติทั่วไป เพราะไวรัสไม่ได้ใช้โปรตีน ACE2 เป็นโปรตีนตัวรับ แต่ดูเหมือนจะใช้โปรตีนตัวอื่นชื่อว่า LFA-1 แทน ซึ่งงานวิจัยนี้ยังไม่ได้ลงรายละเอียดว่าไวรัสใช้สไปค์จับกับโปรตีนตัวนี้โดยตรง หรือ อาศัยกลไกอื่นที่ไม่ได้ใช้โปรตีนหนามสไปค์โดยตรงหรือไม่
ประเด็นสำคัญที่อาจจะต้องมีความชัดเจนคือความเหมือน และ ความแตกต่างระหว่างไวรัส HIV กับ ไวรัส SARS-CoV-2 คือ จากข้อมูลในการศึกษานี้ไวรัส SARS-CoV-2 สามารถติดเข้าเซลล์ CD4 T cell ได้ทั้งคู่ แต่ความแตกต่างคือ SARS-CoV-2 ติดแล้วทำให้เซลล์ตายค่อนข้างไว และ ข้อมูลดูเหมือนว่าจะได้ไวรัสตัวใหม่ออกมาจากเซลล์ที่ติดไปน้อยมาก ซึ่งอาจจะเป็นได้ว่า T cell ไม่ใช่โฮสต์ที่เหมาะสมเหมือนเซลล์ในระบบทางเดินหายใจ หรือ เซลล์ปอด ที่สามารถได้อนุภาคไวรัสใหม่ออกมาเป็นจำนวนมาก แต่สำหรับ HIV จะใช้ CD4 T cell เป็นโรงงานหลักสำหรับผลิตไวรัส และ สามารถเพิ่มจำนวนโรงงานนั้นได้ไม่รู้จบ เพราะไวรัสสามารถนำสารพันธุกรรมไปแทรกรวมกับ DNA ของโฮสต์ เมื่อเซลล์แบ่งตัวเพิ่มสารพันธุกรรมของไวรัสที่แทรกรวมอยู่ด้วยนั้นก็ติดไปด้วย กลายเป็นโรงงานสร้างไวรัสไปตลอด ซึ่งแทบจะไม่มีทางนำ HIV ออกจากร่างกายผู้ป่วยได้เลย เนื่องจาก SARS-CoV-2 ติดแล้ว ทำให้โฮสต์ (T cell) ตาย ไม่แบ่งตัวต่อ และ สาย RNA ของไวรัสไม่ได้ไปแทรกรวมกับ DNA ของเซลล์ ความกังวลที่ SARS-CoV-2 จะก่อให้เกิดภูมิคุ้มกันบกพร่อง (AIDS) เหมือน HIV จึงเป็นไปไม่ได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ข่าวร้าย! ดร.อนันต์เผยโมเดอร์นาต้องระงับการพัฒนาวัคซีนป้องกันเชื้อ RSV ในเด็กเล็ก
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ
'หมอยง' ชี้สถานการณ์โควิดเปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่ไวรัสยังอยู่ต่อไป
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า 5 ปี โควิด 19 กาลเวลาเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน
ข่าวดี! ดร.อนันต์เผยงานวิจัยฝรั่งค้นพบกลไกสำคัญของโยโย่เอฟเฟกต์
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ
ไทยติดโควิดใหม่รอบสัปดาห์ 549 ราย ดับเพิ่ม 1 คน
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 27 ตุลาคม - 2 พฤศจิกายน 2567