๑๔ ตุลาฯ ที่เกิดขึ้นก่อน ๑๔ ตุลาฯ (ตอนที่ ๒๘)

 

 

ก่อนหน้าที่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ จะทำการประชุมพิจารณาและลงมติต่อเค้าโครงเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม  ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี “วันที่ ๙ มีนาคม ๒๔๗๖ หลวงประดิษฐ์ฯได้เสนอร่าง ‘เค้าโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ’ ต่อคณะรัฐมนตรีเป็นครั้งแรก ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้ตกลงให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้น ๑๔ คน เพื่อพิจารณาร่างเค้าโครงการเศรษฐกิจฉบับดังกล่าว” [1]  ซึ่งคณะอนุกรรมการหรือที่เรียกในครั้งนั้นว่า “คณะกรรมานุการ” ได้ประชุมพิจารณาเค้าโครงเศรษฐกิจฯในวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมดังกล่าวจำนวน ๑๔ คน และตามบันทึกรายงานการประชุมครั้งนั้น มิได้มีการลงมติแต่อย่างใด แต่เป็นการประชุมเพื่อกรรมานุการได้แสดงความคิดเห็นและทำรายงานเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีและต่อคณะราษฎรในฐานะคณะผู้ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง                     

แต่ในหน้า ๓๔๙ ของหนังสือ ปฏิวัติ 2475 1932 Revolution in Siam ที่เขียนโดยศาสตราจารย์พิเศษ ดร. ชาญวิทย์ เกษตรศิริและรองศาสตราจารย์ ดร. ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ได้กล่าวว่า “หลังจากการซักถามในหลักการ ที่ประชุมก็ได้ลงมติเห็นชอบกับเค้าโครงฯ ฉบับนี้ 8 นาย....ที่คัดค้าน...รวม 4 เสียง” [2] แต่หลังจากที่ผู้เขียนได้ตรวจสอบเชิงอรรถและหนังสืออ้างอิงที่ชาญวิทย์และธำรงศักดิ์ใช้ (ดูตอนที่ ๒๗) ก็ไม่พบว่า มีการลงมติในที่ประชุมวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ [3]  อีกทั้งผู้เขียนยังได้ตรวจสอบหนังสือที่ตีพิมพ์บันทึกรายงานประชุมฯในวันดังกล่าวอีกสองเล่ม ก็ไม่พบว่ามีการลงมติแต่อย่างใด [4]             

ในหน้า ๓๔๙ เช่นกัน ชาญวิทย์และธำรงศักดิ์ได้กล่าวว่า หลังจากการประชุมคณะกรรมานุการวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ “คณะรัฐมนตรีได้ประชุมพิจารณาปัญหานโยบายทางเศรษฐกิจครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 มีนาคม เป็นเพียงการแสดงความเห็นโดยไม่มีการลงมติ เนื่องจากนายแนบ พหลโยธิน ได้เสนอให้ที่ประชุมรอคอยพระยาพหลพลพยุหเสนากลับจากต่างจังหวัด ด้วยหวังว่า ‘อาจจะมีการประนีประนอมกันได้’”  [5]  และชาญวิทย์และธำรงศักดิ์ได้ใส่เชิงอรรถที่ 152  ซึ่งในเชิงอรรถนี้มีข้อความว่า “ ‘รายงานการประชุมคณะรัฐมนตรี,” เสาร์ 25 มีนาคม 2475 (2476 ผู้เขียน) อ้างใน วีณา มโนพิโมกษ์ ความขัดแย้งภายในคณะราษฎร, วิทยานิพนธ์ อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520 หน้า 253-257.” 

ผู้เขียนได้ตรวจสอบหน้า 253-257 ซึ่งวีณาได้ทำสำเนาบันทึกรายงานประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2475 (2476 ผู้เขียน) ไว้ และพบว่าในบันทึกรายงานประชุมฯดังกล่าว พบว่า ดูเหมือนจะมีการกล่าวถึงการประชุมคณะกรรมการนุการที่เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นอยู่ โดยพระยาทรงสุรเดชได้กล่าวว่า “ตามที่ได้พิจารณาโครงการณ์เศรษฐกิจของหลวงประดิษฐมนูธรรมแล้ว เห็นว่าถ้าหลวงประดิษฐฯ จะยอมเปลี่ยนแปลงลงบ้าง ไม่ให้มีการบังคับซื้อที่ดิน แต่จะทำในที่ว่างเปล่าแล้วก็คงจะเห็นด้วยได้” [6]  แต่ไม่มีผู้ใดที่เข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ กล่าวถึงการลงมติของการประชุมคณะกรรมานุการวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ เลย  เพราะถ้ามีการลงมติและเสียงข้างมากเห็นด้วยกับเค้าโครงเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์ฯ ก็น่าจะต้องมีผู้เข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีวันนั้นเอ่ยถึง โดยเฉพาะฝ่ายหลวงประดิษฐ์ฯ เช่น นายแนบ พหลโยธิน  อีกทั้งตัวหลวงประดิษฐ์ฯเองก็น่าจะกล่าวอ้างถึงมติที่ฝ่ายตนได้เสียงข้างมาก

