'หมอนิธิพัฒน์' รับยาฟาวิพิราเวียร์เริ่มตามรอยยาโอเซลตามิเวียร์ที่ใช้ในหยุดระบาดของไข้หวัดใหญ่ 2009 ระบุเมื่อฉีดวัคซีนได้มาตรฐานมากขึ้นก็อาจทำให้อาจใช้ลดลง
24 มี.ค.2565 - รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์เฟซบุ๊กว่าตัวเลขวันนี้ยังไม่นิ่ง สงครามยังไม่จบ อย่าเพิ่งนับศพทหาร
แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง วันที่ 21 มีนาคม 2565 https://covid19.dms.go.th/Content/Select_Landding_page... ได้เผยแพร่ออกสู่สายตาของผู้รอคอยแล้ว แม้วิธีการเรียบเรียงและนำเสนอ รวมถึงการใช้ถ้อยคำจะยังไม่ได้ขัดเกลาให้เรียบร้อยและมีความคงเส้นคงวา แต่ก็คงพอนำไปใช้ได้ไม่คลาดเคลื่อน สำหรับหน่วยงานอื่นเช่นบริษัทประกันภัย ไม่รู้ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องในการเลือกตัดไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร สิทธิประโยชน์ของผู้เอาประกันน่าจะเป็นไปตามเงื่อนไขที่ตกลงกันในกรมธรรม์ ไม่เกี่ยวกับแนวทางการดูแลรักษาที่เป็นข้อตกลงกันในเฉพาะหมู่แพทย์และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
ประเด็นที่ถกเถียงกันในหมู่แพทย์ คือยาฟาวิพิราเวียร์ที่แพทย์ไทยส่วนใหญ่เห็นว่าได้ผลดีในการระบาดสามระลอกที่ผ่านมา แต่ในช่วงกลางของการระบาดระลอกสี่จากสายพันธุ์เดลตา ซึ่งเป็นช่วงที่บ้านเรามีการฉีดวัคซีนโควิดกันได้มากขึ้น แพทย์บางท่านเริ่มตั้งข้อสังเกตว่าประสิทธิภาพของยาฟาวิพิราเวียร์ชักไม่เหมือนเก่า จากการวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลังของผู้ป่วยกว่าเจ็ดร้อยรายในประเทศไทยช่วงการระบาดระลอกแรกต่อระลอกสอง การรักษาเร็วภายใน 4 วันหลังมีอาการช่วยลดความรุนแรงของโรคได้ สำหรับการศึกษาแบบไปข้างหน้าในผู้ป่วยอาการน้อยถึงปานกลางราวหนึ่งร้อยรายที่อยู่ในช่วงระลอกสองถึงต้นระลอกสี่ การได้รับยาฟาวิพิราเวียร์เร็วภายในสองวันหลังมีอาการ ช่วยทำให้อาการเช่น ไข้ เจ็บคอ ดีขึ้นเร็ว แต่ไม่ช่วยให้การกำจัดไวรัสหมดไปเร็วขึ้น และไม่ช่วยลดการลุกลามต่อไปของโรค
ข้อมูลการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ในญี่ปุ่นสำหรับผู้ป่วยโรคโควิด-19 กว่าแปดพันราย ที่มีอาการไม่รุนแรงและไม่ต้องให้การรักษาด้วยออกซิเจน ในช่วงตั้งแต่ระลอกแรกจนถึงก่อนเดลตาระบาด พบว่าการให้ยาเร็วตั้งแต่ภายใน 4 วันแรกหลังเริ่มมีอาการ ไม่ได้ช่วยลดการลุกลามของโรคจนถึงขั้นต้องรักษาด้วยออกซิเจน รวมถึงไม่เปลี่ยนแปลงอัตราการลุกลามของโรคไปจนถึงขั้นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือต้องใช้เครื่องหัวใจและปอดเทียม อีกทั้งไม่ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตภายในหนึ่งเดือนหลังป่วยด้วย จากผลการวิจัยนี้ทำให้ความนิยมของแพทย์ญี่ปุ่น ต่อการรักษาผู้ป่วยโควิดที่อาการไม่รุนแรงตั้งแต่ในระยะแรกด้วยยาฟาวิพิราเวียร์ลดน้อยไปกว่าเดิมมาก อีกทั้งส่งผลให้ความสนใจการศึกษาสรรพคุณยานี้สำหรับโควิดในอนาคตด้อยลงไปด้วย https://link.springer.com/.../10.1007/s40121-022-00617-9.pdf
