'หมอธีระ' ชี้โอมิครอนครองโลกเบ็ดเสร็จแล้ว รายงาน WHO ชี้ชัดกวาดไป 99.99% ตอกย้ำ Long COVID จะเป็นปัญหาใหญ่ในระยาว
16 มี.ค.2565 - นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ประจำวันที่ 16 มีนาคม 2565 ว่าทะลุ 461 ล้าน เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่มสูงถึง 1,584,841 คน ตายเพิ่ม 4,392 คน รวมแล้วติดไปรวม 461,359,298 คน เสียชีวิตรวม 6,072,226 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ เกาหลีใต้ เยอรมัน เวียดนาม ฝรั่งเศส และอิตาลี
เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 9 ใน 10 อันดับแรก และ 16 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 89.81 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 73.95 การติดเชื้อใหม่ในทวีปเอเชียนั้นคิดเป็นร้อยละ 44.51 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 30.53
...สถานการณ์ระบาดของไทย เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่ รวม ATK สูงเป็นอันดับ 12 ของโลก และอันดับ 4 ของเอเชีย ในขณะที่จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน 66 คน สูงเป็นอันดับ 17 ของโลก
...สรุปการระบาดของ WHO องค์การอนามัยโลกออกรายงาน WHO Weekly Epidemiological Report ล่าสุดเมื่อวานนี้ 15 มีนาคม 2565 สถิติรายสัปดาห์ ทั่วโลกมีจำนวนการติดเชื้อใหม่เพิ่มขึ้น 8% แต่การเสียชีวิตลดลง 17% หากเจาะดูภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ติดเชื้อใหม่ลดลง 21% เสียชีวิตลดลง 15% เมื่อดูของไทยโดยใช้ข้อมูลจาก Worldometer จะพบว่า ติดเชื้อใหม่ยังคงเพิ่มขึ้น 2% และตายเพิ่มขึ้นถึง 30% สะท้อนให้เห็นว่าสถานการณ์ระบาดยังรุนแรงต่อเนื่อง
ทั้งนี้ข้อมูลจากรายงาน WHO ระบุว่า ปัจจุบันสายพันธุ์ Omicron ครองการระบาดทั่วโลกถึง 99.9% ในขณะที่เดลตาเหลือ 0.1%
...อัพเดต Long COVID "อัตราความชุกของ Long COVID ในเยอรมัน ที่ผลกระทบต่อสมรรถนะการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงาน มีสูงถึง 28.5%" Peter RS และคณะจากประเทศเยอรมัน ติดตามศึกษาผู้ที่เคยติดเชื้อโรคโควิด-19 จำนวน 11,710 คน อายุเฉลี่ย 44.1 ปี เป็นเพศหญิงร้อยละ 60 โดยติดตามไปนานเฉลี่ย 8.5 เดือน มีเพียง 3.5% ที่เคยติดเชื้อโรคโควิด-19 จนต้องนอน รพ. (แปลได้อีกนัยหนึ่งคือ ส่วนใหญ่ป่วยเล็กน้อยหรือติดเชื้อแบบไม่มีอาการ)
หากเจาะลึกเฉพาะคนที่มีอาการ Long COVID และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน สุขภาพ และสมรรถนะการทำงาน จนทำให้ลดลงเหลือ 80% หรือน้อยกว่านั้น พบว่ามีความชุกสูงถึง 28.5% ของคนที่เคยติดเชื้อทั้งหมด และหากปรับตามฐานอายุและเพศ (age and sex standardized rate) ก็ยังคงสูงถึง 26.5%
ผลการศึกษาในเยอรมันนี้ ตอกย้ำความสำคัญของภาวะ Long COVID ซึ่งจะเป็นปัญหาใหญ่ที่ตามมาในระยะยาว หากควบคุมป้องกันโรคไม่ดี ประเทศที่มีคนติดเชื้อจำนวนมากจะมีโอกาสพบคนที่ประสบปัญหานี้สูง ส่งผลกระทบต่อทั้งสถานะสุขภาพ ผลิตภาพจากการทำงาน และค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาหรือฟื้นฟูสภาพ ในระดับบุคคล ครอบครัว และประเทศ
Long COVID will be the "Pandemic after Pandemic" การติดตามความรู้ที่ถูกต้อง และนำไปใช้ประพฤติปฏิบัติอย่างเหมาะสมสำหรับตนเองและครอบครัว เป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้เราประคับประคองตัวจนผ่านพ้นวิกฤติการระบาดระยะยาว ใส่หน้ากากนะครับ เว้นระยะห่างจากคนอื่น พบปะกันสั้นๆ ไม่กินดื่มหรือแชร์ของกินของใช้ หากไม่สบาย ควรบอกกันให้ทราบ หยุดเรียนหยุดงาน ไปรักษาให้หายดีเสียก่อน
อ้างอิง
Peter RS et al. Prevalence, determinants, and impact on general health and working capacity of post-acute sequelae of COVID-19 six to 12 months after infection: a population-based retrospective cohort study from southern Germany. medRxiv. 15 March 2022.
เครดิตภาพ: Bansal R et al. J Clin Transl Endocrinol. 2022 Mar;27:100284.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
Siamsquare จัดเวที countdown ใหญ่ ให้วงเยาวชนไทยได้เป็นดาว!! ตอกย้ำการเป็นพื้นที่แห่งโอกาสของดาวดวงใหม่ของคนไทยทุกดวง
ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมส่งท้ายปี 2024 กับเยาวชนและคนไทย พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน รองอธิการบดี ด้านการจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (PMCU) , อาจารย์ ดร.จรัสพัฒน์ พฤกษารัตนวุฒิ ผู้ช่วยอธิการบดี ด้านการจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รัฐบาลเตือนเช็กอาการ 6 โรคหลังไปเที่ยวปีใหม่
รองโฆษกรัฐบาลขอ ปชช.เดินทางท่องเที่ยว ปลอดภัย ไร้โรค ไร้ภัย แนะหมั่นสังเกตอาการ หลังเดินทางกลับ หากมีอาการผิดปกติ รีบพบแพทย์