5 เม.ย.65 – ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักวิจัยด้านไวรัสวิทยา ไบโอเทค โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana เกี่ยวกับ ไวรัสโควิด-19 ว่า ในขณะที่หลายคนกำลังให้ความสนใจกับไวรัสสายพันธุ์ลูกผสมอย่าง XE หรือ XJ
ส่วนตัวผมสนใจกับไวรัส BA.2 สายพันธุ์ย่อยที่มีแนวโน้มสร้างความกังวลมากกว่าครับ ไวรัส BA.2 สายพันธุ์ย่อยนี้ยังไม่มีชื่ออย่างเป็นทางการ และ ไม่ใช่ตระกูล X เพราะไม่ได้เกิดจากการสลับสาย RNA ระหว่างสายพันธุ์ สายพันธุ์นี้เริ่มมีการตรวจพบครั้งแรกที่ประเทศแอฟริกาใต้ ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา และ ล่าสุดมีการพบที่ประเทศเดนมาร์กเมื่อสัปดาห์ก่อน
ไวรัสสายพันธุ์นี้เป็น BA.2 ที่มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มที่หนามสไปค์ 2 ตำแหน่ง คือ L452R และ F486V โดยตำแหน่งทั้ง 2 อยู่ในบริเวณที่ไวรัสใช้จับโปรตีนตัวรับเพื่อเข้าสู่เซลล์ (RBD) ทั้งคู่ โดยเฉพาะตำแหน่ง L452R เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็น signature ของไวรัสสายพันธุ์เดลต้า เชื่อว่า เป็นตำแหน่งหนึ่งที่ทำให้เดลต้ามีคุณสมบัติเป็นสายพันธุ์น่ากังวล (หนีภูมิ แพร่ไว และ ก่อโรครุนแรง)
การที่ BA.2 มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มไปเหมือนกับเดลต้า ทำให้มีคำถามว่าคุณสมบัติของ BA.2 ที่มีการเปลี่ยนแปลงนี้อาจจะเปลี่ยนแปลงไปจาก BA.2 ดั้งเดิมหรือไม่ การประเมินคร่าวๆด้วยข้อมูลในปัจจุบันพบว่า BA.2-L452R-F486V อาจมีแนวโน้มที่แพร่กระจายได้ดีกว่า BA.2 ปกติ ตัวเลขที่ระบบคำนวณออกมาได้จะประมาณ 30% ถ้ามีแค่ L452R อย่างเดียวก็จะดีกว่า BA.2 ปกติประมาณ 20% ซึ่งอาจจะบอกได้ว่า การเปลี่ยนแปลงที่ขยับไปคล้ายเดลต้ามากขึ้น ช่วยให้ไวรัส Fit ขึ้น วิ่งไวขึ้น และ การเปลี่ยนแปลงของ BA.2 เกิดขึ้นไวมาก มาแบบหลายรูปแบบซึ่งแตกต่างจากโควิดรุ่นก่อนๆที่จะมาแบบสร้างตัวเด่นขึ้นมาเพียง 1 -2 รูปแบบและขึ้นมาครองพื้นที่ แต่ BA.2
เหมือนจะมีตัวเข้าชิงแชมป์เยอะมากกว่านั้นมากครับ เช่น เมื่อ 3วันก่อน ที่ New York ก็พบไวรัส BA.2 ที่มีเปลี่ยนแปลงที่ตำแหน่ง 452 เหมือนกันแต่เป็น L452Q ไปเกิดร่วมกับตำแหน่ง S704L ซึ่งได้ข่าวว่าวิ่งไวมากๆเช่นกัน … ทำอะไรไม่ได้มากครับ ไวรัสไม่ game over ง่ายๆ ถ้าเราปล่อยให้ไวรัสเปลี่ยนได้ตามที่ต้องการแบบทุกวันนี้… วิธีการที่ดีที่สุดตั้งรับด้วยภูมิคุ้มกันและป้องกันตัวเองให้ดีที่สุดครับ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
พบข้อมูล ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี ถ้าติดเชื้อ ฝีดาษลิง พบเสี่ยงเสียชีวิตสูงถึง 27%
อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)
'หวัดนก - H5N1' จ่อประชิด ดร.อนันต์ เผย เขมรเจอเด็กหญิงติดเชื้อเสียชีวิต 1 ราย
ดร. อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูน