สธ. เผยประสิทธิภาพวัคซีนเข็ม 3 ป้องกันเสียชีวิต 98% ส่วนเข็ม 4 ยังไม่พบผู้เสียชีวิต

21 มี.ค. 2565 - ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.เฉวตสรร นามวาท ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค แถลงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สถานการณ์ติดเชื้อรายวันเฉลี่ย 14 วันอยู่ที่ 23,540 ราย โดยผู้ป่วยรุนแรงที่มีปอดอักเสบอยู่ที่ 1,464 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 514 ราย เสียชีวิตรายงานวันนี้ 88 ราย อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยปอดอักเสบไต่ลำดับต่อเนื่องมาจาก 2 สัปดาห์ที่แล้ว ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจก็เพิ่มขึ้นจาก 2 สัปดาห์เช่นกัน รวมทั้งตัวเลขเสียชีวิต เป็นที่ทราบกันดีว่า จำนวนผู้ป่วยหนักและเสียชีวิตจะมีระยะเวลาตามหลังจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นมาก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นที่คาดไว้ และอยู่ในระดับที่รับมือได้ในกราฟเส้นสีเขียว

นพ.เฉวตสรร กล่าวว่า จำนวนผู้เสียชีวิตวันนี้ 88 ราย เป็นชายและหญิงอย่างละ 44 ราย โดยมีปอดอักเสบรุนแรง 74 ราย ไม่ระบุปอดอักเสบ 14 ราย โดยกลุ่ม 608 อายุ 60 ปีขึ้นไป และมีโรคเรื้อรังสูงถึง 94% หรือ 83 ราย ซึ่งสิ่งที่ต้องย้ำคือในตัวเลข 88 ราย ปรากฎว่าไม่ได้รับวัคซีนถึง 46 ราย หรือ 52% ทั้งที่ในประเทศไทยได้วัคซีนเข็มที่ 1 ไปแล้ว 80% เข็มที่ 2 ก็ใกล้ๆกัน ซึ่งที่ยังไม่ได้ฉีดก็น่าจะประมาณ 20% แต่คนที่เสียชีวิตสูงถึง 50กว่าเปอร์เซ็นต์ที่ไม่ได้รับวัคซีน ซึ่งน่าเสียดายที่ขาดโอกาสได้รับวัคซีนที่มีประสิทธิผล จึงต้องขอให้มาฉีดวัคซีนกัน ส่วนการฉีดวัคซีนไม่ครบ หรือรับ 1 เข็ม มี 7 ราย หรือ 8% จากผู้เสียชีวิตวันนี้ 88 ราย

นพ.เฉวตสรร กล่าวอีกว่า ลักษณะทางระบาดวิทยาของผู้เสียชีวิตข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-19 มี.ค.65 จำนวน 2,464 ราย พบเป็นผู้สูงอายุเฉลี่ย 73 ปี แต่ยังมีคนอายุน้อยเช่นกัน น้อยสุดคือ 3 เดือน อายุมากที่สุด 107 ปี โดยมีผู้เสียชีวิตที่เป็นหญิงตั้งครรภ์ด้วยอีก 2 ราย ซึ่งเป็นอีกกลุ่มที่สำคัญต้องเน้นย้ำ สำหรับจำนวนผู้เสียชีวิตที่มีโรคประจำตัวมีถึง 2,135 ราย โดยโรคที่เจอมากสุด คือ ความดันโลหิตสูง รองลงมา เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคไตเรื้อรัง โรคมะเร็ง โรคอ้วน ภาวะอุดกั้นปอดเรื้อรัง

