อนุญาตให้มีการบริโภคสุรา หรือ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในงานได้ เฉพาะสถานที่ที่ผ่านการตรวจประมินตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย ตามมาตรฐานความสะอาดปลอดภัยป้องกันโรค COVID – 19 รองรับสุขภาพดี วิถีใหม่ ของกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัย แล้วเท่านั้น และให้บริการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ได้ไม่เกินเวลา 23.00 นาฬิกา
15 มี.ค.2565- พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ออกประกาศกรุงเทพมหานคร (กทม.) เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 51) โดยระบุว่าเพื่อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมสามารถดำเนินการไปได้อย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับมาตรการด้านสาธารณสุข จึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
- การให้บริการเพื่อการจัดประชุม สัมมนา หรือการจัดงาน ในโรงแรม ศูนย์แสดงสินค้าศูนย์ประชุม สถานที่จัดนิทรรศการ ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ สถานที่ให้บริการห้องประชุม ห้องจัดเลี้ยง สถานที่จัดเลี้ยง หรือสถานที่อื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน ให้ปฏิบัติตามมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กรที่กำหนด รวมทั้งดำเนินการตามแนวปฏิบัติที่กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) กำหนดอย่างเคร่งครัด
โดยอนุญาตให้มีการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในงานได้เฉพาะสถานที่ที่ผ่านการตรวจประมินตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย Amazing Thailand Safety and Health Administration) ในระดับ SHA PLUS ของกระทรวงการท่องเที่ยวและก็ฬา โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) หรือตามมาตรฐานความสะอาดปลอดภัยป้องกันโรค COVID – 19 รองรับสุขภาพดี วิถีใหม่ (Thai Stop Covid 2 Plus) ของกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัย แล้วเท่านั้น และให้บริการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ได้ไม่เกินเวลา 23.00 นาฬิกา
สำหรับจำนวนผู้เข้าร่วมงานให้พิจารณาตามความเหมาะสมของสถานที่ภายใต้แนวทางดำเนินการตามประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 45) ลงวันที่ 30 ตุลาคม2564 ข้อ 6
- กรณีนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ เจ้าของสถานที่ ผู้ประกอบการ ผู้ใช้บริการ ผู้ร่วมกิจกรรม และบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง ยังคงต้องดำเนินการตามประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 53) ลงวันที่ 22 มกราคม 2565
ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามอาจมีความผิดตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 มาตรา 51 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือมาตรา 52 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แล้วแต่กรณี และอาจมีความผิดตามมาตรา 18 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
อนึ่งเนื่องจากเป็นกรณีที่มีความจำเป็นรีบด่วนหากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรงแก่สาธารณชนหรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ จึงไม่อาจให้คู่กรณีใช้สิทธิโต้แย้ง ตามมาตรา 30วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
ทั้งนี้มีผลตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ททท.ตราด งัดตัวเลขสวนเอกชน กระแสเกาะกูดฉุดนักท่องเที่ยว
ผอ.ททท.ตราด โต้กระแส MOU 44 ทำยอดนักท่องเที่ยวเกาะกูดหลนวูบ กางตัวเลขนทท. ไม่มีลด ย้ำ รัฐบาลสร้างความมั่นใจผ่านข้อเท็จจริง ขณะที่ “อนุทิน”ลงพื้นที่ตรวจราชการจันทร์นี้
ตำรวจเมืองคอนนั่งไม่ติด โจรลูบคมปล้นกลางห้างดังติดกัน 2 ครั้ง
ตำรวจเมืองคอนตำรวจชี้แจงยิบกรณีคนร้ายจองเวรควงปืนจี้ขิงทองกลางห้างโลตัส 2 ครั้งในรอบ 5 เดือน
'นิด้าโพล' เผยคนกรุงพอใจผลงาน 2ปี 'ชัชชาติ' ผลสำรวจชี้เกิน 40% ยังจะเลือกทำหน้าที่ต่อ
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “2 ปี ผู้ว่าฯ ชัชชาติ” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 16-27 พฤษภาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร ครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 50 เขต
อัด 'ชัชชาติ' ถนัดงานโยธายังสอบตก แล้วงานสร้างแบรนด์จะเหลืออะไร!
นายอัษฎางค์ ยมนาค โพสต์ในเฟซบุ๊ก "เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค" วิจารณ์นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่ารากชการกรุงเทพมหานคร ว่า ชัชชาติ