โควิดโลกทะลุ 477 ล้าน! 'หมอธีระ' อัปเดตผลวิจัยวัคซีน UK

25 มี.ค. 2565 – รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ทะลุ 477 ล้าน เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่มสูงถึง 1,575,840 คน ตายเพิ่ม 4,369 คน รวมแล้วติดไปรวม 477,626,492 คน เสียชีวิตรวม 6,132,167 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ เกาหลีใต้ เยอรมัน ฝรั่งเศส เวียดนาม และอิตาลี เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 16 ใน 20 อันดับแรกของโลก

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 89.47 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 75.14 การติดเชื้อใหม่ในทวีปเอเชียนั้นคิดเป็นร้อยละ 42.49 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 36.2

…สถานการณ์ระบาดของไทย เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่ รวม ATK สูงเป็นอันดับ 7 ของโลก และอันดับ 3 ของเอเชีย ในขณะที่จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 16 ของโลก

…อัปเดตเรื่องวัคซีนจากสหราชอาณาจักร

UK HSA ได้เผยแพร่รายงาน COVID-19 Vaccine Surveillance Report Week 12 เมื่อวานนี้ 24 มีนาคม 2565วัคซีนที่ UK ใช้นั้นมีเพียง 3 สูตรคือ 2AZ+PZ/M, 2PZ+PZ/M, และ 2M +PZ/M หากดูรายละเอียดจะพบว่า mRNA vaccines นั้นมีประสิทธิภาพสูงกว่า viral vector

ทั้งนี้ภาพรวมของประสิทธิภาพวัคซีนหลังฉีดเข็มกระตุ้น พบว่า

หนึ่ง ประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อแบบมีอาการ (ป่วย) ลดลงจาก 60-75% เหลือ 25-40% หลัง 4 เดือน

สอง ประสิทธิภาพในการป้องกันการป่วยจนต้องนอนรพ. ลดลงจาก 82% เหลือ 54% หลัง 4 เดือน

สาม ประสิทธิภาพในการป้องกันการเสียชีวิต 95% (แต่ระยะเวลาการติดตามยังสั้น)

สี่ ผลของการป้องกัน Omicron สายพันธุ์ BA.1 และ BA.2 ไม่ได้แตกต่างกัน

สิ่งที่ได้เรียนรู้ และควรนำไปปฏิบัติ…

การฉีดวัคซีนนั้นมีประโยชน์ในการลดโอกาสป่วยรุนแรงและเสียชีวิต อย่างไรก็ตามแม้ฉีดวัคซีนไปแล้ว ก็ยังติดเชื้อได้ ป่วยได้ และตายได้เช่นกันหากไม่ป้องกันตัว นอกจากนี้ประสิทธิภาพเรื่องป้องกันยังลดน้อยถอยลงเมื่อเวลาผ่านไป

พฤติกรรมการป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอ เป็นกิจวัตร ถือเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งทั้งในสถานการณ์ระบาดดังที่ไทยเป็นอยู่ในปัจจุบัน และในอนาคต ตราบใดที่การระบาดทั่วโลกยังไม่สามารถควบคุมได้

ใส่หน้ากากเสมอ เว้นระยะห่างจากคนอื่น พบปะคนอื่นเท่าที่จำเป็น ใช้เวลาสั้นๆ เลี่ยงการกินดื่มหรือแชร์ของกินของใช้ร่วมกับผู้อื่น หากไม่สบาย ควรหยุดเรียนหยุดงาน แจ้งคนใกล้ชิด และไปตรวจรักษาให้หายดีเสียก่อน

ลดละเลิกความงมงายว่า โอไมครอนกระจอก ติดแล้วเหมือนหวัดธรรมดา ติดแล้วจะมีภูมิคุ้มกันป้องกันไม่ให้ติดเชื้อสายพันธุ์อื่นได้ เพราะความงมงายเหล่านั้นไม่เป็นความจริง

เหนืออื่นใด การติดเชื้อโรคโควิด-19 จะทำให้เสี่ยงต่อความผิดปกติระยะยาว หรือ Long COVID ซึ่งจะบั่นทอนสมรรถนะร่างกายและจิตใจ ประสบปัญหาในการดำรงชีวิตประจำวันและการทำงาน รวมถึงเป็นภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาหรือฟื้นฟูสุขภาพ ทั้งต่อผู้ป่วย ครอบครัว และประเทศ

การป้องกันตัวเองและครอบครัวไม่ให้ติดเชื้อย่อมดีที่สุด วลีที่ว่า “ไม่น่าเลย…รู้งี้” จะได้ไม่เกิดขึ้น.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘หมอธีระวัฒน์’ ยกรายงานญี่ปุ่น ประเมินผลวัคซีนโควิดกับการเกิดมะเร็ง

วัคซีนนั้นทำให้ระบบการตรวจตราเฝ้าระวังและป้องกันการเกิดมะเร็งนั้นถดถอยลงโดยเฉพาะในระบบ ที่เรียกว่า innate immunity และความบกพร่องห่วงโซ่ ในระบบภูมิคุ้มกัน

ศูนย์จีโนมฯ จับตาโอมิครอน KP.2.3/XEC ลูกผสมพันธุ์ใหม่ แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โอมิครอน KP.2.3/XEC : ลูกผสมสายพันธุ์ใหม่แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า

'สกิลลาชี' ตำนานดาวยิงอิตาลี เสียชีวิตจากโรคมะเร็งในวัย 59 ปี

"โตโต้" ซัลวาตอเร่ สกิลลาชี อดีตดาวยิงทีมชาติอิตาลี ชุดอันดับ 3 ฟุตบอลโลก 1990 เสียชีวิตลงแล้วด้วยวัยเพียง 59 ปี จากโรคมะเร็งที่รักษามาอย่างยาวนาน 2 ปี

ไทยติดโควิดใหม่รอบสัปดาห์ 302 ราย ดับเพิ่ม 2 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 8 - 14 กันยายน 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 302 ราย