บุคคลที่หลวงประดิษฐ์ฯอ้างถึงคือพระยาโอวาทวรกิจ ซึ่งไม่ได้เป็นหนึ่งในคณะกรรมานุการที่เข้าประชุมวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๖  โดยหลวงประดิษฐ์ฯได้อ้างถึงความเห็นของพระยาโอวาทวรกิจต่อเค้าโครงเศรษฐกิจของตนว่า “ถามคนดูมากแล้ว เช่น พระยาโอวาทวรกิจก็เห็นดีด้วยและไม่ตกใจ...” [7] หากการประชุมคณะกรรมานุการวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ มีการลงมติจริงและฝ่ายเห็นด้วยกับหลวงประดิษฐ์ฯเป็นฝ่ายที่ได้เสียงข้างมากจริง  หลวงประดิษฐ์ฯก็น่าจะกล่าวอ้างอิงเพื่อชี้ให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ ๒๕ มีนาคมฯรับทราบและยอมรับผลการลงมติในครั้งนั้น

ขณะเดียวกัน ผู้เขียนสันนิษฐานว่า การที่หลวงประดิษฐ์ฯอ้างความเห็นของพระยาโอวาทวรกิจทั้งๆที่พระยาโอวาทวรกิจมิได้มีความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ แต่เป็นครูผู้เชี่ยวชาญภาษาไทยและเป็นข้าราชการที่ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจากพระมหากษัตริย์ให้ดำรงตำแหน่งสำคัญก่อนหน้าการเปลี่ยนแปลงการปกครอง [8] น่าจะเป็นเพราะหลวงประดิษฐ์ฯต้องการชี้ให้เห็นว่า ขนาดพระยาโอวาทวรกิจซึ่งเป็นครูภาษาไทยและเป็นข้าราชการที่ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยฯ (พวกเจ้า/ผู้เขียน) ก็ยังเห็นดีกับเค้าโครงเศรษฐกิจของเขา และไม่ได้ตกอกตกใจอะไรอย่างที่พระยาศรีวิศาลวาจาได้กล่าวไว้ก่อนหน้าที่หลวงประดิษฐ์ฯจะอ้างถึงพระยาโอวาทวรกิจ         

ต่อมาในหน้า 350 ในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ ชาญวิทย์และธำรงศักดิ์ได้กล่าวว่า “…เมื่อวันที่ 28 มีนาคม ดูจะเป็นการประชุมที่สิ้นสุดลงอย่างรวดเร็วโดยไม่มีการถกเถียงกันเช่นครั้งก่อน (ก่อนหน้านี้ ชาญวิทย์และธำรงศักดิ์ได้กล่าวถึงการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๖) เมื่อพระยาพหลพลพยุหเสนาได้เริ่มต้นถามว่า นโยบายทางเศรษฐกิจได้จัดการอย่างใดบ้าง หลวงประดิษฐ์มนูธรรมได้เล่าถึงการเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ถัดมา พระยามโนปกรณ์นิติธาดาก็ได้ส่งบันทึกพระบรมราชวินิจฉัยของรัชกาลที่ 7 ในเรื่องเค้าโครงการเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์มนูธรรมให้หลวงประดิษฐ์ฯอ่าน วิธีการนี้ทำให้ทุกอย่างจบสิ้น หลวงประดิษฐ์ฯกล่าวว่า ‘เมื่อในหลวงไม่เห็นด้วยแล้ว ก็มีทางเดียวเท่านั้นคือ ข้าพเจ้าต้องลาออกจากรัฐมนตรี’  ในเรื่องลาออกนี้ พระยาพหลพลพยุหเสนาขอให้ระงับไว้ก่อน ซึ่งหลวงประดิษฐ์ฯ ก็บอกว่าขอคิดดูก่อน นอกจากนั้น พระยาพหลพลพยุหเสนายังได้เสนอทางออกจากความขัดแย้งนี้ 3 ประการคือ ‘1. ไม่ประกาศโครงการของผู้ใดทั้งสิ้นในระหว่างนี้ สิ่งที่ควรทำก็ทำไปก่อน (มีโครงการเศรษฐกิจที่เสนอสองโครงการ คือ โครงการของหลวงประดิษฐ์ฯและโครงการของพระยามโนปกรณ์ฯ/ผู้เขียน) 2. ส่งคนไปดูการในที่ต่างๆที่เขาทำกันหลายๆคนแล้วออกความเห็นกันมา 3. เมื่อถึงสมัยที่สองแล้ว ตั้งบุคคลสามจำพวกคือ คนมีทรัพย์ พ่อค้าและกรรมกร ขึ้นเป็นกรรมการพิจารณา’ จะเห็นว่า  ทางออกของพระยาพหลฯนั้นให้เป็นภาระของรัฐบาลชุดใหม่ที่จะพิจารณา” [9]

และชาญวิทย์และธำรงศักดิ์ได้กล่าวต่อจากข้างต้นว่า “แต่ในท้ายที่สุดที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้ลงมติรับเอานโยบายเศรษฐกิจของพระยามโนปกรณ์นิติธาดาเป็นแนวทางของรัฐบาล”  [10] ซึ่งก่อนจะมีการตัดสินใจลงมติ มีผู้ที่ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการจะให้มีการลงมติ ซึ่งชาญวิทย์และธำรงศักดิ์ไม่ได้กล่าวรายละเอียดในส่วนนี้  และผู้เขียนจะได้นำเสนอรายละเอียดที่ว่านี้ในตอนต่อไป

-------------------------------------------------

[1] เค้าโครงการเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์ มนูธรรม, ฐานข้อมูลสถาบันพระปกเกล้า, http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=เค้าโครงการเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์_มนูธรรม

[2] ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์, ปฏิวัติ 2475 1932 Revolution in Siam, พิมพ์ครั้งที่ 3, (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์: 2560), หน้า 349.

[3] หนังสือสองเล่มที่ชาญวิทย์และธำรงศักดิ์อ้างคือ ดือน บุนนาค, ท่านปรีดี รัฐบุรุษอาวุโส ผู้วางแผนเศรษฐกิจไทยคนแรก (พระนคร: เสริมวิทย์บรรณาการ, 2500) หน้า 156-194; วีณา มโนพิโมกษ์, ความขัดแย้งภายในคณะราษฎร, วิทยานิพนธ์ อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520 หน้า 65.

[4] ชัยอนันต์ สมุทวนิชและขัตติยา กรรณสูตร, เอกสารการเมือง-การปกครองไทย พ.ศ. 2517-2477,  โครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, (กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, 2518), หน้า 357-372; Kenneth Perry Landon, National Economic Policy Luang Pradist Manudharm (Pridi Banomyong) from Siam in Transition: A Brief Survey of Cultural Trends in the Five Years Since the Revolution 1932, Committees on the Project for the National Celebration on the Occasion of the Centennial Anniversary of Pridi Banomyong, Senior Statesman (private sector), (Bangkok: Ruankaew Printing House: 1999), pp. 58-78.

[5] ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์, ปฏิวัติ 2475 1932 Revolution in Siam, พิมพ์ครั้งที่ 3, (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์: 2560), หน้า 349.

[6] วีณา มโนพิโมกษ์, ความขัดแย้งภายในคณะราษฎร, วิทยานิพนธ์ อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520 หน้า 244.

[7] วีณา มโนพิโมกษ์, ความขัดแย้งภายในคณะราษฎร, วิทยานิพนธ์ อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520 หน้า 250.

[8] ดร. วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร, “พระยาโอวาทวรกิจ ครูรุ่นแรกของสยาม จากโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ และนักโต้วาทีไร้เทียมทาน,” ศิลปวัฒนธรรม ฉบับกันยายน 2549 เผยแพร่วันอาทิตย์ที่ 2 มกราคม 2565 https://www.silpa-mag.com/history/article_56097

[9] ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์, ปฏิวัติ 2475 1932 Revolution in Siam, พิมพ์ครั้งที่ 3, (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์: 2560), หน้า 350.

[10] ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์, ปฏิวัติ 2475 1932 Revolution in Siam, พิมพ์ครั้งที่ 3, (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์: 2560), หน้า 350.

ก่อนหน้าที่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ จะทำการประชุมพิจารณาและลงมติต่อเค้าโครงเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม  ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี “วันที่ ๙ มีนาคม ๒๔๗๖ หลวงประดิษฐ์ฯได้เสนอร่าง ‘เค้าโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ’ ต่อคณะรัฐมนตรีเป็นครั้งแรก ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้ตกลงให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้น ๑๔ คน เพื่อพิจารณาร่างเค้าโครงการเศรษฐกิจฉบับดังกล่าว” [1]  ซึ่งคณะอนุกรรมการหรือที่เรียกในครั้งนั้นว่า “คณะกรรมานุการ” ได้ประชุมพิจารณาเค้าโครงเศรษฐกิจฯในวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมดังกล่าวจำนวน ๑๔ คน และตามบันทึกรายงานการประชุมครั้งนั้น มิได้มีการลงมติแต่อย่างใด แต่เป็นการประชุมเพื่อกรรมานุการได้แสดงความคิดเห็นและทำรายงานเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีและต่อคณะราษฎรในฐานะคณะผู้ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง                     

