“อดีตกำหนดปัจจุบัน ปัจจุบันกำหนดอนาคต
ใครกำหนดปัจจุบัน กำหนดอดีตและอนาคต”
จาก “1984” ของจอร์จ ออร์เวล
พรรคการเมืองที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังมีชีวิตอยู่คือพรรคประชาธิปัตย์ และเป็นพรรคมีฉายาต่างๆนานามากมายและย้อนแย้ง เช่น ยืนหยัดต่อสู้กับเผด็จการทหาร, มี ส.ส. หัวเอียงซ้ายและพรรคที่มี ส.ส. หัวเอียงขวา (ช่วง 6 ตุลาฯ 2519) , สนับสนุนรัฐประหาร, โหนรัฐประหาร, ได้ดีเพราะรัฐประหาร, โหนเจ้า, ไม่ยอมเจ้า, อนุรักษ์นิยม, กษัตริย์นิยม ตลอดจน “แมงสาบ”
เป็นไปได้ว่า อาจเป็นเพราะมีอายุยืนยาวนาน จึงผ่านวิกฤตทางการเมืองต่างๆมากมาย ใครชอบก็ว่าดี ไม่ชอบก็ว่าไม่ดี ยิ่งในโลกสมัยนี้ที่โซเชียลมีเดียมีอิทธิพลสูง แต่คนประชาธิปัตย์อาจไม่ได้สนใจติดตามเรื่องราวที่คนในโลกโซเชียลเขาเขียนหรือกล่าวพรรคของตน หรือแม้เป็นหนังสือหรืองานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องพรรคตัวเอง คนประชาธิปัตย์ก็คงไม่มีเวลามานั่งอ่าน
สมัยนี้ ถ้าใครอยากจะหาข้อมูลเกี่ยวกับพรรคประชาธิปัตย์ ก็คงไม่พ้นค้นจากกูเกิล และจะเจอข้อมูลจากวิกิพีเดียเป็นอันดับแรก
วิกิพีเดียเล่าประวัติศาสตร์พรรคประชาธิปัตย์ โดยขึ้นต้นไว้ว่า
“พรรคประชาธิปัตย์ (ย่อ: ปชป.) เป็นพรรคการเมืองไทยที่เก่าแก่ที่สุด ก่อตั้งขึ้นในฐานะพรรคฝ่ายกษัตริย์นิยม และปัจจุบันเป็นพรรคฝ่ายอนุรักษนิยม” โดยมีเชิงอรรถถึง 4 รายการ
ได้แก่
ก. "Demise of the Democrat Party in Thailand".
ข. "Democrat Party (DP) / Phak Prachathipat". GlobalSecurity.org. สืบค้นเมื่อ 16 May 2020. Of the four ruling coalition parties in 1987, the Democrat Party was considered to be somewhat liberal, despite its beginning in 1946 as a conservative, monarchist party.
ค. "Thailand's main political parties". Al Jazeera. 3 July 2011. สืบค้นเมื่อ 16 May 2020. Prime Minister Abhisit Vejjajiva's ruling Democrat Party was founded in 1946. It is conservative, pro-monarchy and establishment, backed by the military and most of the Bangkok-based elite.
ง. Bunbongkarn, Suchit (1999), "Thailand: Democracy Under Siege", Driven by Growth: Political Change in the Asia-Pacific Region, M.E. Sharpe, p. 173, ISBN 9780765633446
แต่ละรายการ ใครเขียน ? และเขียนจากแหล่งข้อมูลอะไร ?
