ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (ตอนที่ ๘)

 

“Democracy in Siam” เป็นพระราชบันทึกของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระราชทานไปยังคณะองคมนตรี เนื่องจากก่อนหน้านี้ได้เกิดข้อถกเถียงเกี่ยวกับอนาคตทางการเมืองของประเทศ นั่นคือ การเตรียมตัวไปสู่ประชาธิปไตย

ในตอนที่แล้ว ในพระราชหัตถเลขา “Democracy in Siam” ผู้เขียนได้สรุปความไว้ตอนหนึ่งเกี่ยวกับพระราชวินิจฉัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯต่อการพัฒนาไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย โดยพระองค์ชี้เห็นปัจจัยต่างๆที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จในการนำประชาธิปไตยมาใช้เป็นรูปแบบการปกครองของประเทศ ปัจจัยที่ว่านี้คือ คุณภาพความรู้การศึกษาของประชาชน รวมถึงคุณสมบัติทางเชื้อชาติที่พระองค์ใช้คำว่า racial qualities ซึ่งเป็นศัพท์ทางมานุษยวิทยาที่นักวิชาการตะวันตกใช้กันในสมัยนั้น ซึ่งต่อมา นักวิชาการตะวันตกได้เปลี่ยนมาใช้คำว่าวัฒนธรรมทางการเมือง political culture แทน

ผู้เขียนจะขอเล่าถึงที่มาของแนวคิดเรื่องวัฒนธรรมทางการเมืองไว้เพื่อช่วยให้เข้าใจถึงพระราชวินิจฉัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งเสริมหรือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศไทย

แนวความคิดเรื่องวัฒนธรรมทางการเมืองที่ใช้กันอยู่แวดวงวิชาการปัจจุบันเริ่มเกิดขึ้นในราว        กลางศตวรรษที่ยี่สิบ โดยเริ่มต้นขึ้นในวงการสังคมศาสตร์อเมริกัน  เนื่องจากในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง นักสังคมศาสตร์มุ่งที่จะตอบปัญหาที่ว่า ทำไมในบางสังคม จึงเกิดการปกครองโดยผู้นำอำนาจนิยม (authoritarian) ขณะเดียวกัน ผู้คนในสังคมนั้นก็กลับยอมรับและสนับสนุนการปกครองดังกล่าวด้วย  ในขณะที่ประชาชนในประเทศอื่นสนับสนุนสถาบันทางการเมืองประชาธิปไตย

โดยในช่วงก่อนและระหว่างสงครามนั้น มีนักมานุษยวิทยาชาวอเมริกันชื่อ มาร์กาเร็ต มีด (Margaret Mead) และ รู๊ท เบเนดิคท์ (Ruth Benedict) ผู้เป็นนักวิชาการที่สนับสนุนแนวการศึกษาเรื่อง “บุคลิกภาพและวัฒนธรรม” (culture and personality)  โดยแนวการศึกษาดังกล่าวเชื่อว่า คนในแต่ละสังคมที่แตกต่างกันจะพัฒนาตัวแบบบุคลิกภาพที่แตกต่างกัน และจากตัวแบบบุคลิกภาพนี้เองที่จะช่วยในการอธิบายและทำความเข้าใจสาเหตุที่ประชาชนให้การสนับสนุนสถาบันและระบอบการเมืองนั้นๆได้

ขณะเดียวกัน ก็มีนักสังคมศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ ธีโอดอร์ อาดอร์โน (Theodor Adorno) และคณะ ได้ทำการศึกษาเรื่องอิทธิพลของบุคลิกภาพของผู้คนกับการเมืองเช่นเดียวกัน และได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยในเรื่องดังกล่าวในปี ค.ศ. ๑๙๕๐ ออกมาเป็นหนังสือชื่อ “The Authoritarian Personality” หรือ “บุคลิกภาพเผด็จการ”  โดย  เขาได้พบว่า ครอบครัวในสังคมเยอรมันนั้นมีโครงสร้างความสัมพันธ์ที่มีลักษณะแบบอำนาจนิยม  อันส่งผลให้ชาวเยอรมันมีบุคลิกภาพแบบอำนาจนิยม  ซึ่งอาดอร์โนเชื่อว่า โครงสร้างดังกล่าวนี้เองที่หล่อหลอมบุคลิกภาพของชาวเยอรมัน  และส่งผลต่อการสนับสนุนการเมือง-อคติทางสังคม โดยเฉพาะการเมืองแบบเผด็จการอำนาจนิยม

