27 มี.ค.2565-รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า แอบทบทวนดูกันหน่อย…เอาแค่ยอด ATK ที่มีในระบบตั้งแต่ 31 กรกฎาคม 2564 จนถึงวันนี้ ตรวจพบผลบวกไปแล้ว 1,391,104 คน(-ครั้ง?) หากรวมยอดติดเชื้อยืนยันสะสมจนถึงวันนี้ 3,529,085 คน รวมหลังแจ้งแล้วมีทั้งสิ้น = 3,529,085 + 1,391,104 = 4,920,189 คน อีกสองวัน ก็จะทะลุ 5 ล้าน ณ 29 มีนาคม 2565
คาดประมาณ Long COVID…จำนวนที่เป็นไปได้ 20-40% = 1-2 ล้านคน หักลบสรรพคุณของวัคซีน ลดลงไป 41% (ภายใต้สมมติฐานว่าวัคซีนเราดีเทียบเท่า mRNA vaccine regimens ที่ต่างประเทศศึกษาผลในการลดโอกาสเกิด Long COVID) ทำให้อาจเหลือ 590,000-1,180,000 คน แม้บางคนจะอ้างว่า โอกาสเป็นของเราดูจะน้อยกว่าฝรั่ง จะลองลดลงกี่สิบเปอร์เซ็นต์ก็ว่าไป สุดท้ายก็คงเหลือหลายแสนคนที่จะมีโอกาสประสบปัญหา Long COVID ได้
เมื่อประเมินเช่นนี้ จะเห็นได้ว่า ระดับประเทศจึงจำเป็นต้องเตรียมระบบสุขภาพเพื่อช่วยให้คำปรึกษา ดูแลรักษา และฟื้นฟูสภาพ ให้แก่ผู้ป่วย Long COVID ที่กำลังจะทยอยพบตั้งแต่บัดนี้ไปจนถึงในอนาคต ในขณะเดียวกัน ผู้ที่เคยติดเชื้อมาก่อน รวมถึงสมาชิกในครอบครัว ก็ควรจะถามไถ่ ประเมินสถานะสุขภาพกันอย่างสม่ำเสมอ หากมีปัญหาผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกาย อารมณ์ ภาวะจิตใจ แตกต่างจากอดีต ก็ควรปรึกษาแพทย์ และหมั่นตรวจเช็คสุขภาพเป็นระยะ ก็จะช่วยลดความเสี่ยง ลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นได้ สำหรับคนอื่นในสังคม การป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอ ใช้ชีวิตอย่างมีสติ ไม่ประมาท เป็นเรื่องที่สำคัญมาก นอกจากจะเกิดประโยชน์ต่อตนเองและครอบครัวแล้ว ยังช่วยแบ่งเบาภาระของสังคมอีกด้วย เป็น win-win-win situation
ป.ล. 1. ยังไม่นับที่ตรวจ ATK เป็นบวกแล้วไม่ได้รายงาน ซึ่งอาจจะมีอีกจำนวนมาก 2. แม้จะอ้อมแอ้มอ้างว่าบางส่วน ATK เป็นบวก จะมีจำนวนหนึ่งที่จะไปตรวจยืนยันต่อ จะด้วยตนเอง จะด้วยอาการปานกลางถึงรุนแรงแล้วต้องไปรพ. แต่ด้วยขีดจำกัดของระบบการตรวจ RT-PCR สัดส่วนการทับซ้อนไม่น่าจะเกิน 20-30% และอิทธิพลของข้อ 1 ก็มีความเป็นไปได้ที่จะมากกว่าหรือเท่ากับสัดส่วนทับซ้อน ดังนั้นการไม่รายงานประจำวันด้วยตัวเลขควบคู่กันของทั้ง RT-PCR และ ATK จึงไม่สมเหตุสมผล และเป็นรายงานที่น่าจะต่ำกว่าความเป็นจริงไปมาก 3. ยังไม่ได้เอ่ยถึงเรื่องจำนวนการเสียชีวิตว่าเป็นเช่นไร แต่หากดูสถิติ excess mortality ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นมา เทียบกับปีก่อนระบาด ก็จะทราบ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอยง' เผยสถาการณ์โควิดเปลี่ยนไปมากคำแนะนำก็ต้องเปลี่ยนตาม
ศ.นพ.ยง ภู่รวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก
เปิดข้อมูล ‘ไวรัสโควิด’ สร้างได้ในห้องทดลอง มีจดสิทธิบัตรตั้งแต่ปี 2018
การสร้างไวรัสใหม่ชนิดนี้จะสามารถครอบคลุมไวรัสที่จะแพร่และเกิดโรคระบาดในมนุษย์ได้ทั้งสิ้น และสามารถที่จะสร้างวัคซีนให้มนุษย์ก่อนได้
ประสบการณ์เฉียดตายของดารารุ่นใหญ่ ‘อัล ปาชิโน’
โควิด-19 เกือบคร่าชีวิตของเขา - อัล ปาชิโน นักแสดงชาวอเมริกัน ล้มป่วยหนักเมื่อปี 2020 หนักมากจนเขาแทบเอาชีวิตไม่รอด
อาจารย์หมอจุฬาฯ แนะวิธีดูแลอาการ 'รองช้ำ' เบื้องต้นด้วยตัวเอง
รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง 'รองช้ำ หรือ Plantar fasciitis"
ความท้าทายระบบสุขภาพ ในมือของชุมชนและท้องถิ่น
ฐานรากของระบบสุขภาพที่แข็งแกร่ง คือ ‘ระบบสุขภาพชุมชน’ ที่เข้มแข็ง สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนในแต่ละพื้นที่ได้อย่างตรงจุด
โควิด-19 รายสัปดาห์ ป่วยนอนโรงพยาบาลทะลุหลักพัน เสียชีวิต 3 ราย
ศูนย์ข้อมูล COVID-19 รายงานเกาะติดยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 14 - 20 กรกฎาคม 2567