“ผู้เสียชีวิตมีความเสี่ยงการรับเชื้ออย่างไรนั้น พบว่า สัมผัสผู้ติดเชื้อ แต่ชี้ไม่ได้ชัดเจนว่า ติดจากใคร เนื่องจากโอมิครอนติดเชื้อง่าย บางทีหาอาการยาก ได้แต่ประวัติว่าอยู่ในพื้นที่เสี่ยง จึงต้องมีมาตรการอื่นๆ อย่างการฉีดวัคซีนป้องกัน ดังนั้น ขอย้ำว่า ภาพรวมของผู้เสียชีวิต 57% ไม่ได้ฉีดวัคซีน ส่วนฉีด 2 เข็มมีประมาณ 31% เพราะเวลาฉีดวัคซีนวงกว้าง บางท่านมีโรคประจำตัว มีเหตุอย่างอื่น วัคซีนก็ไม่ได้ป้องกันเต็ม 100% แต่ถือว่าใกล้เคียง และป้องกันการเสียชีวิตได้มาก" นพ.เฉวตสรร กล่าว

นพ.เฉวตสรร กล่าวอีกว่า กรณีปอดอักเสบกำลังรักษาในรพ. ระลอกเดือนม.ค.2565 วันที่ 14 มี.ค.-20 มี.ค. พบว่า กรุงเทพมี 193 รายที่ปออักเสบต้องนอนรพ. นอกนั้นจะต่ำกว่า 100 ราย ทั้งสมุทรปราการ 87 ราย นครราชสีมา 61 ราย และนครศรีธรรมราช 57 ราย อย่างไรก็ตาม อัตราการครองเตียงภาพรวมของประเทศอยู่ที่ 25.80% ซึ่งยังมีเตียงว่างอยู่อีกกว่า 75% จึงมีความพร้อมในการรองรับผู้ที่มีอาการหนักได้มากพอสมควร โดยกรุงเทพฯมีอัตราครองเตียงอยู่ที่ 31.40% สมุทรปราการอัตราครองเตียง 44% เป็นต้น

นพ.เฉวตรสรร ยังกล่าวว่า สำหรับการประเมินประสิทธิผลวัคซีนจากการใช้จริง โดยเป็นความร่วมมือระหว่างคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับคณะทำงานติดตามประสิทธิผลวัคซีนป้องกันโรคโควิด และคณะทำงานวิชาการ โดยพบว่า ข้อมูลในจ.เชียงใหม่ จะพบว่า การระบาดช่วงแรกๆ ตั้งแต่ ต.ค.2564 อัตราการเสียชีวิตของผู้สูงอายุยังไม่มาก แต่ค่อยๆเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะช่วงเดือน ม.ค.- ก.พ. โดยเดือน ก.พ.2565 คนสูงอายุเมื่อเทียบกับคนเสียชีวิตทั้งหมดสูงถึง 89.5%

อย่างไรก็ตาม ผลเบื้องต้นจากการประเมินประสิทธิผลของวัคซีนโควิดที่จ.เชียงใหม่ เมื่อตั้งแต่เดือนม.ค.และก.พ.2565 ในเรื่องการป้องกันการติดเชื้อโอมิครอน ดังนี้ กรณีฉีดวัคซีน 2 เข็มในช่วงเดือน ม.ค. 65 และก.พ.65 ไม่สามารถป้องกันโอมิครอนได้ กรณีฉีดวัคซีน 3 เข็ม ในเดือนม.ค. 65 ป้องกันติดเชื้อ 68% และเดือน ก.พ.ป้องกันได้ 45% กรณีฉีดวัคซีน 4 เข็ม เดือน ก.พ.ป้องกันได้ 82% แต่จุดสำคัญคือ ป้องกันการเสียชีวิต

ในส่วนตัวเลขการป้องกันการเสียชีวิต ดังนี้ กรณีฉีดวัคซีน 2 เข็ม ในเดือน ม.ค. ป้องกันการเสียชีวิต 93% และเดือนก.พ. 85% กรณีฉีดวัคซีน 3 เข็ม ในเดือน ม.ค.ป้องกันการเสียชีวิตได้ 98% และเดือนก.พ. ได้ 98% กรณีฉีดวัคซีน 4 เข็ม ยังไม่มีผู้เสียชีวิตในผู้ที่ได้วัคซีน 4 เข็ม