สำหรับ นักรัฐศาสตร์ชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียงอย่าง ฮาโรลด์ ลาสแวลล์ (Harold Lasswell) ก็ศึกษาในลักษณะเดียวกันนี้ด้วย  เขาได้ทำการศึกษาลักษณะของบุคลิกภาพของคนที่เป็นลักษณะเป็นประชาธิปไตย และพบว่า คนที่มีบุคลิกภาพแบบประชาธิปไตยจะมีลักษณะที่เปิดเผยรับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น มีการเชื่อมโยงผสมผสานทัศนะและคุณค่าต่างๆ ละมีความไว้วางใจต่อกันและกันโดยทั่วไปด้วย

แต่การศึกษาเรื่องวัฒนธรรมทางการเมืองที่กล่าวได้ว่าเป็นงานชิ้นที่สำคัญที่สุดในช่วงกลางศตวรรษที่ยี่สิบน่าจะได้แก่งานของ เกเบรียล อัลมอนด์ และ ซิดนีย์ เวอร์บา (Gabriel Almond and Sidney Verba) ในหนังสือชื่อ “The Civic Culture: Political Attitudes and Democracy in Five Nations”  และสำหรับแรงจูงใจหรือเหตุผลในการศึกษาในเชิงวัฒนธรรมทางการเมืองนี้ อัลมอนด์และเวอร์บาได้กล่าวไว้ในบทที่หนึ่งของหนังสือดังกล่าวว่า งานของพวกเขา  “เป็นการศึกษาวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยและศึกษากระบวนการและโครงสร้างทางสังคมที่ธำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมทางการเมืองดังกล่าว ด้วยความเชื่อมันในยุคแห่งภูมิธรรม (Enlightenment) ในชัยชนะที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของเสรีภาพและเหตุผลของมนุษย์ได้ถูกสั่นคลอนถึงสองครั้งในช่วงทศวรรษที่เพิ่งผ่านไป พัฒนาการของลัทธิฟาสซิสม์และคอมมิวนิสซิสม์หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้ก่อให้เกิดข้อกังขาเกี่ยวกับความคิดในโลกตะวันตกที่เชื่อว่าประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอนและเราก็ยังคงไม่สามารถแน่ใจได้ว่าประเทศต่างๆในภาคพื้นทวีปยุโรปจะค้นหารูปแบบของกระบวนการประชาธิปไตยที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมและสถาบันทางสังคมในประเทศของพวกเขาได้ อีกทั้งเราก็ยังไม่สามารถทำอะไรได้มากไปกว่าการหวังด้วยว่า ประเทศเหล่านั้นจะค้นพบประชาธิปไตยในแบบยุโรปได้”

ถ้าพิจารณาย่อหน้าดังกล่าวที่ อัลมอนด์และเวอร์บา ใช้ขึ้นต้นหนังสือของเขา  จะพบว่า แม้ว่าพวกเขาจะกล่าวออกมาว่า แรงจูงใจในการศึกษาเชิงวัฒนธรรมทางการเมืองของเขาคือการต้องการหาสาเหตุถึงความสำเร็จของระบอบประชาธิปไตย แต่ในมุมกลับ เราจะพบว่า จริงๆ แล้ว แรงจูงใจที่ลึกลงไปกว่านั้นก็คือ ต้องการหาคำตอบว่า ทำไมประชาธิปไตยจึงล้มเหลวด้วย  เพราะอย่างที่เขากล่าวไว้ว่า พวกเขาเชื่อมั่นว่า ภายใต้อิทธิพลของยุคภูมิธรรมในโลกสมัยใหม่   เสรีภาพและการใช้เหตุผลของมนุษย์ย่อมจะนำไปสู่การเกิด  ระบอบประชาธิปไตย และประชาธิปไตยย่อมจะเป็นรูปแบบการปกครองที่แพร่หลายและเป็นที่ยอมรับทั่วไป เพราะเป็นระบอบที่ส่งเสริมเสรีภาพและการใช้เหตุผลของประชาชน  แต่การณ์ก็หาได้เป็นเช่นนั้นไม่

