กรมวิทย์ฯ เผยวัคซีนมีผลต่อโอมิครอนสายพันธุ์ BA.2 ดีกว่า BA.1 แต่ 2 เข็มไม่พอต้องฉีดเข็มกระตุ้นอีก

11 เม.ย.65-ที่ศูนย์แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พร้อมด้วย นพ.บัลลังก์ อุปพงษ์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และดร.สุภาพร ภูมิอมร ผู้อำนวยการสถาบันชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงข่าวเรื่องภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโควิด 19 สายพันธุ์ย่อย BA.2


นพ.ศุภกิจกล่าวว่า ขณะนี้การระบาดของโรคโควิด 19 ในประเทศไทยเป็นสายพันธุ์โอมิครอน สายพันธุ์ย่อย BA.2 ถึง 95.9% คาดว่าอีก 1-2 สัปดาห์จะมาแทนที่การระบาดของสายพันธุ์ BA.1 เป็น 100% เนื่องจาก BA.2 ความสามารถในการแพร่รวดเร็วกว่า ส่วนการฉีดวัคซีนโควิด 19 ในประเทศไทย ขณะนี้ฉีดเข็มกระตุ้นไปแล้ว 35-36% แต่เนื่องจากเชื้อโควิด 19 มีการกลายพันธุ์ต่อเนื่อง ภูมิคุ้มกันที่ได้จากวัคซีนอาจมีผลต่อแต่ละสายพันธุ์แตกต่างกัน กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จึงได้ศึกษาผลของภูมิคุ้มกันที่มีต่อไวรัสโควิด 19 จริง ด้วยวิธี Plaque Reduction Neutralization Test (PRNT) ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐาน ต้องทดสอบภายในห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 3 โดยนำซีรั่มจากเลือดที่มีภูมิคุ้มกันของผู้รับวัคซีนโควิด 19 แล้ว 2 สัปดาห์ มาสู้กับไวรัส BA.2 ที่เพาะเลี้ยงไว้ และเจือจางซีรั่มในระดับเท่าตัว เพื่อหาจุดที่ไวรัสถูกทำลาย 50% ด้วยแอนติบอดีในซีรั่ม หรือ PRNT50 ซึ่งใช้เวลาประมาณ 7-8 วันจึงทราบผล


ทั้งนี้ จากการตรวจระดับภูมิคุ้มกันที่มีผลต่อไวรัสทั้งกรณีได้รับวัคซีน 2 เข็ม และ 3 เข็ม พบว่า วัคซีนทุกสูตรให้ระดับภูมิคุ้มกันที่ต่อสู้กับไวรัสโอมิครอน BA.2 ได้มากกว่า BA.1 ดังนั้น ข้อกังวลว่าสายพันธุ์ย่อย BA.2 จะหลบภูมิคุ้มกันจากวัคซีนได้มากกว่าจึงไม่น่าเป็นจริง อย่างไรก็ตาม การฉีดวัคซีน 2 เข็ม แม้จะเป็นช่วง 2 สัปดาห์หลังฉีด พบว่าภูมิคุ้มกันต่อ BA.2 ไม่ได้สูงมากนัก ดังนั้น ถ้าฉีด 2 เข็มมาแล้วหลายเดือน ภูมิคุ้มกันจะยิ่งน้อยลง แต่เมื่อฉีดกระตุ้นเข็ม 3 พบว่าภูมิคุ้มกันขึ้นในระดับสูงมากต่อไวรัสโอมิครอน BA.2 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จึงขอแนะนำให้ฉีดเข็มกระตุ้น (booster dose) โดยเร็วในคนที่ได้รับวัคซีนเพียง 2 เข็ม

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต "ชุดทดสอบสารพาราควอดตกค้างในผักและผลไม้สด"

วันนี้ (26 สิงหาคม 2567) นายแพทย์ยงยศ ธรรมวุฒิ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นประธานในพิธีลงนามสัญญาการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตชุดทดสอบอิมมูโนโครมาโตกราฟี สำหรับตรวจหาสารพาราควอตตกค้างในผักและผลไม้สด ระหว่าง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์