'หมอยง' ชี้ความคิดเรื่อง 'โควิด' เปลี่ยนตามสถานการณ์

1 เม.ย. 2565 – ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19 ความคิดเกี่ยวกับโรคโควิด 19 เปลี่ยนตามสถานการณ์

ต้องยอมรับว่าในปีแรก 2563 ที่เกิดการระบาดของโรคโควิด 19 โรคมีความรุนแรง อัตราเสียชีวิต สูง 3 ถึง 5 เปอร์เซ็นต์

ทุกคนรอความหวังที่จะป้องกันด้วย “วัคซีน”

ปีต่อมา 2564 มีวัคซีน แต่พบว่าวัคซีนไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ ยังคงพบการระบาดอย่างมาก ประสิทธิภาพของวัคซีนเหมือนกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ที่ไม่สามารถจะกำจัดหรือลดการระบาดลง ในแต่ละปีประสิทธิภาพแตกต่างกันตามสายพันธุ์

การให้วัคซีน 3 เข็ม 4 เข็ม หรือแม้กระทั่งติดเชื้อแล้วก็ยังติดเชื้อซ้ำได้อีก แต่อาการความรุนแรง “ลดลง”

ในปีนี้ 2565 โรคยังคงระบาดอย่างมาก ความรุนแรงลดน้อยลง อัตราการเสียชีวิตลดลง จากที่เคยสูง 1 – 2 % ลดลงมา เหลือ 1 – 2 ในพัน (0.1 – 0.2 %) ของผู้ติดเชื้อ (รวม ATK) ส่วนใหญ่เป็นในกลุ่มผู้เปราะบาง หรือ 608 ไม่ได้รับวัคซีน หรือ ได้รับวัคซีนไม่ครบ

โดยทั่วไปผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง และ ได้รับวัคซีนแล้ว ติดเชื้อได้ ความรุนแรงของโรคจะลดลง แต่ก็ยังสามารถแพร่กระจายโรคได้ ในเด็กปกติโรคมีความรุนแรงน้อยกว่า ยกเว้น เด็กทารก และเด็กที่มีโรคประจําตัว ในเด็กทารกถ้ามารดาได้รับวัคซีนขณะตั้งครรภ์ ภูมิต้านทานก็น่าจะส่งต่อมาปกป้องลูกน้อยในเดือนแรกๆ ได้

เราต้องเปลี่ยนแนวคิดใหม่ ในการอยู่กับโรคนี้ให้ได้ พบผู้ป่วยผู้ติดเชื้อรอบตัวเรา รวมทั้งคนใกล้ชิด มีให้เห็นมากมาย ต่อไปวัคซีนพาสปอร์ต ที่จะต้องฉีด 2 เข็ม 3 เข็มก็จะมีความหมายน้อยลง การสืบสวนโรค ว่าติดจากใคร ทำได้ยาก และปัจจุบันแทบไม่ต้องถาม timeline กันอีกต่อไปแล้ว

เราไม่ควรรังเกียจคนที่เป็น และต้องยอมรับ เปรียบเสมือนเป็นโรคทางเดินหายใจโรคหนึ่ง ไม่แสดงความรังเกียจผู้ป่วย เราจะต้องอยู่ด้วยกันกับโรคนี้

การตั้งรับในวันนี้ คือ ปกป้องกลุ่มเปราะบาง เช่นเดียวกับโรคไข้หวัดใหญ่ เรารู้ว่าไข้หวัดใหญ่ เป็นอันตรายในกลุ่มเสี่ยง เป็นกลุ่มเดียวกันกับโควิด 19 เราให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ในกลุ่มเสี่ยง เช่นผู้สูงอายุ เด็กเล็กอายุน้อยกว่า 2 ปี คนอ้วน คนมีโรคประจำตัวเรื้อรัง โรคทางเดินหายใจ โรคไต โรคตับ โรคหัวใจ ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ

การเปิดประเทศมีความจำเป็น ผู้ตรวจพบเชื้อเดินทางเข้ามา พบวันละ 50 – 60 ราย ถือว่าน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับการตรวจพบเชื้อในบ้านเรา 50,000 – 60,000 รายต่อวัน วัคซีนพาสปอร์ตต่อไปก็ไม่มีความหมาย เพราะฉีดวัคซีนแล้ว ยังติดเชื้อได้ การตรวจเชื้อในผู้เดินทางเข้าประเทศ ก็จะเหลือแต่ ATK และต่อไปก็จะตรวจเฉพาะผู้มีอาการ เช่น มีไข้ก็เพียงพอ

การตรวจหาเชื้อในประเทศ ก็คงจะต้องเป็นแบบไข้หวัดใหญ่ จะตรวจเฉพาะผู้มีอาการ โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงเพื่อให้ยารักษา

เมื่อพึ่งวัคซีนไม่ให้ติดเชื้อไม่ได้ ยาที่ใช้รักษาต่อไป จะมีความหมาย และมีความจำเป็น โดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบาง จึงมีการศึกษา หายาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อไว้ปกป้องกลุ่มเสี่ยง ให้เกิดอันตรายน้อยลง

ชีวิตจำเป็นต้องเดินหน้าต่อไป เด็กนักเรียนจำเป็นจะต้องไปโรงเรียน ในภาคการศึกษาต่อไป มีความหวังว่าเด็กนักเรียนได้ไปโรงเรียน และกิจกรรมต่างๆ ก็จะได้กระทำกันมากขึ้น.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘หมอธีระวัฒน์’ ยกรายงานญี่ปุ่น ประเมินผลวัคซีนโควิดกับการเกิดมะเร็ง

วัคซีนนั้นทำให้ระบบการตรวจตราเฝ้าระวังและป้องกันการเกิดมะเร็งนั้นถดถอยลงโดยเฉพาะในระบบ ที่เรียกว่า innate immunity และความบกพร่องห่วงโซ่ ในระบบภูมิคุ้มกัน

ศูนย์จีโนมฯ จับตาโอมิครอน KP.2.3/XEC ลูกผสมพันธุ์ใหม่ แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โอมิครอน KP.2.3/XEC : ลูกผสมสายพันธุ์ใหม่แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า

'สกิลลาชี' ตำนานดาวยิงอิตาลี เสียชีวิตจากโรคมะเร็งในวัย 59 ปี

"โตโต้" ซัลวาตอเร่ สกิลลาชี อดีตดาวยิงทีมชาติอิตาลี ชุดอันดับ 3 ฟุตบอลโลก 1990 เสียชีวิตลงแล้วด้วยวัยเพียง 59 ปี จากโรคมะเร็งที่รักษามาอย่างยาวนาน 2 ปี

ไทยติดโควิดใหม่รอบสัปดาห์ 302 ราย ดับเพิ่ม 2 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 8 - 14 กันยายน 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 302 ราย