หมอธีระอัพเดตสถานการณ์โควิด-19 บอกทั่วโลกติดเชื้อทะลุ 500 ล้านคนแล้ว ชี้บทเรียนสงกรานต์ไทยหากป้องกันไม่ดี ปลาย พ.ค.อาจพบผู้ติดเชื้อเพิ่มกว่าช่วงปลาย เม.ย. 2 เท่า
13 เม.ย.2565 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิด-19 ประจำวันที่ 13 เมษายน 2565 ว่าทะลุ 500 ล้านคนไปแล้ว เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 1,001,876 คน ตายเพิ่ม 2,919 คน รวมแล้วติดไปรวม 500,806,429 คน เสียชีวิตรวม 6,208,916 คน
5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ เกาหลีใต้ ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี และออสเตรเลีย
เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 7 ใน 10 อันดับแรก และ 15 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 87.87 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 75.67 การติดเชื้อใหม่ในทวีปเอเชียนั้นคิดเป็นร้อยละ 31.84 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 18.73
...สถานการณ์ระบาดของไทย เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่ รวม ATK สูงเป็นอันดับ 7 ของโลก และอันดับ 3 ของเอเชีย ในขณะที่จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 9 ของโลก ทั้งนี้จำนวนคนเสียชีวิตของไทยเมื่อวานนั้นคิดเป็นสัดส่วนเกือบหนึ่งในห้าของการเสียชีวิตทั้งหมดที่รายงานของทวีปเอเชีย
...อัพเดตจาก WHO ล่าสุดทางองค์การอนามัยโลกเผยแพร่รายงาน WHO Weekly Epidemiological Update วันที่ 12 เมษายน 2565 เมื่อไม่กี่ชั่วโมงก่อน จำนวนติดเชื้อใหม่ทั่วโลกในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ลดลง 24% และจำนวนเสียชีวิตลดลง 18% เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า
ในขณะที่หากดูภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จำนวนติดเชื้อใหม่ลดลง 8% จำนวนเสียชีวิตลดลง 15%
อย่างไรก็ตามหากดูของไทยเราจากข้อมูลของ Worldometer เช้านี้จะพบว่าจำนวนติดเชื้อใหม่ลดลง 7% แม้จะดูน่าดีใจว่าจำนวนติดเชื้อใหม่รายสัปดาห์ลดลง แต่เป็นเพียงตัวเลขรายงานทางการ RT-PCR เท่านั้น โดยหากเรารวมยอด ATK ไปด้วยจะพบว่า จำนวนติดเชื้อใหม่รายสัปดาห์นั้นเพิ่มขึ้น 2.57% โดยที่จำนวนการเสียชีวิตก็ยังเพิ่มขึ้น 7%
...สายพันธุ์ที่ระบาด WHO รายงานว่า Omicron ยังเป็นสายพันธุ์หลักในการระบาดทั่วโลกโดยมีสัดส่วนถึง 99.2% โดยมีสายพันธุ์เดลต้าเหลือน้อยกว่า 0.1% และสายพันธุ์อื่นๆ อีกราว 0.8%
สำหรับ Omicron นั้น สายพันธุ์ย่อยต่างๆ ที่อยู่ในระบบเฝ้าระวังคือ BA.1, BA.2, BA.3, BA.4, BA.5 และรวมถึงสายพันธุ์ผสมต่างๆ เช่น XE (ที่เกิดจากการผสมระหว่าง BA.1 และ BA.2)
โดยที่สายพันธุ์ BA.4 และ BA.5 นั้นมีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมทั้งที่ส่วนหนามและนอกส่วนหนาม โดยบางตำแหน่งเช่น L452R และ F486V อาจส่งผลให้ไวรัสดื้อต่อภูมิคุ้มกันได้มากขึ้น ทั้งนี้ทั้งสองสายพันธุ์ย่อยนี้มีลักษณะการหายไปของตำแหน่ง 69-70 ที่ส่วนหนาม ทำให้เกิด S Gene Target Failure (SGTF) ซึ่งน่าจะสามารถใช้แยกจาก BA.2 ได้จาก RT-PCR
...มองสถานการณ์ไทย บทเรียนจากสงกรานต์และปีใหม่ในช่วงปีที่ผ่านมา หากไม่ป้องกันให้ดี หลังสงกรานต์จะมีจำนวนติดเชื้อเพิ่มขึ้นราว 2-3 เท่า ทั้งนี้ ณ ช่วงปลายพฤษภาคมอาจมีจำนวนติดเชื้อต่อวันสูงกว่าช่วงปลายเมษายนได้มากขึ้นอีก 2 เท่า
ข่าวเช้านี้เห็นการกินดื่มตอนกลางคืนตามร้านอาหารในถนนข้าวสาร และมีการจำหน่ายปืนฉีดน้ำให้นักท่องเที่ยว อาจต้องช่วยกันเตือนให้ระมัดระวังให้ดี ทั้งเรื่องการไม่ใส่หน้ากาก การกินดื่มร่วมกัน รวมถึงการเล่นน้ำ ซึ่งจะมีโอกาสแพร่เชื้อติดเชื้อกันได้ง่าย และจะกระทบต่อการทำงานหรือการประกอบกิจการของร้านค้าต่างๆ ได้
เฉกเช่นเดียวกับแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ในประเทศ รวมถึงการเดินทางกลับภูมิลำเนาเพื่อไปหาครอบครัวและเยี่ยมญาติผู้ใหญ่ของประชาชนในจังหวัดต่างๆ
การใส่หน้ากากสำคัญที่สุด เพราะเป็นปราการด่านสุดท้าย โควิด...ติด...ไม่ใช่แค่คุณ โควิด...ติด...ไม่จบแค่หายหรือเสียชีวิต แต่จะส่งผลให้เกิดปัญหา Long COVID ตามมาในระยะยาว ขอให้มีความสุข และปลอดภัยในวันสงกรานต์ครับ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอยง' เผยสถาการณ์โควิดเปลี่ยนไปมากคำแนะนำก็ต้องเปลี่ยนตาม
ศ.นพ.ยง ภู่รวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก
'หมอยง' บอกไม่ต้องตื่นตะหนกไอกรนคนไทย 50%มีภูมิต้านทาน!
ศ.นพ.ยง ภู่รวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์
จุฬาฯ เดินหน้ายุทธศาสตร์ใหม่ สร้าง Siam Square ให้เป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน รวมพลคนพิการโชว์พลังครั้งใหญ่ที่สุด!
อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำทีม PMCU (สำนักทรัพย์สินจุฬาฯ) และ มูลนิธิ Five for All เปิดงาน Siam Square Walking Street For All ครั้งแรก! บนพื้นที่ใจกลางสยามสแควร์ ให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน ทุกกลุ่ม
เปิดข้อมูล ‘ไวรัสโควิด’ สร้างได้ในห้องทดลอง มีจดสิทธิบัตรตั้งแต่ปี 2018
การสร้างไวรัสใหม่ชนิดนี้จะสามารถครอบคลุมไวรัสที่จะแพร่และเกิดโรคระบาดในมนุษย์ได้ทั้งสิ้น และสามารถที่จะสร้างวัคซีนให้มนุษย์ก่อนได้
'หมอยง' แนะแนวทางแก้ไขหลุดพ้นจากกับดักผลงานวิชาการ
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก