'หมอยง' ลุยศึกษาวิจัยภูมิต้านทานหลังได้รับวัคซีนโควิด-19 ในเด็กอายุ 6-11 ปี

'หมอยง' เผย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ศึกษาวิจัยเปรียบเทียบความปลอดภัยและผลภูมิต้านทานหลังได้รับวัคซีนโควิด-19 ในเด็กอายุ 6-11 ปี ผู้ปกครองท่านใดมีความประสงค์ให้บุตรหลานเข้าร่วมโครงการได้

9 มี.ค.2565-ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า

การศึกษาวิจัยโควิด-19 วัคซีน ในเด็กอายุ 6-11 ปี

ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีโครงการศึกษาวิจัย การศึกษาเปรียบเทียบความปลอดภัยและผลภูมิต้านทานหลังได้รับวัคซีนโควิด-19 โดยการให้วัคซีนตามกระทรวงสาธารณสุข โดยให้ เข็มแรกเป็นวัคซีนเชื้อตาย (Sinovac) และเข็มที่สอง ให้วัคซีนเอ็ม อาร์ เอน เอ (Pfizer) ในเด็กอายุ 6 ถึง 11 ปี เพื่อให้ทราบถึงภูมิต้านทาน และจะเป็นประโยชน์ กับการให้วัคซีนประเทศไทยระยะยาว

การศึกษานี้ จะมีการตรวจเลือด วัดระดับภูมิต้านทานก่อนและหลังการรับวัคซีน
โครงการนี้ได้ผ่านการอนุมัติในการศึกษาจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย IRB no. 0059/2565

ผู้ปกครองท่านใดที่มีบุตรหลานโดยชอบธรรม และยินดีเข้าร่วมโครงการ บุตรหลานจะต้องมีอายุ 6 ถึง 11 ปี มีร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว ไม่เคยติดเชื้อโควิด-19 มาก่อน และไม่เคยได้รับวัคซีนโควิด-19

ผู้ปกครองท่านใดมีความประสงค์ให้บุตรหลานเข้าร่วมโครงการ กรุณากรอกข้อมูลผ่านลิงค์นี้ ::

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อย่าตกใจ! ‘หมอยง’ ชี้พบโรคทางเดินหายใจมาก เป็นโรคประจำฤดูกาล จะเริ่มลดหลังเดือนก.ย.

รคทางเดินหายใจ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยเฉพาะเด็กนักเรียน จะพบมากในฤดูฝน ตั้งแต่นักเรียนเปิดเทอม ทั้งโควิด 19 ไข้หวัดใหญ่ และมาเดือนนี้เป็นฤดูกาลของ RSV

‘หมอยง’ ชี้ไข้เลือดออกปีนี้ การระบาดจะน้อยกว่าปีที่แล้วมาก

ขณะนี้จะเข้าสู่เดือนกรกฎาคมแล้ว การระบาดของไข้เลือดออกยังน้อยกว่าปีก่อนๆมาก และมีแนวโน้มว่าการระบาดจะน้อยลงกว่าปีที่แล้วมาก

‘หมอยง’ เทียบระบาดโควิดปีนี้น้อยกว่าปีก่อน คาดปี 67 มีผู้เสียชีวิต 300 คน ส่วนใหญ่กลุ่มเปราะบาง

ขณะนี้กำลังเข้าสู่ฤดูกาล การระบาดในปีนี้เปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา จำนวนผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาลน้อยกว่าปีที่แล้ว

หมอยง ชี้โควิด-19 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เร่งศึกษาสายพันธุ์ใหม่ มีอาการป่วยเพียงเล็กน้อย

สายพันธุ์ที่ต้องเฝ้าระวังและติดง่ายกว่า สายพันธุ์ JN.1  คือสายพันธุ์  HK.2 กำลังจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สายพันธุ์นี้ก็เป็นลูกของ JN.1 ที่กลายพันธุ์ออกมา

'หมอธีระวัฒน์' เทียบผลกระทบวัคซีน 'แอสตร้า' กับ วัคซีนตัดต่อพันธุกรรม เท่ากับเด็กประถม

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา อาจารย์พิเศษสาขาประสาทวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า