นพ.เฉวตสรร ยังกล่าวอีกว่า สำหรับตัวเลขผลเบื้องต้นการประเมินประสิทธิผลของวัคซีนในกลุ่มผู้มีความเสี่ยงระดับประเทศ ของเดือน ม.ค.2565 พบว่า การป้องกันการติดเชื้อหากฉีด 2 เข็ม ป้องกันได้ 4.1% ซึ่งต่ำมากเหมือนไม่ป้องกัน ส่วน 3 เข็มป้องกันได้ 56% และ 4 เข็มป้องกันได้ 84.7% แต่หากป้องกันอาการรุนแรงและเสียชีวิต เมื่อฉีดวัคซีน 2 เข็ม 54.8% หากฉีด 3 เข็ม 88.1% แต่กรณีป้องกันการเสียชีวิตพบว่า 2 เข็ม ป้องกันได้สูงถึง 79.2% ส่วนหากฉีดวัคซีน 3 เข็ม จะป้องกันการเสียชีวิตได้ถึง 87%

"วัคซีนเข็ม 3 จึงป้องกันการเสียชีวิตได้มาก ประชาชนอาจมีข้อสงสัยลังเล หรือไม่แน่ใจว่า ควรแนะนำฉีดวัคซีนป้องกันโควิดในผู้สูงอายุหรือไม่ เรื่องนี้สำคัญมาก เพราะหากมีการสื่อสารข้อมูลถูกต้องจะช่วยชีวิตคนได้ แต่หากข้อมูลไม่ถูกต้อง อาจทำให้ขาดโอกาสเข้าถึงวัคซีน และมี 50-60% ของผู้เสียชีวิตที่พลาดโอกาสการรับวัคซีนตรงนี้" นพ.เฉวตสรร กล่าวว่า

นอกจากนี้ เรื่องความเชื่อที่ว่า ผู้สูงอายุอยู่บ้าน ไม่ไปไหนคงไม่เสี่ยง แต่ความจริง ปัจจุบันติดต่อกันง่ายมาก การอยู่บ้านมีหลายคนเข้าออกตลอด คนที่อยู่บ้านย่อมติดเชื้อได้ อย่างการระบาดระลอกปัจจุบันประมาณ 80% ของผู้เสียชีวิต คือ ผู้สูงอายุ ซึ่งในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ 60% ไม่ได้ฉีดวัคซีน และ 29% ไม่ได้ฉีดเข็มกระตุ้น รวมทั้งข้อสงสัยว่า ญาติอายุมากแล้วฉีดวัคซีนจะอันตรายหรือไม่ ความจริงคือ ไทยฉีดไปแล้วมากกว่า 120 ล้านโดส ยืนยันได้ว่าปลอดภัย ซึ่งหากฉีดแล้วมีอาการไม่พึงประสงค์ ก็มีระบบในการดูแลเช่นกัน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สมศักดิ์' ฟุ้งปีหน้า 'รัฐบาลอิ๊งค์' ฉลุย อีก 2 ปีครึ่ง พท. กลับมายิ่งใหญ่

'สมศักดิ์' มองทิศทางการเมืองปี 68 มั่นใจรัฐบาลแพทองธาร เดินไปได้ไร้ปัญหาสะดุดล้ม พรรคร่วมไม่ถึงขั้นแตกหัก ฟุ้งอีก 2 ปีครึ่ง เพื่อไทยกลับมายิ่งใหญ่

โควิดพุ่ง! ติดเชื้อใหม่รอบสัปดาห์ 3,039 ราย ดับ 1 คน 'เชียงใหม่' ป่วยสูงสุด

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 22 - 28 ธันวาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่

กรมควบคุมโรค เผย ชาวอเมริกันติดไวรัสไข้หวัดนกจากฝูงนกหลังบ้านเป็นรายแรก หนัก!นอนICU

กรมควบคุมโรค เผยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐฯ หรือ Centers for Disease Control and Prevention (CDC) รายงาน ผู้ติดเชื้อไวรั