แต่ในหน้า ๓๔๙ ของหนังสือ ปฏิวัติ 2475 1932 Revolution in Siam ที่เขียนโดยศาสตราจารย์พิเศษ ดร. ชาญวิทย์ เกษตรศิริและรองศาสตราจารย์ ดร. ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ได้กล่าวว่า “หลังจากการซักถามในหลักการ ที่ประชุมก็ได้ลงมติเห็นชอบกับเค้าโครงฯ ฉบับนี้ 8 นาย....ที่คัดค้าน...รวม 4 เสียง” [2] แต่หลังจากที่ผู้เขียนได้ตรวจสอบเชิงอรรถและหนังสืออ้างอิงที่ชาญวิทย์และธำรงศักดิ์ใช้ (ดูตอนที่ ๒๗) ก็ไม่พบว่า มีการลงมติในที่ประชุมวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ [3]  อีกทั้งผู้เขียนยังได้ตรวจสอบหนังสือที่ตีพิมพ์บันทึกรายงานประชุมฯในวันดังกล่าวอีกสองเล่ม ก็ไม่พบว่ามีการลงมติแต่อย่างใด [4]             

ในหน้า ๓๔๙ เช่นกัน ชาญวิทย์และธำรงศักดิ์ได้กล่าวว่า หลังจากการประชุมคณะกรรมานุการวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ “คณะรัฐมนตรีได้ประชุมพิจารณาปัญหานโยบายทางเศรษฐกิจครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 มีนาคม เป็นเพียงการแสดงความเห็นโดยไม่มีการลงมติ เนื่องจากนายแนบ พหลโยธิน ได้เสนอให้ที่ประชุมรอคอยพระยาพหลพลพยุหเสนากลับจากต่างจังหวัด ด้วยหวังว่า ‘อาจจะมีการประนีประนอมกันได้’”  [5]  และชาญวิทย์และธำรงศักดิ์ได้ใส่เชิงอรรถที่ 152  ซึ่งในเชิงอรรถนี้มีข้อความว่า “ ‘รายงานการประชุมคณะรัฐมนตรี,” เสาร์ 25 มีนาคม 2475 (2476 ผู้เขียน) อ้างใน วีณา มโนพิโมกษ์ ความขัดแย้งภายในคณะราษฎร, วิทยานิพนธ์ อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520 หน้า 253-257.” 

ผู้เขียนได้ตรวจสอบหน้า 253-257 ซึ่งวีณาได้ทำสำเนาบันทึกรายงานประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2475 (2476 ผู้เขียน) ไว้ และพบว่าในบันทึกรายงานประชุมฯดังกล่าว พบว่า ดูเหมือนจะมีการกล่าวถึงการประชุมคณะกรรมการนุการที่เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นอยู่ โดยพระยาทรงสุรเดชได้กล่าวว่า “ตามที่ได้พิจารณาโครงการณ์เศรษฐกิจของหลวงประดิษฐมนูธรรมแล้ว เห็นว่าถ้าหลวงประดิษฐฯ จะยอมเปลี่ยนแปลงลงบ้าง ไม่ให้มีการบังคับซื้อที่ดิน แต่จะทำในที่ว่างเปล่าแล้วก็คงจะเห็นด้วยได้” [6]  แต่ไม่มีผู้ใดที่เข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ กล่าวถึงการลงมติของการประชุมคณะกรรมานุการวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ เลย  เพราะถ้ามีการลงมติและเสียงข้างมากเห็นด้วยกับเค้าโครงเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์ฯ ก็น่าจะต้องมีผู้เข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีวันนั้นเอ่ยถึง โดยเฉพาะฝ่ายหลวงประดิษฐ์ฯ เช่น นายแนบ พหลโยธิน  อีกทั้งตัวหลวงประดิษฐ์ฯเองก็น่าจะกล่าวอ้างถึงมติที่ฝ่ายตนได้เสียงข้างมาก

บุคคลที่หลวงประดิษฐ์ฯอ้างถึงคือพระยาโอวาทวรกิจ ซึ่งไม่ได้เป็นหนึ่งในคณะกรรมานุการที่เข้าประชุมวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๖  โดยหลวงประดิษฐ์ฯได้อ้างถึงความเห็นของพระยาโอวาทวรกิจต่อเค้าโครงเศรษฐกิจของตนว่า “ถามคนดูมากแล้ว เช่น พระยาโอวาทวรกิจก็เห็นดีด้วยและไม่ตกใจ...” [7] หากการประชุมคณะกรรมานุการวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ มีการลงมติจริงและฝ่ายเห็นด้วยกับหลวงประดิษฐ์ฯเป็นฝ่ายที่ได้เสียงข้างมากจริง  หลวงประดิษฐ์ฯก็น่าจะกล่าวอ้างอิงเพื่อชี้ให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ ๒๕ มีนาคมฯรับทราบและยอมรับผลการลงมติในครั้งนั้น

ขณะเดียวกัน ผู้เขียนสันนิษฐานว่า การที่หลวงประดิษฐ์ฯอ้างความเห็นของพระยาโอวาทวรกิจทั้งๆที่พระยาโอวาทวรกิจมิได้มีความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ แต่เป็นครูผู้เชี่ยวชาญภาษาไทยและเป็นข้าราชการที่ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจากพระมหากษัตริย์ให้ดำรงตำแหน่งสำคัญก่อนหน้าการเปลี่ยนแปลงการปกครอง [8] น่าจะเป็นเพราะหลวงประดิษฐ์ฯต้องการชี้ให้เห็นว่า ขนาดพระยาโอวาทวรกิจซึ่งเป็นครูภาษาไทยและเป็นข้าราชการที่ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยฯ (พวกเจ้า/ผู้เขียน) ก็ยังเห็นดีกับเค้าโครงเศรษฐกิจของเขา และไม่ได้ตกอกตกใจอะไรอย่างที่พระยาศรีวิศาลวาจาได้กล่าวไว้ก่อนหน้าที่หลวงประดิษฐ์ฯจะอ้างถึงพระยาโอวาทวรกิจ         