"Demise of the Democrat Party in Thailand" (มรณกรรมของพรรคประชาธิปัตย์) เป็นข้อเขียนของ Joshua Kurlantzick (โจชัว เคอร์แลนต์ซิค) เป็นบทความความยาวขนาด 45 บรรทัด เผยแพร่ในบล๊อกโพสต์ (blogpost) ทางอินเตอร์เนทวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556 (December 9, 2013 12:47 pm) (https://www.cfr.org/blog/demise-democrat-party-thailand) ในเพจของ Council on Foreign Relations
ในตอนที่แล้ว ได้ชี้ให้เห็นว่าบทความของคุณโจชัว เคอร์แลนต์ซิค ไม่ได้กล่าวถึงการก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์ ดังนั้น บทความนี้จึงไม่ใช่แหล่งอ้างอิงที่สนับสนุนว่าประชาธิปัตย์ “…ก่อตั้งขึ้นในฐานะพรรคฝ่ายกษัตริย์นิยม”
แต่ในบทความของเขาได้กล่าวว่า “…แต่ตั้งแต่ชนชั้นกลางและคนชนชั้นแรงงานในชนบทมีพลังมากขึ้น (the Thai rural working and middle class has become empowered) คนประชาธิปัตย์ (the Democrats) ก็เป็นอนุรักษ์นิยมมากขึ้น” ดังนั้น แหล่งที่มาของการเป็นอนุรักษ์นิยมของประชาธิปัตย์ในวิกิพีเดียจึงน่าจะมาจากบทความนี้ด้วย
ในกูเกิลกล่าวถึงประวัติของคุณโจชัว เคอร์แลนต์ซิคไว้อย่างน้อยสองแห่งคือ เวบไซต์ของ Council on Foreign Relations (CFR) และวิกิพีเดีย ซึ่งสามารถสรุปข้อมูลเกี่ยวกับคุณเคอร์แลนต์ซิคได้ดังนี้
อายุ 47 ปี เกิดที่เมืองบัลติมอร์ มลรัฐแมรี่แลนด์ สหรัฐอเมริกา จบการศึกษาปริญญาตรีสาขารัฐศาสตร์จาก Haverford College และจากการสำรวจของผม พบว่า Haverford College เป็นสถาบันการศึกษาที่มีศิษย์เก่าที่เคยได้รางวัลโนเบล 3 คน ได้ทุน Rhodes Scholar (เป็นทุนที่บุคคลชั้นนำในหลากหลายสาขาอาชีพเคยได้รับทุนนี้ หนึ่งในนั้นคือประธานาธิบดีคลินตัน) และผู้ชิงทุน Fulbright ได้ถึง 67 คน ดังนั้น Haverford College จึงเป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำแห่งหนึ่งของอเมริกา เขาประกอบอาชีพเป็นนักข่าว (journalist) และพัฒนาจนเป็นผู้เชี่ยวชาญ (fellow) ด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ Council on Foreign Relations (ซึ่งผมจะได้อธิบายถึงองค์กรนี้ต่อไป) และเขาได้เป็นนักวิชาการที่สถาบัน Carnegie Endowment for International Peace ศึกษาเรื่องเศรษฐกิจและการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรวมถึงการศึกษาเรื่องการลงทุน การให้ความช่วยเลือกและการทูตของจีน ก่อนหน้านี้ เคยเป็นผู้เชี่ยวชาญ (fellow) ที่ศูนย์การศึกษาการทูตสาธารณะ (Public Diplomacy) ที่มหาวิทยาลัยเซาเทิร์น แคลิฟอร์เนีย (Southern California) และที่สถาบัน Pacific Council on International Policy
ปัจจุบันเป็นผู้เชี่ยวชาญอาวุโส (Senior Fellow) ขององค์กร CFR ในเรื่องเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเชี่ยวชาญ (expert) เกี่ยวกับเอเชีย ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนและประเทศไทย นอกจากนี้ ยังเป็นคอลัมนิสต์ให้นิตยสาร Time และผู้สื่อข่าวพิเศษให้กับนิตยสาร The New Republic และเป็นผู้สื่อข่าวอาวุโสให้กับนิตยสาร American Prospect และเขียนบทความให้นิตยสาร Mother Jones (นิตยสารแนวเสรีก้าวหน้า ตั้งชื่อจากผู้ที่ประท้วงต่อต้านการใช้แรงงานเด็ก) และเป็นหนึ่งกองบรรณาธิการของ Current History (นิตยสารการเมืองโลกที่เก่าแก่ที่สุดของอเมริกา ไม่ถือว่าเป็นแนวเอียงซ้ายในอเมริกา) และได้รางวัล the Luce Scholarship ในสาขาหนังสือพิมพ์ในเอเชีย (journalism) และได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้เข้ารอบสุดท้ายรางวัล Osborne Elliot Prize สาขาหนังสือพิมพ์ในเอเชียด้วย เขาสนใจติดตามศึกษาเรื่อง การใช้ Soft และ Sharp Power ของจีน, ประเด็นต่างๆที่เกี่ยวกับการเกิดกระแสประชานิยมในโลก ในเอเชีย และผลกระทบจากโรคระบาดโควิด-19 ที่มีต่อกระแสประชานิยมที่ไม่เสรี (illiberal populism) และเสรีภาพทางการเมืองโดยรวม
