ในหนังสือ “เอกสารการเมือง-การปกครองไทย” ที่ตีพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๑๘ ชัยอนันต์ สมุทวนิช และ ขัตติยา กรรณสูตรได้รวบรวมเอกสารสำคัญในการเมืองการปกครองไทยระหว่าง พ.ศ. ๒๔๑๗-๒๔๗๗ เอกสารเหล่านี้เป็นเอกสารชั้นต้นที่ถูกใช้อ้างอิงในการเขียนงานวิจัย หนังสือ ตำราต่างๆที่เกี่ยวกับการเมืองการปกครองไทยในช่วงเวลาดังกล่าว
เรื่องสุดท้ายในหนังสือ คือ เรื่องที่ ๑๒ ว่าด้วยการสละราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งอาจารย์ชัยอนันต์และอาจารย์ขัตติยาได้ค้นคว้าและนำเอกสารสำคัญมาตีพิมพ์ไว้ นั่นคือ เอกสารพระราชบันทึกของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก่อนการสละราชสมบัติและคำสนองพระราชบันทึกของคณะรัฐบาล
ในตอนก่อนๆ ผู้เขียนได้นำเสนอพระราชบันทึกข้อ ๑ ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว, “สนองพระราชบันทึก” ที่ฝ่ายรัฐบาลทำหนังสือทูลเกล้าฯตอบพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว, “พระราชกระแสที่ทรงไขความแก้คำสนองของรัฐบาลในข้อ ๑”, “สนองพระราชกระแสที่ทรงไขความข้อ ๑” ที่รัฐบาลได้ทำหนังสือทูลเกล้าฯตอบ, “พระราชบันทึก ข้อ ๒” (ที่ทรงตอบกลับ), “สนองพระราชบันทึก” หรือข้อโต้แย้งของฝ่ายรัฐบาลที่มีต่อ “พระราชบันทึก ข้อ ๒”, “พระราชกระแสที่ทรงไขความแก้คำสนองของรัฐบาลในข้อ ๒”, “สนองพระราชกระแสที่ทรงไขความในข้อที่ ๒” (รัฐบาลตอบ), สนองพระราชบันทึก (ข้อ ๒), พระราชกระแสที่ทรงไขความแก้คำสนองของรัฐบาลในข้อ ๒, สนองพระราชกระแสที่ทรงไขความในข้อที่ ๒ (รัฐบาลตอบ)
ในตอนนี้ ผู้เขียนจะได้นำ “พระราชบันทึก ข้อ ๓” ที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯทรงตอบรัฐบาลและ “สนองพระราชบันทึก” (รัฐบาลตอบ พระราชบันทึก ข้อ ๓) มานำเสนอแด่ท่านผู้อ่าน
“พระราชบันทึก ข้อ ๓”
“ใน ๒ ข้อแรกนั้น ข้าพเจ้าได้ขอให้แก้รัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจกล่าวกันได้ว่าไม่เป็นการสมควรก็ได้ เพราะข้าพเจ้าได้ยินยอมลงนามในรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามนั้น แต่ที่จริงนั้น ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยมาตั้งแต่ต้น และได้คัดค้านอยู่ตลอดเวลา แต่หากไม่เป็นผล จึงได้จำยอมไป มาบัดนี้ มีโอกาสที่จะพูดอีกครั้งหนึ่ง จึงได้พูดไปตามใจคิด ข้าพเจ้าเห็นว่า ไม่ควรทำอะไรครึ่งๆกลางๆ ถ้าจะดำเนินการปกครองตามแบบรัฐธรรมนูญ ก็ควรจะทำกันจริงๆ หรือถ้าเห็นว่ายังไม่เหมาะเวลา จะทำกันอย่างอื่นก็ควรทำกันจริงๆเหมือนกัน ไม่ใช่บูชารัฐธรรมนูญ แต่ก็ไม่ทำตามหลักการกันจริงๆ ทำอะไรครึ่งๆกลางๆ ข้าพเจ้าไม่ชอบ
ต่อไปนี้ ข้าพเจ้าจะขอให้รัฐบาลทำการตามหลักการของรัฐธรรมนูญจริงๆ คือ ทำตามมาตรา ๑๔ แห่งรัฐธรรมนูญ (มาตรา ๑๔ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ มีความว่า “ภายในบังคับแห่งบทกฎหมาย บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในร่างกาย เคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การโฆษณา การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ”)
ก. การให้เสรีภาพในการพูด การเขียน การโฆษณาจริงๆ
ตามที่เป็นมาแล้ว หนังสือพิมพ์ที่พูดอะไรไม่เป็นที่พอใจของรัฐบาลก็ถูกปิดและหนังสือพิมพ์ที่คัดค้านนโยบายของรัฐบาลต้องเลิกล้ม เช่น หนังสือพิมพ์เดลิเมล์ เป็นต้น ต่อไปขอให้อนุญาตให้หนังสือพิมพ์ออกความเห็นได้จริงๆ และให้ติชมนโยบายของรัฐบาลได้จริง จะถูกปิดได้ต่อเมื่อยุยงให้เกิดการจลาจลอย่างชัดๆเท่านั้น เมื่อครั้งก่อนมีรัฐธรรมนูญ หนังสือพิมพ์มีเสรีภาพกว่าเดี๋ยวนี้เป็นอันมาก
ขอให้เลิกการจับกุมราษฎรโดยหาว่า ‘กล่าวร้ายรัฐบาล’ เวลานี้ต้องระวังปากระวังคอกันเต็มที่ โดยกลัวสิ่งที่เรียกกันว่า ‘โอษฐภัย’
เสรีภาพในข้อ ก. นี้ย่อมต้องอยู่ในกรอบแห่งรัฐธรรมนูญ นั่นเป็นของขีดที่ควรวางใจได้
ข. ให้เสรีภาพในการประชุมโดยเปิดเผย และการตั้งสมาคม
