‘ดร.อนันต์’ เผยชื่อทางการไวรัสลูกผสม ‘เดลตาครอน’ คือ ‘XD-XE-XF’

27 มี.ค.2565-ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ไบโอเทค สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Anan Jongkaewwattana ระบุว่า จากเอกสารของ UK Health Security Agency ได้มีการตั้งชื่อไวรัสลูกผสมระหว่างเดลต้า-โอมิครอน อย่างเป็นทางการออกมา แทนที่จะใช้ชื่อที่ไม่ค่อยมีประโยชน์อย่าง Deltacron ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ในเอกสารดังกล่าวได้พูดถึงไวรัสลูกผสมดังกล่าวอยู่ 3 รูปแบบคือ 1. XD 2. XE และ 3. XF โดย X มาจาก Cross หรือ การผสมข้ามสายพันธุ์ แต่ละรูปแบบเป็นอย่างไรให้ดูที่สีที่กำกับ โดยสี เขียว คือ สารพันธุกรรมของสายพันธุ์เดลต้า สีม่วงเข้มคือ สารพันธุกรรมของ BA.1 และ สีม่วงอ่อนคือสารพันธุกรรมของ BA.2

XD คือ ไวรัสลูกผสมที่เกิดจากเดลต้าและ BA.1 โดยไวรัสรูปแบบนี้นำยีนส่วนหนามสไปค์ของ BA.1 มาอยู่ในแกนของเดลต้า อนุภาคไวรัสชนิดนี้จึงใช้โปรตีนหนามของโอมิครอน BA.1 ในการเข้าสู่เซลล์ แต่ใช้องค์ประกอบอื่นๆของเดลต้าในการเพิ่มจำนวนไวรัสในเซลล์เจ้าบ้าน ไวรัสรูปแบบ XD ปัจจุบันพบแพร่กระจายอยู่ในหลายประเทศนอกอังกฤษ เช่น ฝรั่งเศส เดนมาร์ก และ เบลเยี่ยม

XE คือ ไวรัสลูกผสมระหว่างโอมิครอน BA.1 และ BA.2 ด้วยกันเอง โดยส่วนหน้าเป็น BA.1 และ ส่วนด้านท้ายจะมาจาก BA.2 เนื่องจากโปรตีนที่อยู่บนและในผิวอนุภาคไวรัสจะสร้างมาจากส่วนด้านท้ายของสายพันธุกรรม ดังนั้นถ้าดูลักษณะของอนุภาคของ XE จะไม่แตกต่างจาก BA.2 เลย เพียงแต่ว่ากลไกในการก่อเกิดโรค หรือ การเพิ่มจำนวนไวรัสที่ต้องอาศัยยีนในส่วนด้านหน้าอาจจะแตกต่าง เพราะโปรตีนนั้นมาจาก BA.1 ซึ่งก็ไม่แตกต่างจาก BA.2 สักเท่าไหร่ โดยสรุป ไวรัสรูปแบบนี้ไม่น่ามีอะไรกังวลมากไปกว่า BA.2 ปกติ

XF คือไวรัสลูกผสมระหว่างเดลต้ากับ BA.1 โดยโปรตีนโครงสร้างทั้งหมดมาจาก BA.1 และ โปรตีนบางชนิดที่ถอดรหัสจากส่วนของเดลต้า อนุภาคไวรัสไม่แตกต่างจาก BA.1 โดยทั่วไป แต่คุณสมบัติบางอย่างอาจแตกต่างเนื่องมาจากยีนส่วนที่ได้รับจากเดลต้ามาอาจไม่เหมือนกับ BA.1

ข้อสังเกตคือ Delta-BA.2 จะไม่มีการรายงาน เป็นเพราะช่วงที่ BA.2 ระบาดจะมีไวรัส Delta อยู่น้อยมากแล้ว การเกิดไวรัสลูกผสมจึงยากที่จะเกิดขึ้น และ ในบรรดาสามรูปแบบข้างต้น ส่วนตัวคิดว่า XD มีความเป็นไปได้สูงสุดที่จะเกิดไวรัสที่มีคุณสมบัติที่แตกต่างไปจากเดิมที่มีอยู่ ซึ่งต้องคอยติดตามไปอย่างใกล้ชิดครับ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดข้อมูล ‘ไวรัสโควิด’ สร้างได้ในห้องทดลอง มีจดสิทธิบัตรตั้งแต่ปี 2018

การสร้างไวรัสใหม่ชนิดนี้จะสามารถครอบคลุมไวรัสที่จะแพร่และเกิดโรคระบาดในมนุษย์ได้ทั้งสิ้น และสามารถที่จะสร้างวัคซีนให้มนุษย์ก่อนได้

'นักไวรัสวิทยา' สรุป 3 สายพันธุ์ 'โรคฝีดาษลิง' ความรุนแรงอาจขึ้นอยู่กับช่องทางการติดเชื้อ

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า