ส่วน CFR ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1921 เป็นหนึ่งในองค์กรทิงค์แทงค์ (think tank) ที่ไม่ขึ้นกับรัฐบาล และเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร และยืนยันในความเป็นอิสระและเป็นกลาง เชี่ยวชาญเกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศสหรัฐฯและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ผลงานที่เป็นหนังสือเล่มแรกของเขาคือ Charm Offensive: How China’s Soft Power Is Transforming the World ได้รับการเสนอชื่อให้ชิงรางวัล Arthur Ross Book ของ Council on Foreign Relations ในปี ค.ศ. 2008 ส่วนหนังสือเล่มล่าสุดคือ Beijing’s Global Media Offensive: China’s Uneven Campaign to Influence Asia and the World
ภูมิหลังและผลงานข้างต้นของเขานับว่าโดดเด่นมากทีเดียว
ท่านผู้อ่านคงได้เห็นทรรศนะของเขาต่อวิกฤตการเมืองไทย พ.ศ. 2556 ที่ผมได้นำเสนอไปในตอนที่แล้ว นั่นคือ เขาไม่เห็นด้วยกับการที่คนประชาธิปัตย์ลาออกจากการเป็น ส.ส. และลงถนนร่วมประท้วงรัฐบาลยิ่งลักษณ์ เพราะเขาเห็นว่า เป็นวิธีการที่นำไปสู่สภาวะอนาธิปไตยเพื่อล้มรัฐบาล แทนที่จะต่อสู้ผ่านกระบวนการเลือกตั้ง
แน่นอนว่า คนประชาธิปัตย์จำนวนหนึ่งคงไม่ชอบที่คุณโจชัว เคอร์แลนต์ซิคเห็นว่า การลงถนนประท้วงของคนประชาธิปัตย์เป็นการต่อต้านประชาธิปไตย
แต่น่าสนใจที่จะฟังทรรศนะของเขาจากบทความเรื่อง “Tanks Roll in Thailand” ที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2549 https://www.washingtonpost.com/archive/opinions/2006/09/24/tanks-roll-in-thailand/d07cd2df-5634-4888-ab63-02b0d3330c1d/)
เพราะตอนหนึ่งในบทความดังกล่าว เขาได้กล่าวถึง ทักษิณ ชินวัตร ไว้ว่า “ตั้งแต่เขา (ทักษิณ/ผู้เขียน) ได้รับเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2544 เขาได้ทำลายสถาบันประชาธิปไตยต่างๆของไทยลงอย่างช้าๆ และนโยบายเศรษฐกิจต่างๆของเขา แม้ว่าจะประสบความสำเร็จตอนเริ่มต้น แต่เขาก็เอาอนาคตของประเทศมาจำนอง (หรืออีกนัยหนึ่งคือ ใช้เงินอนาคต/ผู้เขียน) ผลที่ตามมาก็คือ เมื่อเขาจำเป็นที่ต้องระดมการสนับสนุนจากผู้ที่นิยมประชาธิปไตยของประเทศในสัปดาห์ที่แล้ว (ช่วงเกิดรัฐประหารในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549/ผู้เขียน) เขากลับพบคนเพียงน้อยนิดที่จะอยู่ข้างเขา”
ในตอนต่อไป เราจะมาอ่านบทความดังกล่าวฉบับเต็มของคุณโจชัว เคอร์แลนต์ซิคกัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ดร.เอ้' เรียก 'ทีมกทม. ปชป.' ประชุมวางยุทธศาสตร์แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม
นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รับผิดชอบกรุงเทพมหานคร เรียกประชุมสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) และคณะทำงานพรรคในพื้นที่กรุงเทพฯ พร้อมกับเชิญ น.ต. สุธรรม ระหงษ์ รองหัวหน้าพรรค
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 43)
ก่อนจะเกิดรัฐธรรมนูฉบับที่ 4 หรือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2490 เรามีรัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 คือฉบับ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475
'อดีตแม่ยกปชป.' เตือน 'ทักษิณ' พาดพิง 'ชวน' ถือว่าคิดผิด เชื่อใกล้จบอนาคตในเร็ววันนี้
นางกาญจนี วัลยะเสวี หรือ ติ๊งต่าง เจ้าของฉายาไฮโซสปอร์ตคลับและแกนนำกลุ่ม ชาวไทยหัวใจรักสงบ อดีตแม่ยกพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความว่า
พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ? (ตอนที่ 53)
ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกา วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 อันเป็นพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 42)
ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้แสดงให้เห็นถึงการปกครองภายใต้คณาธิปไตยสืบทอดอำนาจของคณะราษฎรตลอดระยะเวลา 13 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2476-2489
'จุรินทร์' ยึดหลัก 4 ข้อ โหวตแก้รธน. เชื่อ สว. ลงมติมีเหตุผลอยู่แล้ว
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ สส. บัญชีรายชื่อ อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงอุปสรรคในการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ประธานรัฐสภา จะบรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมร่วมรัฐสภา