ในการศึกษาดังกล่าว อัลมอนด์และเวอร์บา ได้ใช้กรอบการศึกษาเรื่องบุคลิกภาพประชาธิปไตยของลาสแวลล์ และผสมผสานการใช้ทฤษฎีทางสังคมศาสตร์อย่างน้อยสองทฤษฎี  ทฤษฎีแรกเป็นทฤษฎีทางสังคมวิทยาของ ทัลคอทท์ พาร์สัน (Talcott Parsons) ซึ่งโด่งดังมากในวงการวิชาการอเมริกันขณะนั้น ด้วยทฤษฎีดังกล่าวสามารถอธิบายสถาบันที่ก่อให้เกิดระเบียบทางสังคม ซึ่งสถาบันดังกล่าวนี้ได้ปลูกฝังชุดของบรรทัดฐาน ค่านิยมและทัศนคติที่สอดคล้องกัน ซึ่ง พาร์สัน รวมเรียกว่า “วัฒนธรรม”  ขณะเดียวกัน ชุดค่านิยมและทัศนคติหรือ “วัฒนธรรม” นี้ ก็จะส่งผลในมุมกลับในการช่วยรักษาและจรรโลงสถาบันต่างๆ ที่เป็นตัวหล่อหลอมกล่อมเกล่าชุดค่านิยมนั้นไว้อีกทีหนึ่ง

ประเด็นสำคัญของการศึกษาเปรียบเทียบประเทศต่างๆ ของ อัลมอนด์และเวอร์บา คือ การให้ความสำคัญต่อบทบาทของค่านิยมเชิงอัตวิสัยและทัศนคติของประชาชนในประเทศที่ระบอบประชาธิปไตยมีเสถียรภาพมั่นคง  หรืออีกนัยหนึ่งก็คือการพิจารณาตัวแปรในเชิงสถาบัน อันได้แก่ บรรทัดฐาน ค่านิยมและทัศนคติ ในการอธิบายผลลัพธ์ทางการเมือง (political outcomes) ซึ่งอย่างที่กล่าวไปข้างต้น  ก็คือ วัฒนธรรมทางการเมืองนั่นเอง

และในทำนองเดียวกันกับที่นักรัฐศาสตร์กระแสหลักได้หันมาอธิบายความล้มเหลวของพัฒนาการของประชาธิปไตยในบางประเทศ  แม้ว่าเงื่อนไขทางเศรษฐกิจสังคมในประเทศดังกล่าวนั้นจะพัฒนาไปสู่        ความเป็นสมัยใหม่แล้วก็ตาม หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ปัญหาของการที่การเมืองไม่เปลี่ยนแปลงไปตามกฎประวัติศาสตร์ตามที่แนวคิดแบบมาร์กซิสม์ได้วิเคราะห์และพยากรณ์ไว้  นักสังคมศาสตร์สายมาร์กซิสม์จึงหันมาอธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าวโดยมุ่งไปที่อุดมการณ์ความคิดของผู้คนในสังคมนั้น  ซึ่งก็คือวัฒนธรรมทางการเมืองนั่นเอง โดยมองว่า อุดมการณ์ที่ยังมีพลังครอบงำอยู่นั้นเป็นอุดมการ์ล้าหลัง หรือที่เรียกกันในบ้านเราว่าอุดมการณ์ศักดินาที่เป็นอุดมการณ์หรือวัฒนธรรมของชนชั้นปกครองเดิมที่ยังคงมีอำนาจในสังคมอยู่ โดยในสังคมที่แม้จะมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม แต่สังคมนั้นอาจจะถูกปกครองหรือครอบงำโดยอุดมการณ์หรือวัฒนธรรมทางการเมืองชนชั้นทางสังคมใดชนชั้นหนึ่ง  และชนชั้นที่มีอำนาจครอบงำเหนือกลุ่มอื่นๆ คือ ชนชั้นปกครอง  และความคิดต่างๆ ของชนชั้นปกครองจะได้รับการยอมรับเป็นบรรทัดฐานของสังคม  และถือเป็นอุดมการณ์ทั่วไปในสังคมนั้น

ปฏิเสธการถวายบังคม

ทำให้คนทั่วไปในสังคมนั้นเข้าใจว่า อุดมการณ์ดังกล่าวมีความสำคัญและเป็นประโยชน์แก่คนทุกคนในสังคม  แต่จริงๆ แล้ว เป็นประโยชน์แต่เฉพาะชนชั้นปกครองเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ ในการต่อสู้ทางการเมืองจึงจำเป็นต้องต่อสู้ในระดับของวัฒนธรรมและความคิด

ดังที่เราได้รับรู้ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมานี้ นั่นคือ การต่อสู้เพื่อยกเลิกประเพณี พิธีกรรม ตลอดจนคุณค่า ค่านิยมต่างๆที่เป็น “ประเพณีวัฒนธรรมของไทย”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 39): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”

รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 38): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”

รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร นำโดย พลโท ผิน ชุณหะวัณ และพันเอก กาจ กาจสงคราม และมีนายทหารคนอื่น เช่น

ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)

ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 อันเป็นพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 37): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”

รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร

ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)

ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 36): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”

รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490