'หมอยง' ชวนเด็กวัย 5-11 ปีรับวัคซีนกระตุ้นเข็ม 3

'ศ.นพ.ยง' ชี้เด็กวัย 5-11 ปีจำเป็นต้องกระตุ้นวัคซีนเข็ม 3 หลังจากฉีดเข็ม 2 ไป 1 เดือน เพราะแค่ 2 เข็มภูมิไม่ขึ้นและไม่เพียงพอต้านโควิด-19

06 เม.ย.2565 - ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ “โควิด 19 วัคซีนในเด็ก” ว่ารับสมัครอาสาสมัครเด็ก 5-11 ปี ฉีดวัคซีนไฟเซอร์เข็มกระตุ้น

การระบาดโอมิครอน พบเด็กติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างมาก เด็กมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับวัคซีนในการป้องกันความรุนแรงของโรค ในเด็กที่ได้รับวัคซีน Sinovac หรือ Sinopharm มาแล้ว 2 เข็ม ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นจะไม่สูงมาก ไม่เพียงพอในการป้องกัน การติดเชื้อ ควรจะกระตุ้นเข็ม 3 ด้วยวัคซีน mRNA เพื่อกระตุ้นให้ภูมิสูงขึ้นและอยู่นาน การกระตุ้นควรกระตุ้นห่างจากเข็ม 2 อย่างน้อย 1 เดือน

ทางศูนย์ฯ มีโครงการศึกษาวิจัยวัคซีนไฟเซอร์เข็มกระตุ้น ในเด็กที่ได้รับวัคซีน Sinovac หรือ Sinopharm มาแล้ว 2 เข็ม จะมีการขอตรวจภูมิต้านทานก่อนและหลังการฉีดวัคซีน โครงการวิจัยนี้ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมทางการวิจัยในคน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเพื่อฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น (เข็มที่ 3 )

โดยการกรอกกูเกิลฟอร์ม
โดยมีคุณสมบัติดังนี้
- อายุ 5-11 ปี
- สุขภาพร่างกายแข็งแรงดี
- ไม่มีโรคประจำตัว
- ไม่เคยติดเชื้อโควิด-19 มาก่อน
ยินดีเข้าร่วมโครงการเพื่อฉีดวัคซีนโควิด-19 ชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอ (Pfizer) เป็นเข็มกระตุ้น (เข็มที่3)

การศึกษานี้จะขอตรวจภูมิต้านทานทั้งระบบ T และ B cell ก่อนการฉีดวัคซีนครั้งที่ 1 และหลังการฉีดวัคซีนครั้งที่ 2 เป็นเวลา 4 สัปดาห์ รวมทั้งหมด 2 ครั้ง ในการมาตรวจครั้งที่ 2 ทางศูนย์ฯ ยินดีให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ตามความประสงค์ของผู้ปกครอง ผลการตรวจจะแจ้งให้ทราบเฉพาะรายบุคคล และยินดีให้คำปรึกษาตลอดระยะเวลาที่อยู่ในโครงการ

ผู้ปกครองท่านใด มีความประสงค์เข้าร่วมโครงการ สามารถกรอกใบสมัครได้ตามข้อมูลด้านล่างนี้
https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSfyz-xzuBP-q1LsQuCGM0bst85bGazqFC2scTLrZbtLFVrhTg/viewform

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอยง' ชี้ 'โควิด' ระบาดหนัก แต่รุนแรงลดลง เข้าใกล้ไข้หวัดใหญ่

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19

เปิดผลวิจัยอเมริกา 'ออกกำลังกาย' เวลาไหนดีกว่ากัน

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ประเด็นร้อน.. ออกกำลังเช้า หรือบ่าย-เย็น ดีกว่ากัน

จุฬาฯ ผงาดเจ้าภาพครั้งแรกของเวทีระดับโลก ‘Hult Prize 2024 Global Summits Bangkok’

การแข่งขันระดับโลกในครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันโค้งสุดท้ายในระดับนานาชาติ Bangkok” ระหว่างวันที่ 21 – 23 มิถุนายน 2567