ต่อมาในหน้า 350 ในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ ชาญวิทย์และธำรงศักดิ์ได้กล่าวว่า “…เมื่อวันที่ 28 มีนาคม ดูจะเป็นการประชุมที่สิ้นสุดลงอย่างรวดเร็วโดยไม่มีการถกเถียงกันเช่นครั้งก่อน (ก่อนหน้านี้ ชาญวิทย์และธำรงศักดิ์ได้กล่าวถึงการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๖) เมื่อพระยาพหลพลพยุหเสนาได้เริ่มต้นถามว่า นโยบายทางเศรษฐกิจได้จัดการอย่างใดบ้าง หลวงประดิษฐ์มนูธรรมได้เล่าถึงการเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ถัดมา พระยามโนปกรณ์นิติธาดาก็ได้ส่งบันทึกพระบรมราชวินิจฉัยของรัชกาลที่ 7 ในเรื่องเค้าโครงการเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์มนูธรรมให้หลวงประดิษฐ์ฯอ่าน วิธีการนี้ทำให้ทุกอย่างจบสิ้น หลวงประดิษฐ์ฯกล่าวว่า ‘เมื่อในหลวงไม่เห็นด้วยแล้ว ก็มีทางเดียวเท่านั้นคือ ข้าพเจ้าต้องลาออกจากรัฐมนตรี’  ในเรื่องลาออกนี้ พระยาพหลพลพยุหเสนาขอให้ระงับไว้ก่อน ซึ่งหลวงประดิษฐ์ฯ ก็บอกว่าขอคิดดูก่อน นอกจากนั้น พระยาพหลพลพยุหเสนายังได้เสนอทางออกจากความขัดแย้งนี้ 3 ประการคือ ‘1. ไม่ประกาศโครงการของผู้ใดทั้งสิ้นในระหว่างนี้ สิ่งที่ควรทำก็ทำไปก่อน (มีโครงการเศรษฐกิจที่เสนอสองโครงการ คือ โครงการของหลวงประดิษฐ์ฯและโครงการของพระยามโนปกรณ์ฯ/ผู้เขียน) 2. ส่งคนไปดูการในที่ต่างๆที่เขาทำกันหลายๆคนแล้วออกความเห็นกันมา 3. เมื่อถึงสมัยที่สองแล้ว ตั้งบุคคลสามจำพวกคือ คนมีทรัพย์ พ่อค้าและกรรมกร ขึ้นเป็นกรรมการพิจารณา’ จะเห็นว่า  ทางออกของพระยาพหลฯนั้นให้เป็นภาระของรัฐบาลชุดใหม่ที่จะพิจารณา” [9]

และชาญวิทย์และธำรงศักดิ์ได้กล่าวต่อจากข้างต้นว่า “แต่ในท้ายที่สุดที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้ลงมติรับเอานโยบายเศรษฐกิจของพระยามโนปกรณ์นิติธาดาเป็นแนวทางของรัฐบาล”  [10] ซึ่งก่อนจะมีการตัดสินใจลงมติ มีผู้ที่ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการจะให้มีการลงมติ ซึ่งชาญวิทย์และธำรงศักดิ์ไม่ได้กล่าวรายละเอียดในส่วนนี้  และผู้เขียนจะได้นำเสนอรายละเอียดที่ว่านี้ในตอนต่อไป

-------------------------------------------------

[1] เค้าโครงการเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์ มนูธรรม, ฐานข้อมูลสถาบันพระปกเกล้า, http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=เค้าโครงการเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์_มนูธรรม

[2] ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์, ปฏิวัติ 2475 1932 Revolution in Siam, พิมพ์ครั้งที่ 3, (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์: 2560), หน้า 349.

[3] หนังสือสองเล่มที่ชาญวิทย์และธำรงศักดิ์อ้างคือ ดือน บุนนาค, ท่านปรีดี รัฐบุรุษอาวุโส ผู้วางแผนเศรษฐกิจไทยคนแรก (พระนคร: เสริมวิทย์บรรณาการ, 2500) หน้า 156-194; วีณา มโนพิโมกษ์, ความขัดแย้งภายในคณะราษฎร, วิทยานิพนธ์ อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520 หน้า 65.

[4] ชัยอนันต์ สมุทวนิชและขัตติยา กรรณสูตร, เอกสารการเมือง-การปกครองไทย พ.ศ. 2517-2477,  โครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, (กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, 2518), หน้า 357-372; Kenneth Perry Landon, National Economic Policy Luang Pradist Manudharm (Pridi Banomyong) from Siam in Transition: A Brief Survey of Cultural Trends in the Five Years Since the Revolution 1932, Committees on the Project for the National Celebration on the Occasion of the Centennial Anniversary of Pridi Banomyong, Senior Statesman (private sector), (Bangkok: Ruankaew Printing House: 1999), pp. 58-78.