ในเวลานี้ ยังตั้งสมาคมการเมือง (พรรคการเมือง/ผู้เขียน) ไม่ได้ ควรอนุญาตให้ตั้งได้ ถ้าวัตถุประสงค์ไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ และต้องไม่ให้ทหารบก ทหารเรือ และตำรวจประจำการเป็นสมาชิกสมาคมการเมือง
การประชุมนั้นเคยมีเรื่องแปลกๆ เช่น บุคคลบางจำพวกจะชวนเพื่อนฝูงไปเลี้ยงอาหารกัน ก็มีการถีเรื่องแปลกๆ เช่น บุคคลบางจำพวกจะชวนเพื่อนฝูงไปเลี้ยงอาหารกัน ก็มีการถูกตำรวจฟ้องและถูกข้าม จนเป็นการเกรงกลัวกันมาก เป็นการตัดเสรีภาพและตัดความสุขของประชาชนบางจำพวก เห็นว่าควรเลิกการกระทำชนิดนี้”
--------------
สนองพระราชบันทึก (รัฐบาลตอบ พระราชบันทึก ข้อ ๓)
“๓. ในข้อที่จะขอให้รัฐบาลทำการหลักการของรัฐธรรมนูญจริงๆ คือ ทำตามมาตรา ๑๔ แห่งรัฐธรรมนูญนั้น รัฐบาลก็ได้ปฏิบัติอยู่แล้ว
ก. ให้เสรีภาพในการพูด การเขียน การโฆษณาจริงๆ
ข้อนี้ รัฐบาลรับรองได้แน่ เพราะได้มีพระราชบัญญัติการพิมพ์ใหม่ เปิดโอกาสให้มีการอุทธรณ์คำสั่งพนักงานการพิมพ์ได้อย่างเต็มที่ เป็นการเพิ่มสิทธิยิ่งกว่าพระราชบัญญัติเดิม
ตามที่ทรงยกตัวอย่างหนังสือพิมพ์เดลิเมล์นั้น หนังสือพิมพ์เดลิเมลย์ได้ยุยงให้เกิดการจลาจลอย่างชัด จึงต้องถูกปิด กรรมการอุทธรณ์ได้วินิจฉัยยืนตามคำสั่งพนักงานการพิมพ์ และจะทรงเห็นได้ว่า ตัวการสำคัญในหนังสือพิมพ์เดลิเมล์ เช่น นายหลุย คีรีวัต และพระยาศราภัยพิพัฒน์ได้เป็นกบฏอย่างชัดๆ นอกจากนี้ เมื่อมีพระราชบัญญัติใหม่แล้ว รัฐบาลมิได้ปิดหนังสือพิมพ์ใด และรัฐบาลต้องระมัดระวังในการที่จะสอดส่องมิให้หนังสือพิมพ์ใช้เสรีภาพในการกล่าวกระทบกระเทือนถึงพระองค์ดั่งที่เป็นมาแล้ว ก็ได้จัดการปิดหรือฟ้องร้องผู้กระทำผิด
อนึ่ง ในเรื่องการกล่าวร้ายรัฐบาลนั้น ถ้าการกล่าวนั้นเป็นการกล่าวติชมตามธรรมดา ซึ่งไม่เป็นการผิดกฎหมายอาชญาแล้ว ก็ไม่ทำการจับกุม นอกจากจะเป็นการกระทำผิดกฎหมายอาชญา ซึ่งต้องว่ากล่าวไปตามระบิลเมือง
ข. ให้เสรีภาพในการประชุมโดยเปิดเผยและการตั้งสมาคม
ข้อนี้ รัฐบาลยังข้องใจ และที่ยังมิได้อนุญาตให้มีพรรคการเมือง ก็เพราะคำนึงถึงพระราชหัตถเลขาที่ ๒/๑๒๘ ลงวันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๕ (๒๔๗๖/ผู้เขียน) ถึงพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ว่าไม่ทรงโปรดให้มีคณะการเมือง และทรงเลิกคณะราษฎรในฐานที่เป็นคณะการเมืองเสีย รัฐบาลในครั้งนั้นกระนั้นก็ได้ปฏิบัติตามแล้ว
ส่วนที่ทรงกล่าวว่า มีบุคคลบางจำพวกจะชวนเพื่อนฝูงมาเลี้ยงอาหารกัน ก็มีการถูกตำรวจฟ้อง และถูกตำรวจห้าม ข้อนี้คงจะมีคนกราบบังคมทูลความเท็จเพราะไม่เป็นความจริงเลย”
--------
ในตอนต่อไป ผู้เขียนจะได้นำ “พระราชกระแสที่ทรงไขความแก้คำสนองของรัฐบาลในข้อ ๓” ที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯทรงตอบรัฐบาล และ “สนองพระราชกระแสที่ทรงไขความข้อ ๓” และ “พระราชบันทึกข้อ ๔” มานำเสนอแด่ท่านผู้อ่าน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 37): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”
รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร
ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)
ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 36): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”
รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 47: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)
ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 อันเป็นพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร ปรับคณะรัฐมนตรีและชะลอการใช้รัฐธรรมนูญบางมาตราชั่วคราว
ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 46: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)
ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 อันเป็นพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร ปรับคณะรัฐมนตรีและชะลอการใช้รัฐธรรมนูญบางมาตราชั่วคราว
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 34): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490