โควิดชลบุรียังแรง! ติดเชื้อใหม่ 1,090 ราย ผล ATK อีก 6,579 คน

25 มี.ค. 2565 – สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี รายงานว่า วันนี้มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ จำนวน 1,090 ราย (ผู้ติดเชื้อยืนยัน RT-PCR)

1.คนที่พักอาศัยในจังหวัดระยอง เข้ามารักษาในจังหวัดชลบุรี 53 ราย สะสม 4,117 ราย และจังหวัดอื่นๆ รวมสะสม 1,284 ราย

2.CLUSTER บริษัท ไทย เอ็นโอเค จำกัด อ.เมืองชลบุรี 8 ราย สะสม 33 ราย

3.CLUSTER บริษัท โตโยด้า โกเซ (ประเทศไทย) จำกัด อ.พานทอง 3 ราย สะสม 59 ราย

4.อาชีพเสี่ยงพบปะผู้คนจำนวนมาก 21 ราย

5.บุคลากรทางการแพทย์ 30 ราย

6.ให้ประวัติเดินทางมาจากต่างจังหวัด (จังหวัดยโสธร 1 ราย)

7.สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน จากในครอบครัว 260 ราย จากสถานที่ทำงาน 67 ราย บุคคลใกล้ชิด 55 ราย ร่วมวงสังสรรค์ 2 ราย

8.สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน (อยู่ระหว่างสอบสวนโรค) 28 ราย

9.อยู่ระหว่างการสอบสวนโรค 562 ราย

ณ วันที่ 25 มีนาคม 2565 จังหวัดชลบุรี มีผู้ฉีดวัคซีนครบ 3 เข็ม 917,981 คน ซึ่งในเดือนนี้ มีผู้ที่ฉีดวัคซีนครบ 3 เข็มแล้ว ติดเชื้อ 6,436 คน (อัตราป่วย 701.10 ต่อแสนประชากร) เสียชีวิต 5 ราย (0.54 ต่อแสนประชากร), ใส่ท่อหายใจ 4 ราย (0.44 ต่อแสนประชากร), ปอดอักเสบ 8 ราย (0.87 ต่อแสนประชากร)

มีผู้ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม 1,902,328 คน ซึ่งในเดือนนี้ มีผู้ที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว ติดเชื้อ 9,569 คน (อัตราป่วย 503.02 ต่อแสนประชากร) เสียชีวิต 21 ราย (1.10 ต่อแสนประชากร), ใส่ท่อหายใจ 13 ราย (0.68 ต่อแสนประชากร), ปอดอักเสบ 18 ราย (0.95 ต่อแสนประชากร)

ส่วนผู้ที่ฉีดวัคซีนเพียง 1 เข็ม 126,771 คน และไม่ได้ฉีดวัคซีนอีก 299,974 คน รวม 426,745 คน ในเดือนนี้พบผู้ติดเชื้อที่ฉีดวัคซีนไม่ครบและยังไม่ได้ฉีดวัคซีน 13,229 คน (อัตราป่วย 3,099.98 ต่อแสนประชากร), เสียชีวิต 51 ราย (11.95 ต่อแสนประชากร), ใส่ท่อหายใจ 10 ราย (2.34 ต่อแสนประชากร) , ปอดอักเสบ 46 ราย (10.78 ต่อแสนประชากร)

วันนี้ ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจรายใหม่ 2 ราย (รายที่หนึ่งพบประวัติการรับวัคซีนสามเข็มเมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2565,รายที่สองพบประวัติการรับวัคซีนสองเข็มเมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 2564), พบผู้ป่วยปอดอับเสบรายใหม่ 1 ราย (พบประวัติการรับวัคซีนสองเข็มเมื่อวันที่ 28 ก.ย. 2564), และพบผู้เสียชีวิตรายใหม่ 1 ราย (อายุ 65 ปี) สาเหตุที่นำไปสู่การเสียชีวิตคือ เป็นผู้สูงอายุ และมีโรคประจำตัวได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดผิดปกติ (ไม่พบประวัติการรับวัคซีน) ดังนั้น การฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์กล่าวคือต้องได้รับการกระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วยการฉีดเข็มที่สาม จะช่วยลดความรุนแรงของโควิด-19.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘หมอมนูญ’ เผยข้อมูลระบาดวิทยา พบ ‘โควิด-ไข้หวัดใหญ่’ ยังแพร่เชื้อต่อเนื่อง

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และไข้หวัดใหญ่ยังมีต่อเนื่อง ไวรัสไข้หวัดใหญ่กำลังพุ่งสูงขึ้นตามฤดูกาล เข้าฤดูฝนแล้ว เชื้อไวรัสทางเดินหายใจทุกชนิดจะกลับมาระบาดหนักอีก

'หมอยง' ชี้ 'โควิด' ระบาดหนัก แต่รุนแรงลดลง เข้าใกล้ไข้หวัดใหญ่

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19