[5] ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์, ปฏิวัติ 2475 1932 Revolution in Siam, พิมพ์ครั้งที่ 3, (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์: 2560), หน้า 349.

[6] วีณา มโนพิโมกษ์, ความขัดแย้งภายในคณะราษฎร, วิทยานิพนธ์ อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520 หน้า 244.

[7] วีณา มโนพิโมกษ์, ความขัดแย้งภายในคณะราษฎร, วิทยานิพนธ์ อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520 หน้า 250.

[8] ดร. วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร, “พระยาโอวาทวรกิจ ครูรุ่นแรกของสยาม จากโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ และนักโต้วาทีไร้เทียมทาน,” ศิลปวัฒนธรรม ฉบับกันยายน 2549 เผยแพร่วันอาทิตย์ที่ 2 มกราคม 2565 https://www.silpa-mag.com/history/article_56097

[9] ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์, ปฏิวัติ 2475 1932 Revolution in Siam, พิมพ์ครั้งที่ 3, (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์: 2560), หน้า 350.

[10] ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์, ปฏิวัติ 2475 1932 Revolution in Siam, พิมพ์ครั้งที่ 3, (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์: 2560), หน้า 350.

ก่อนหน้าที่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ จะทำการประชุมพิจารณาและลงมติต่อเค้าโครงเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม  ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี “วันที่ ๙ มีนาคม ๒๔๗๖ หลวงประดิษฐ์ฯได้เสนอร่าง ‘เค้าโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ’ ต่อคณะรัฐมนตรีเป็นครั้งแรก ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้ตกลงให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้น ๑๔ คน เพื่อพิจารณาร่างเค้าโครงการเศรษฐกิจฉบับดังกล่าว” [1]  ซึ่งคณะอนุกรรมการหรือที่เรียกในครั้งนั้นว่า “คณะกรรมานุการ” ได้ประชุมพิจารณาเค้าโครงเศรษฐกิจฯในวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมดังกล่าวจำนวน ๑๔ คน และตามบันทึกรายงานการประชุมครั้งนั้น มิได้มีการลงมติแต่อย่างใด แต่เป็นการประชุมเพื่อกรรมานุการได้แสดงความคิดเห็นและทำรายงานเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีและต่อคณะราษฎรในฐานะคณะผู้ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง                     

แต่ในหน้า ๓๔๙ ของหนังสือ ปฏิวัติ 2475 1932 Revolution in Siam ที่เขียนโดยศาสตราจารย์พิเศษ ดร. ชาญวิทย์ เกษตรศิริและรองศาสตราจารย์ ดร. ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ได้กล่าวว่า “หลังจากการซักถามในหลักการ ที่ประชุมก็ได้ลงมติเห็นชอบกับเค้าโครงฯ ฉบับนี้ 8 นาย....ที่คัดค้าน...รวม 4 เสียง” [2] แต่หลังจากที่ผู้เขียนได้ตรวจสอบเชิงอรรถและหนังสืออ้างอิงที่ชาญวิทย์และธำรงศักดิ์ใช้ (ดูตอนที่ ๒๗) ก็ไม่พบว่า มีการลงมติในที่ประชุมวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ [3]  อีกทั้งผู้เขียนยังได้ตรวจสอบหนังสือที่ตีพิมพ์บันทึกรายงานประชุมฯในวันดังกล่าวอีกสองเล่ม ก็ไม่พบว่ามีการลงมติแต่อย่างใด [4]             

ในหน้า ๓๔๙ เช่นกัน ชาญวิทย์และธำรงศักดิ์ได้กล่าวว่า หลังจากการประชุมคณะกรรมานุการวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ “คณะรัฐมนตรีได้ประชุมพิจารณาปัญหานโยบายทางเศรษฐกิจครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 มีนาคม เป็นเพียงการแสดงความเห็นโดยไม่มีการลงมติ เนื่องจากนายแนบ พหลโยธิน ได้เสนอให้ที่ประชุมรอคอยพระยาพหลพลพยุหเสนากลับจากต่างจังหวัด ด้วยหวังว่า ‘อาจจะมีการประนีประนอมกันได้’”  [5]  และชาญวิทย์และธำรงศักดิ์ได้ใส่เชิงอรรถที่ 152  ซึ่งในเชิงอรรถนี้มีข้อความว่า “ ‘รายงานการประชุมคณะรัฐมนตรี,” เสาร์ 25 มีนาคม 2475 (2476 ผู้เขียน) อ้างใน วีณา มโนพิโมกษ์ ความขัดแย้งภายในคณะราษฎร, วิทยานิพนธ์ อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520 หน้า 253-257.” 