ลักษณะคงคล้ายกับเมื่อครั้งการระบาดและช่วงเข้าสู่การหยุดระบาดของไข้หวัดใหญ่ 2009 เมื่อคนเริ่มฉีดวัคซีนกันมากขึ้น การใช้ยาโอเซลตามิเวียร์ที่เคยใช้ได้ดีก็จะมีประโยชน์เฉพาะในกลุ่มคนที่ภูมิคุ้มกันผิดปกติหรือผู้ป่วยที่มีลักษณะทางคลินิกรุนแรงในหนึ่งถึงสองวันแรกหลังมีอาการ ดังนั้นส่วนตัวแล้วคิดว่าในยุคที่มีการฉีดวัคซีนเข็มมาตรฐานกันแพร่หลาย และผู้ที่ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นมีเพิ่มมากขึ้น ความจำเป็นในการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ในการรักษาตามแนวทางของประเทศไทยฉบับล่าสุด น่าจะลดลงไปกว่าคำแนะนำที่ออกมา และน่าจะทำให้ผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุข เข้าใจเหตุผลในการให้การรักษาด้วยยาฟาวิพิราเวียร์ดีมากขึ้น และลดข้อขัดแย้งหน้างานที่ไม่จำเป็น #อยู่ร่วมกับโควิด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“พิพัฒน์” เยือนญี่ปุ่น ถกรัฐมนตรีแรงงาน นายจ้างญี่ปุ่นต้องการแรงงานทักษะ16 สาขา 820,000คน ที่แรกกรุงโตเกียว
วันที่ 19 ธันวาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ผู้บริหารกระทรวงแรงงานเข้าพบเข้าพบ Mr. Takamaro FUKUOKA
'วี ธนาศิวณัฐ' แชมป์'ฮอนด้า วัน เมค เรซ2024' คว้ารองชนะเลิศที่ญี่ปุ่น
“ฮอนด้า วันเมคเรซ 2024” โดย บริษัท กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนลจำกัด (มหาชน) หลังปิดฉากอย่างยิ่งใหญ่ดวลสนามสุดท้ายที่ สงขลา สตรีท เซอร์กิต ซึ่งแชมป์คนล่าสุด “วี” ธนาศิวณัฐ พงสินนัชอาชัญ นักขับฟอร์มแรงจาก PT Autobacs X Mugen Thailand ที่สร้างผลงานระดับมาสเตอร์เหมาชัยชนะไปครั้งทั้ง 2 เรซ ผงาดแชมป์ประจำปีโอเวอร์ออลล์ พร้อมคว้ารางวัลในโปรเจ็กต์พิเศษ แลกเปลี่ยนนักแข่งทั้งสองประเทศ ได้สิทธิ์ร่วมทีม M&K Racing จากประเทศญี่ปุ่นลุยศึก ซูเปอร์ ไทคิว 2024 สนามสุดท้ายที่ สนามฟูจิ สปีดเวย์
'สับปะรดห้วยมุ่น' ขึ้นทะเบียน GI ยกระดับตลาดสินค้าเกษตรไทย
“คารม“ เผย ญี่ปุ่นขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ “สับปะรดห้วยมุ่น” เป็นสินค้ารายการที่ 3 ต่อจาก กาแฟดอยช้าง และกาแฟดอยตุง ยกระดับตลาดสินค้าเกษตร
สัญญาณอันตราย!สหรัฐพบไวรัสไข้หวัดนกในหมูเสี่ยงระบาดครั้งใหม่
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ ศูนย์สนับสนุนพันธกิจ
'โมริกาวะ'หวังชนะส่งท้ายปี ป้องกันแชมป์ 'โซโซ แชมเปี้ยนชิพ'ที่ญี่ปุ่น
คอลลิน โมริกาวะ โปรกอล์ฟมือ 4 ของโลกจากสหรัฐ เตรียมกลับมาป้องกันแชมป์พีจีเอทัวร์ รายการโซโซ แซมเปี้ยนชิพ ที่สนามแอคคอร์เดีย กอล์ฟ นาราชิโนะ คันทรีคลับ ในเมืองนาริตะ ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 24-27 ตุลาคมนี้ และหวังคว้าชัยชนะปิดฉากปีนี้อย่างสวยหรู หลังจากเมื่อปีที่แล้วทำผลงานดีที่สนามแห่งนี้ พร้อมทำสถิติคว้าแชมป์พีจีเอทัวร์ รายการที่ 6 ในอาชีพ โดยทิ้งห่างคู่แข่ง 6 สโตรก