เผย 3 อาการผู้ติดเชื้อโควิด ต้องเข้าระบบให้เร็วที่สุด ย้ำเก็บเตียงให้ผู้ป่วยสีเหลือง-แดง

14 มี.ค.2565 - ที่ทำเนียบรัฐบาล พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค.แถลงสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศไทยว่า ก่อนหน้านี้ ศบค.ขอความร่วมมือประชาชนว่าหากเป็นผู้ป่วยสีเขียว ไม่มีอาการรุนแรง ให้เข้าสู่ระบบ 1330 ปกติ เพื่อสงวนเตียงสีเหลือง สีแดง ให้ผู้ที่มีความจำเป็นจริงๆ ที่ให้โทรสายด่วน 1169 โดยมีเกณฑ์การประเมินคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติกรณีโรคติดเชื้อโควิด-19 ใหม่ สำหรับ USEP Plus โดยผู้ป่วยตรวจที่มีผลตรวจ ATK หรือ RT-PCR มีผลเป็นบวก ร่วมกับมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

1.หัวใจหยุดเต้น มีสิ่งอุดกลั้นทางเดินหายใจ หายใจลำบากเฉียบพลัน มีภาวะช็อค ภาวะโคม่า มีอาการซึมลงเมื่อเทียบกับระดับความรู้ตัวเดิม หรือกำลังชักเมื่อแรกรับที่จุดคัดแยก 2.มีอาการไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียสนานกว่า 24 ชั่วโมง หรือหายใจเร็วกว่า 25 ครั้งต่อนาทีในผู้ใหญ่ ปริมาณออกซิเจนปลายนิ้วน้อยกว่า 94% หรือมีโรคประจำตัวที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือจำเป็นต้องติดตามอาการอย่างใกล้ชิดตามดุลพินิจของแพทย์ หรือในเด็กหากมีอาการหายใจลำบาก ดื่มนมหรือทานอาหารได้น้อยลง

พญ.อภิสมัย กล่าวว่า 3.มีอาการเหนื่อยหอบ หายใจเร็ว มีปัจจัยเสี่ยงอาการรุนแรง หรือโรคร่วม เช่น อายุมากกว่า 60 ปี โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคปอดเรื้อรังอื่นๆ ไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวานที่คุมไม่ได้ ภาวะอ้วน น้ำหนักเกิน 90 กิโลกรัม หญิงตั้งครรภ์ ตับแข็ง ภูมิคุ้มกันต่อ หรือเม็ดเลือดขาวน้อยกว่า 1 พันเซลล์ต่อไมโครลิตร อื่นๆ หรือตามดุลพินิจของผู้คัดแยก กระทรวงสาธารณสุขเน้นย้ำว่าผู้ป่วยเหล่านี้ต้องเข้าสู่ระบบการรักษาให้เร็วที่สุด ไม่ควรรอ โดยช่องทางแบบผู้ป่วยนอกอย่างใกล้ชิด หรือ OPD ที่โรงพยาบาลใกล้บ้านได้ แต่สำหรับผู้ป่วยสีเขียวเก็บเตียงให้ผู้ป่วยที่มีความจำเป็นจริงๆ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โควิดพุ่ง! ติดเชื้อใหม่รอบสัปดาห์ 3,039 ราย ดับ 1 คน 'เชียงใหม่' ป่วยสูงสุด

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 22 - 28 ธันวาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่

'หมอยง' ชี้สถานการณ์โควิดเปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่ไวรัสยังอยู่ต่อไป

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า 5 ปี โควิด 19 กาลเวลาเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน

ย้อนดู 5 ปี 'โควิด 19' ความสับสนของข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬา โพสต์เฟซบุ๊กว่า