ผู้เขียนได้ตรวจสอบหน้า 253-257 ซึ่งวีณาได้ทำสำเนาบันทึกรายงานประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2475 (2476 ผู้เขียน) ไว้ และพบว่าในบันทึกรายงานประชุมฯดังกล่าว พบว่า ดูเหมือนจะมีการกล่าวถึงการประชุมคณะกรรมการนุการที่เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นอยู่ โดยพระยาทรงสุรเดชได้กล่าวว่า “ตามที่ได้พิจารณาโครงการณ์เศรษฐกิจของหลวงประดิษฐมนูธรรมแล้ว เห็นว่าถ้าหลวงประดิษฐฯ จะยอมเปลี่ยนแปลงลงบ้าง ไม่ให้มีการบังคับซื้อที่ดิน แต่จะทำในที่ว่างเปล่าแล้วก็คงจะเห็นด้วยได้” [6]  แต่ไม่มีผู้ใดที่เข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ กล่าวถึงการลงมติของการประชุมคณะกรรมานุการวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ เลย  เพราะถ้ามีการลงมติและเสียงข้างมากเห็นด้วยกับเค้าโครงเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์ฯ ก็น่าจะต้องมีผู้เข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีวันนั้นเอ่ยถึง โดยเฉพาะฝ่ายหลวงประดิษฐ์ฯ เช่น นายแนบ พหลโยธิน  อีกทั้งตัวหลวงประดิษฐ์ฯเองก็น่าจะกล่าวอ้างถึงมติที่ฝ่ายตนได้เสียงข้างมาก

บุคคลที่หลวงประดิษฐ์ฯอ้างถึงคือพระยาโอวาทวรกิจ ซึ่งไม่ได้เป็นหนึ่งในคณะกรรมานุการที่เข้าประชุมวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๖  โดยหลวงประดิษฐ์ฯได้อ้างถึงความเห็นของพระยาโอวาทวรกิจต่อเค้าโครงเศรษฐกิจของตนว่า “ถามคนดูมากแล้ว เช่น พระยาโอวาทวรกิจก็เห็นดีด้วยและไม่ตกใจ...” [7] หากการประชุมคณะกรรมานุการวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ มีการลงมติจริงและฝ่ายเห็นด้วยกับหลวงประดิษฐ์ฯเป็นฝ่ายที่ได้เสียงข้างมากจริง  หลวงประดิษฐ์ฯก็น่าจะกล่าวอ้างอิงเพื่อชี้ให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ ๒๕ มีนาคมฯรับทราบและยอมรับผลการลงมติในครั้งนั้น

ขณะเดียวกัน ผู้เขียนสันนิษฐานว่า การที่หลวงประดิษฐ์ฯอ้างความเห็นของพระยาโอวาทวรกิจทั้งๆที่พระยาโอวาทวรกิจมิได้มีความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ แต่เป็นครูผู้เชี่ยวชาญภาษาไทยและเป็นข้าราชการที่ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจากพระมหากษัตริย์ให้ดำรงตำแหน่งสำคัญก่อนหน้าการเปลี่ยนแปลงการปกครอง [8] น่าจะเป็นเพราะหลวงประดิษฐ์ฯต้องการชี้ให้เห็นว่า ขนาดพระยาโอวาทวรกิจซึ่งเป็นครูภาษาไทยและเป็นข้าราชการที่ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยฯ (พวกเจ้า/ผู้เขียน) ก็ยังเห็นดีกับเค้าโครงเศรษฐกิจของเขา และไม่ได้ตกอกตกใจอะไรอย่างที่พระยาศรีวิศาลวาจาได้กล่าวไว้ก่อนหน้าที่หลวงประดิษฐ์ฯจะอ้างถึงพระยาโอวาทวรกิจ         

ต่อมาในหน้า 350 ในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ ชาญวิทย์และธำรงศักดิ์ได้กล่าวว่า “…เมื่อวันที่ 28 มีนาคม ดูจะเป็นการประชุมที่สิ้นสุดลงอย่างรวดเร็วโดยไม่มีการถกเถียงกันเช่นครั้งก่อน (ก่อนหน้านี้ ชาญวิทย์และธำรงศักดิ์ได้กล่าวถึงการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๖) เมื่อพระยาพหลพลพยุหเสนาได้เริ่มต้นถามว่า นโยบายทางเศรษฐกิจได้จัดการอย่างใดบ้าง หลวงประดิษฐ์มนูธรรมได้เล่าถึงการเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ถัดมา พระยามโนปกรณ์นิติธาดาก็ได้ส่งบันทึกพระบรมราชวินิจฉัยของรัชกาลที่ 7 ในเรื่องเค้าโครงการเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์มนูธรรมให้หลวงประดิษฐ์ฯอ่าน วิธีการนี้ทำให้ทุกอย่างจบสิ้น หลวงประดิษฐ์ฯกล่าวว่า ‘เมื่อในหลวงไม่เห็นด้วยแล้ว ก็มีทางเดียวเท่านั้นคือ ข้าพเจ้าต้องลาออกจากรัฐมนตรี’  ในเรื่องลาออกนี้ พระยาพหลพลพยุหเสนาขอให้ระงับไว้ก่อน ซึ่งหลวงประดิษฐ์ฯ ก็บอกว่าขอคิดดูก่อน นอกจากนั้น พระยาพหลพลพยุหเสนายังได้เสนอทางออกจากความขัดแย้งนี้ 3 ประการคือ ‘1. ไม่ประกาศโครงการของผู้ใดทั้งสิ้นในระหว่างนี้ สิ่งที่ควรทำก็ทำไปก่อน (มีโครงการเศรษฐกิจที่เสนอสองโครงการ คือ โครงการของหลวงประดิษฐ์ฯและโครงการของพระยามโนปกรณ์ฯ/ผู้เขียน) 2. ส่งคนไปดูการในที่ต่างๆที่เขาทำกันหลายๆคนแล้วออกความเห็นกันมา 3. เมื่อถึงสมัยที่สองแล้ว ตั้งบุคคลสามจำพวกคือ คนมีทรัพย์ พ่อค้าและกรรมกร ขึ้นเป็นกรรมการพิจารณา’ จะเห็นว่า  ทางออกของพระยาพหลฯนั้นให้เป็นภาระของรัฐบาลชุดใหม่ที่จะพิจารณา” [9]

และชาญวิทย์และธำรงศักดิ์ได้กล่าวต่อจากข้างต้นว่า “แต่ในท้ายที่สุดที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้ลงมติรับเอานโยบายเศรษฐกิจของพระยามโนปกรณ์นิติธาดาเป็นแนวทางของรัฐบาล”  [10] ซึ่งก่อนจะมีการตัดสินใจลงมติ มีผู้ที่ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการจะให้มีการลงมติ ซึ่งชาญวิทย์และธำรงศักดิ์ไม่ได้กล่าวรายละเอียดในส่วนนี้  และผู้เขียนจะได้นำเสนอรายละเอียดที่ว่านี้ในตอนต่อไป

-------------------------------------------------

[1] เค้าโครงการเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์ มนูธรรม, ฐานข้อมูลสถาบันพระปกเกล้า, http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=เค้าโครงการเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์_มนูธรรม

[2] ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์, ปฏิวัติ 2475 1932 Revolution in Siam, พิมพ์ครั้งที่ 3, (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์: 2560), หน้า 349.

[3] หนังสือสองเล่มที่ชาญวิทย์และธำรงศักดิ์อ้างคือ ดือน บุนนาค, ท่านปรีดี รัฐบุรุษอาวุโส ผู้วางแผนเศรษฐกิจไทยคนแรก (พระนคร: เสริมวิทย์บรรณาการ, 2500) หน้า 156-194; วีณา มโนพิโมกษ์, ความขัดแย้งภายในคณะราษฎร, วิทยานิพนธ์ อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520 หน้า 65.

[4] ชัยอนันต์ สมุทวนิชและขัตติยา กรรณสูตร, เอกสารการเมือง-การปกครองไทย พ.ศ. 2517-2477,  โครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, (กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, 2518), หน้า 357-372; Kenneth Perry Landon, National Economic Policy Luang Pradist Manudharm (Pridi Banomyong) from Siam in Transition: A Brief Survey of Cultural Trends in the Five Years Since the Revolution 1932, Committees on the Project for the National Celebration on the Occasion of the Centennial Anniversary of Pridi Banomyong, Senior Statesman (private sector), (Bangkok: Ruankaew Printing House: 1999), pp. 58-78.

[5] ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์, ปฏิวัติ 2475 1932 Revolution in Siam, พิมพ์ครั้งที่ 3, (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์: 2560), หน้า 349.

[6] วีณา มโนพิโมกษ์, ความขัดแย้งภายในคณะราษฎร, วิทยานิพนธ์ อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520 หน้า 244.

[7] วีณา มโนพิโมกษ์, ความขัดแย้งภายในคณะราษฎร, วิทยานิพนธ์ อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520 หน้า 250.

[8] ดร. วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร, “พระยาโอวาทวรกิจ ครูรุ่นแรกของสยาม จากโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ และนักโต้วาทีไร้เทียมทาน,” ศิลปวัฒนธรรม ฉบับกันยายน 2549 เผยแพร่วันอาทิตย์ที่ 2 มกราคม 2565 https://www.silpa-mag.com/history/article_56097

[9] ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์, ปฏิวัติ 2475 1932 Revolution in Siam, พิมพ์ครั้งที่ 3, (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์: 2560), หน้า 350.

[10] ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์, ปฏิวัติ 2475 1932 Revolution in Siam, พิมพ์ครั้งที่ 3, (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์: 2560), หน้า 350.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 39): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”

รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 38): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”

รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร นำโดย พลโท ผิน ชุณหะวัณ และพันเอก กาจ กาจสงคราม และมีนายทหารคนอื่น เช่น

ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)

ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 อันเป็นพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 37): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”

รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร

ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)

ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 36): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”

รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490